ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

  1. นางสาวสุนิษา พ่มทอง ชั้นม.6/9 เลขที่39

    ข่าวที่2ผิดมาตรา14
    ร้องกองปราบฯเอาผิด’อั้ม เนโกะ’ หมิ่นเบื้องสูง
    เจ้าของรายการทางทีวีดาวเทียม “เบสต์ออฟยัวร์ไลฟ์” แจ้งความดำเนินคดีกับ “อั้ม เนโกะ” ในความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูงและความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์…

    วันนี้ (16 ก.ย.56) ที่กองปราบปราม น.ส.พรทิพา สุพัฒนุกุล หรือ “ฟ้า” อายุ 41 ปี เจ้าของรายการ “เบสต์ออฟยัวร์ไลฟ์” ที่ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ดาวเทียมแห่งหนึ่ง ได้เดินทางเข้าแจ้งความเพื่อดำเนินคดีกับ นายศรัณย์ ฉุยฉาย หรือ “อั้ม เนโกะ” อายุ 20 ปี นักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในความผิดฐานหมิ่นเบื้องสูง และความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พร้อมกับนำคลิปภาพและเสียงที่ให้สัมภาษณ์ไว้กับทางรายการ มามอบให้กับพนักงานสอบสวนเพื่อเป็นหลักฐาน รวมถึงข้อความที่นายศรัณย์มีการโพสต์ลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว ที่ชื่อ “Aum Neko”
    เจ้าของรายการ “เบสต์ออฟยัวร์ไลฟ์” ชี้แจงถึงเหตุผลที่ต้องเข้าแจ้งความดำเนินคดีว่า เนื่องจากเมื่อ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ตนเคยไปสัมภาษณ์และสอบถามความคิดเห็นสถานการณ์ทางการเมืองในปัจจุบันกับนักศึกษามหาวิทยาลัยดังกล่าว รวมถึงปัญหาเศรษฐกิจที่มีผลกระทบต่อนักศึกษาตามมหาวิทยาลัย โดยสอบถามนักศึกษาประมาณ 20 คน ซึ่งทั้งหมดได้ตอบตรงตามประเด็นยกเว้น “อั้ม เนโกะ” ที่ตอบนอกประเด็น ด้วยการกล่าวพาดพิงสถาบันเบื้องสูง ด้วยถ้อยคำที่รุนแรง จนไม่สามารถนำการสัมภาษณ์ไปออกอากาศได้ ซึ่งครั้งแรกไม่เคยคิดจะแจ้งความดำเนินคดี แค่จะเก็บคลิปภาพและเสียงไว้เท่านั้น แต่ต่อมาได้พบพฤติกรรมของนายศรัณย์ มีการเคลื่อนไหวเรียกร้องให้เพื่อนนักศึกษากระทำการที่อาจเข้าข่ายความผิดดังกล่าวอีก จึงต้องเข้าแจ้งความ

    น.ส.พรทิพา กล่าวด้วยว่า ได้พบการโพสต์ข้อความในเฟซบุ๊ก ที่ใช้ชื่อ “Aum Neko” ของนายศรัณย์ ซึ่งเนื้อหาอาจเข้าข่ายความผิดข้อหาหมิ่นเบื้องสูง จึงอยากให้ตำรวจช่วยตรวจสอบข้อมูลและพิจารณาดำเนินคดีให้ถึงที่สุดด้วย

    ทางด้าน ร.ต.ท.ชลิต มณีพราว พนักงานสอบสวน ระบุว่า กรณีนี้มีการโพสต์ข้อความผ่านเว็บไซต์ ซึ่งเข้าข่ายการพิจารณาดำเนินคดีของกองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) จึงแนะนำให้ไปร้องทุกข์ที่ บก.ปอท. เพื่อตรวจสอบหลักฐานและพิจารณาดำเนินการต่อไป.
    อ้างอิง
    :http://www.thairath.co.th/content/370182
    นางสาวสุนิษา พ่มทอง ชั้นม.6/9 เลขที่39

  2. นางสาวสุนิษา พุ่มทอง ชั้นม.6/9 เลขที่39

    ข่าวที่1 ผิดมาตรา1,3,5,14และ112
    ทอม ดันดี’รับสารภาพหมิ่นเบื้องสูง!
    ‘ทอม ดันดี’ ขอเปลี่ยนคำให้การเดิม จากปฏิเสธเป็นให้การรับสารภาพไม่ต่อสู้คดี ปราศรัยเวที นปช.ปี 56 เผยแพร่คลิปข้อความหมิ่นเบื้องสูง ศาลนัดพิพากษา 1 มิ.ย.นี้30 พ.ค. 59 เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณา 912 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดพร้อม คดีหมายเลขดำ อ.3475/2558 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ ทอม ดันดี อายุ 57 ปี อดีตนักร้องเพลงเพื่อชีวิตชื่อดัง เป็นจำเลย ในความผิดฐานผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) (3) และ (5) โดยอัยการโจทก์ ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2558 ระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 56 จำเลยกับพวกที่ยังหลบหนี ได้ขึ้นเวทีปราศรัย ให้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำนวนมากฟัง โดยใช้ถ้อยคำหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และระหว่างวันที่ 13 พ.ย. 56 – 26 เม.ย. 57 จำเลยกับพวก ได้นำคลิปภาพ และเสียงการปราศรัยของจำเลยกับพวกไปเผยแพร่ในยูทูบ (Youtube) สื่อโซเชียล ออกสู่สาธารณะทำให้ประชาชนทั่วไปทั้งในและนอกราชอาณาจักรที่ได้รับชม เข้าใจผิด หลงเชื่อคำปราศรัยของจำเลย สร้างความเสียหายต่อสถาบันเบื้องสูง ต่อมาวันที่ 9 ก.ค. 57 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1บก.ปอท. ติดตามจับกุมจำเลยแจ้งข้อหาดำเนินคดี ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอดทั้งในชั้นสอบสวน ซึ่งวันนี้ศาลเบิกตัว นายธานัท หรือ ทอม ดันดี จำเลย จากเรือนจำ ร่วมกระบวนพิจารณาคดี อย่างไรก็ดี คดีนี้ ศาลได้สอบคำให้การจำเลยและตรวจหลักฐานไปเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ แต่วันนี้ เมื่อถึงเวลานัดพร้อม นายธานัท จำเลย ได้แถลงต่อศาลขอเปลี่ยนคำให้การเดิม จากที่เคยให้ปฏิเสธ ขอเป็น ให้การรับสารภาพไม่ต่อสู้คดี ศาลพิจารณาแล้ว จึงนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น. 30 พ.ค. 59 เมื่อเวลา 09.30 น. ที่ห้องพิจารณา 912 ศาลอาญา ถ.รัชดาภิเษก ศาลนัดพร้อม คดีหมายเลขดำ อ.3475/2558 ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 6 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ ทอม ดันดี อายุ 57 ปี อดีตนักร้องเพลงเพื่อชีวิตชื่อดัง เป็นจำเลย ในความผิดฐานผู้ใดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้าย พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาทฯ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 และกระทำผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (1) (3) และ (5)โดยอัยการโจทก์ ยื่นฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 ต.ค. 2558 ระบุพฤติการณ์สรุปว่า เมื่อวันที่ 13 พ.ย. 56 จำเลยกับพวกที่ยังหลบหนี ได้ขึ้นเวทีปราศรัย ให้กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จำนวนมากฟัง โดยใช้ถ้อยคำหมิ่นประมาท ดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และระหว่างวันที่ 13 พ.ย. 56 – 26 เม.ย. 57 จำเลยกับพวก ได้นำคลิปภาพ และเสียงการปราศรัยของจำเลยกับพวกไปเผยแพร่ในยูทูบ (Youtube) สื่อโซเชียล ออกสู่สาธารณะทำให้ประชาชนทั่วไปทั้งในและนอกราชอาณาจักรที่ได้รับชม เข้าใจผิด หลงเชื่อคำปราศรัยของจำเลย สร้างความเสียหายต่อสถาบันเบื้องสูง ต่อมาวันที่ 9 ก.ค. 57 เจ้าหน้าที่ตำรวจ กก.1บก.ปอท. ติดตามจับกุมจำเลยแจ้งข้อหาดำเนินคดี ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธมาโดยตลอดทั้งในชั้นสอบสวนซึ่งวันนี้ศาลเบิกตัว นายธานัท หรือ ทอม ดันดี จำเลย จากเรือนจำ ร่วมกระบวนพิจารณาคดี อย่างไรก็ดี คดีนี้ ศาลได้สอบคำให้การจำเลยและตรวจหลักฐานไปเมื่อวันที่ 25 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งจำเลยให้การปฏิเสธ แต่วันนี้ เมื่อถึงเวลานัดพร้อม นายธานัท จำเลย ได้แถลงต่อศาลขอเปลี่ยนคำให้การเดิม จากที่เคยให้ปฏิเสธ ขอเป็น ให้การรับสารภาพไม่ต่อสู้คดี ศาลพิจารณาแล้ว จึงนัดฟังคำพิพากษาในวันที่ 1 มิ.ย.นี้ เวลา 09.00 น.
    อ้างอิง
    :http://www.thairath.co.th/content/629830
    นางสาวสุนิษา พุ่มทอง ชั้นม.6/9 เลขที่39

  3. ณัฐกฤต เปรมกิจพรพัฒนา

    http://www.mx7.com/view2/zlSTyOOJaMYqyAWZ

    กลุ่มที่1 สรุป
    สมาชิก
    นายชินกริช ภูมิม่วง เลขที่ 1
    นายณัฐกฤต เปรมกิจพรพัฒนา เลขที่ 2
    นายอิทธิพล เสลา เลขที่ 3
    นางสาวเบญจวรรณ ประสิทธิ์ธัญญกิจ เลขที่27

  4. ณัฐกฤต เปรมกิจพรพัฒนา

    ลุยจับ! โรงงานในชลบุรี ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์

    บก.ปอศ. เข้าตรวจค้นโรงงานผลิตชิ้นส่วนโลหะ จ.ชลบุรี พบละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์รวม 4 ประเภท บนคอมพิวเตอร์เกือบ 50 เครื่อง…
    เมื่อเร็วๆ นี้ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจ (บก.ปอศ.) ประกาศเดินหน้าตรวจค้นการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในองค์กรต่างๆ โดยเข้าตรวจค้นบริษัทจำนวน 10 แห่ง ในภาคธุรกิจการผลิตสินค้า ก่อสร้าง และบริการ ซึ่งในกลุ่มโรงงานผลิตสินค้ายังคงถูกร้องเรียนอย่างต่อเนื่องว่าละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์มากที่สุด มีการใช้ซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาต เช่น ซอฟต์แวร์ในสำนักงานและโรงงานผลิต เซิร์ฟเวอร์ ซอฟต์แวร์ออกแบบ และซอฟต์แวร์แปลภาษา
    ทั้งนี้ หนึ่งในองค์กรธุรกิจที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์รายใหญ่ จากการเข้าตรวจค้นตั้งแต่ช่วงต้นปี 2557 คือโรงงานผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรแห่งหนึ่งในจังหวัดชลบุรี ซึ่งพบการใช้งานซอฟต์แวร์ผิดกฎหมายและไม่ได้รับอนุญาตบนคอมพิวเตอร์จำนวนกว่า 49 เครื่อง โดยโรงงานแห่งนี้ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ของออโตเดสก์ (Autodesk) ไมโครซอฟท์ (Microsoft) ซีเมนส์ พีแอลเอ็ม (Siemens PLM) และไทยซอฟท์แวร์เอ็นเตอร์ไพรส์ (Thai Software Enterprise)
    นอกจากนี้ ยังมีองค์กรธุรกิจอื่นๆ ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ ซึ่ง บก.ปอศ.ตรวจพบในช่วง 2 เดือนแรกของปีนี้ ได้แก่ ผู้จัดจำหน่ายเครื่องจักรในจังหวัดปทุมธานี บริษัทชิ้นส่วนยานยนต์ในจังหวัดนครปฐม บริษัทรับเหมาก่อสร้างในจังหวัดนนทบุรี และกรุงเทพฯ?โดยแต่ละรายมีรายได้ต่อปีเฉลี่ย 230 ล้านบาท.

    ที่มา http://www.thairath.co.th/

  5. อรณิชา สิงห์เวียง

    กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law)
    กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Law) หรือมักเรียกกันว่า “กฎหมายไอที (IT Law) ในเบื้องต้น ที่จำเป็นต้องมีการตรากฎหมายขึ้นใช้บังคับ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ.2541 คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบต่อการจัดทำโครงการพัฒนา กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศที่เสนอโดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิ่งแวดล้อม และเห็นชอบให้คณะกรรมการเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ (National Information Technology Committee) หรือที่เรียกโดยย่อว่า “คณะกรรมการไอทีแห่งชาติ หรือ กทสช. (NITC)” ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางและประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินการจัดทำกฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศและกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    ทั้งนี้คณะกรรมการไอทีแห่งชาติได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ โดยมอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (National Electronics and Computer Technology Center) หรือที่มักเรียกโดยย่อว่า “เนคเทค” (NECTEC) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Science and Technology Development Agency) หรือที่เรียกโดยย่อว่า “สวทช.” กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ ทำหน้าที่เป็นเลขานุการในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ เนคเทคจึงได้เริ่มต้นโครงการพัฒนากฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น เพื่อปฏิบัติตามนโยบายที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลและคณะกรรมการไอทีแห่งชาติ ในการยกร่างกฎหมายไอทีทั้ง 6 ฉบับ ให้แล้วเสร็จ คือ

    กฎหมายเทคโนโลยีสารสนเทศ
    1) กฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transactions Law)
    2) กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law)
    3) กฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)
    4) กฎหมายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)
    5) กฎหมายการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Transfer Law)
    6) ฎหมายการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ (National Information Infrastructure)

    1. กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์(Electronic Transactions Law)เพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้เสมอด้วยกระดาษ อันเป็นการรองรับนิติสัมพันธ์ต่าง ๆ ซึ่งแต่เดิมอาจจะจัดทำขึ้นในรูปแบบของหนังสือให้เท่าเทียมกับนิติสัมพันธ์ รูปแบบใหม่ที่จัดทำขึ้นให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ รวมตลอดทั้งการลงลายมือชื่อในข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และการรับฟังพยานหลักฐานที่อยู่ในรูปแบบของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์
    2. กฎหมายเกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signatures Law )เพื่อรับรองการใช้ลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ด้วยกระบวนการใด ๆ ทางเทคโนโลยีให้เสมอด้วยการลงลายมือชื่อธรรมดา อันส่งผลต่อความเชื่อมั่นมากขึ้นในการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และกำหนดให้มีการกำกับดูแลการให้บริการ เกี่ยวกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ตลอดจนการให้ บริการอื่น ที่เกี่ยวข้องกับลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์
    3. กฎหมายเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Law)เพื่อก่อให้เกิดการรับรองสิทธิและให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งอาจถูกประมวลผล เปิดเผยหรือเผยแพร่ถึงบุคคลจำนวนมากได้ในระยะเวลาอันรวดเร็วโดยอาศัยพัฒนาการทางเทคโนโลยี จนอาจก่อให้เกิดการนำข้อมูลนั้นไปใช้ในทางมิชอบอันเป็นการละเมิดต่อเจ้าของข้อมูล ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงการรักษาดุลยภาพระหว่างสิทธิขั้นพื้นฐานในความเป็นส่วนตัว เสรีภาพในการติดต่อสื่อสาร และความมั่นคงของรัฐ
    4. กฎหมายเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (Computer Crime Law)เพื่อกำหนดมาตรการทางอาญาในการลงโทษผู้กระทำผิดต่อระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ ระบบข้อมูล และระบบเครือข่าย ทั้งนี้เพื่อเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพ และการคุ้มครองการอยู่ร่วมกันของสังคม
    5. กฎหมายเกี่ยวกับการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Funds Transfer Law)เพื่อกำหนดกลไกสำคัญทางกฎหมายในการรองรับระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งที่เป็นการโอนเงินระหว่างสถาบันการเงิน และระบบการชำระเงินรูปแบบใหม่ในรูปของเงินอิเล็กทรอนิกส์ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อระบบการทำธุรกรรมทางการเงิน และการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มากยิ่งขึ้น
    6. กฎหมายเกี่ยวกับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน(National Information Infrastructure Law)เพื่อก่อให้เกิดการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ อันได้แก่ โครงข่ายโทรคมนาคม เทคโนโลยีสารสนเทศ สารสนเทศทรัพยากรมนุษย์ และโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศสำคัญอื่น ๆ อันเป็นปัจจัยพื้นฐาน สำคัญในการพัฒนาสังคม และชุมชนโดยอาศัยกลไกของรัฐ ซึ่งรองรับเจตนารมณ์สำคัญประการหนึ่งของแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 ในการกระจายสารสนเทศให้ทั่วถึง และเท่าเทียมกัน และนับเป็นกลไกสำคัญในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำของสังคมอย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อสนับสนุนให้ท้องถิ่นมีศักยภาพในการปกครองตนเองพัฒนาเศรษฐกิจภายในชุมชน และนำไปสู่สังคมแห่งปัญญา และการเรียนรู้

    http://www.mx7.com/view2/zlSsQC8smJYTBqmK

    สมาชิก
    1.นายสิริวัฒน์ อยู่ดี เลขที่6
    2.นางสาวอรณิชา สิงห์เวียง เลขที่11
    3.นางสาวณัฏฐา รวยตระกูล เลขที่13
    4.นางสาววิมลรัตน์ มนัสตรง เลขที่17
    5.นางสาวจิจภิญญา จันทร์ตา เลขที่30
    ม.6/9

  6. นางสาวณัฐกานต์ มังกร ชั้นม.6/9 เลขที่ 14

    มาช่า แถลงขอโทษหลังจากมีภาพหลุดอื้อฉาวกับผู้ชาย ได้เผยว่า หลุดจากโทรศัพท์ที่ทำหาย แต่แจ้งความเอาผิดคนปล่อยแล้ว หวังเป็นเรื่องซวยเรื่องสุดท้ายของชีวิต พร้อมวอนขอให้หยุดเผยแพร่ภาพ ด้านหมวดเจี๊ยบ ผู้สมัคร ส.ส.พรรคเพื่อไทย เกาะกระแสโผล่มอบดอกไม้ให้กำลังใจ หลังจากที่เมื่อหลายวันก่อน หนังสือพิมพ์สยามดาราได้นำเสนอข่าวภาพหลุดสาวหน้าคล้าย นักร้องชื่อดัง “มาช่า วัฒนพานิช” กำลังบรรเลงเลิฟซีนกับผู้ชายที่ระบุว่าหน้าคล้าย “นายซีริล รูฮานี (Cyril Rouhani)” อดีตโปรดิวเซอร์ชาวฝรั่งเศสคู่กรณี ที่เคยร่วมกันทำงานเพลง I’m Back และตอนนี้กำลังมีเรื่องฟ้องร้องกันอยู่ หลุดออกมาทำเอาช็อคกันทั้งวงการบันเทิงซึ่งหลังจากที่นักร้องดังมาช่าเอาแต่หลบหน้าสื่อ ไม่ยอมให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว จนสุดท้ายเจ้าตัวก็ได้ออกมาแถลงข่าวด้วยตัวเอง กลางกองละครเรื่อง “ลิขิต เสน่หา” ออกอากาศทางช่อง 3 ที่ รพ.เกษมราษฏร์ บางแค พร้อมกับยอมรับว่าเป็นสาวที่อยู่ในภาพอื้อฉาวนั้นจริง เผย เป็นภาพที่อยู่ในโทรศัพท์ที่ทำหาย แต่ปฏิเสธที่จะพูดถึงผู้ชายในภาพ ก่อนจะเอ่ยขอโทษแฟนๆ ที่มีภาพทำนองนี้หลุดออกมา
    วิเคราะห์ข่าว
    มาช่าได้ทำโทรศัพท์หาย และในโทรศัพท์ก็มีภาพที่ถ่ายกับผู้ชายในท่าทางที่ค่อนข้างไปในทางชู้สาว มีผู้ที่ไม่หวังดีเก็บโทรศัพท์ได้ แล้วนำภาพดังกล่าวออกไปเผยแพร่ ทำให้มาช่าเสื่อมเสียชื่อเสียง
    พฤติกรรมการกระทำผิด
    นำภาพผู้อื่นมาเผยแพร่โดยไม่ได้รับอนุญาต และเป็นภาพที่อนาจาร หรือชู้สาว ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง ได้รับความเสียหาย
    วิธีป้องกันการกระทำความผิดที่เกิดขึ้น
    ควรเก็บของส่วนตัวไว้ให้ปลอดภัยและมิดชิด หรือไม่ควรถ่ายรูปอนาจารเก็บไว้ในโทรศัพท์
    บทลงโทษ
    มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๖ ผู้ใดนําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ที่ประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ซึ่งข้อมูล คอมพิวเตอร์ที่ปรากฏเป็นภาพของผู้อื่น และภาพนั้นเป็นภาพที่เกิดจากการสร้างขึ้น ตัดต่อ เติม หรือดัดแปลงด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์หรือวิธีการอื่นใด ทั้งนี้โดยประการที่น่าจะทําให้ผู้อื่นนั้น เสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น ถูกเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ

  7. นางสาวณัฐกานต์ มังกร ชั้นม.6/9 เลขที่ 14

    » ข่าวอาชญากรรม » จับเครื่องสำอางปลอมขายผ่านเน็ตกว่า 30 ล้านบาทจับเครื่องสำอางปลอมขายผ่านเน็ตกว่า 30 ล้านบาท
    จับเครื่องสำอางปลอมขายผ่านเน็ตกว่า 30 ล้านบาท
    ดีเอสไอ ร่วมกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา ทลายเครือข่ายลักลอบขายเครื่องสำอาง น้ำหอม เลียนแบบยี่ห้อดังผ่านทางอินเทอร์เน็ต มูลค่าความเสียหายกว่า 30 ล้านบาท
    นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ พร้อมด้วย นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา แถลงข่าวผลการจับกุม นายส้มโอ กุลสงคราม ซึ่งเป็นผู้ค้าและเจ้าของเว็บไซต์ http://www.bevershops.com ได้เปิดจำหน่ายเครื่องสำอาง , น้ำหอม, เครื่องหนัง และนาฬิกาปลอมยี่ห้อดังต่าง ๆ จำนวนกว่า 20,000 ชิ้น พร้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ 3 เครื่อง มูลค่าความเสียหายมากกว่า 30 ล้านบาท ภายหลังจากที่เจ้าหน้าที่ได้ขออนุมัติหมายศาลออกหมายจับในข้อหาทรัพย์สินทางปัญญา และการค้าระหว่างประเทศ ก่อนที่จะขยายผลเข้าตรวจค้นบ้านพักย่านอำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี ซึ่งพบสินค้าที่ละเมิดลิขสิทธิ์หลายรายการ ทั้งกระเป๋า ,เสื้อผ้า เข็มขัด แว่นตา และนาฬิกา
    จากการสอบสวนพบว่า ผู้ต้องหาเป็นผู้ค้ารายใหญ่ทางอินเทอร์เน็ตจำหน่ายสินค้าปลอมผ่านทางเว็บไซต์มาเป็นเวลานาน โดยนำเข้าสินค้ามาจากทางภาคตะวันออก โดยวิธีการจำหน่ายนั้นจะให้ลูกค้าสั่งซื้อสินค้าทางอินเทอร์เน็ต และโอนเงินผ่านบัญชีธนาคาร ก่อนที่จะส่งของไปทางไปรษณีย์
    สำหรับยอดขายในแต่ละเดือนของเว็บไซต์ดังกล่าว มีมูลค่าการซื้อขายเดือนละไม่ต่ำกว่า 3 ล้านบาท หรือไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทต่อวัน ทางดีเอสไอจึงอยากเตือนให้ผู้ซื้อระวัง เพราะนอกจากจะได้สินค้าละเมิดสิทธิ์แล้ว ยังอาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้ใช้อีกด้วย
    มีความรับผิดใน พ.ร.บ คอมพิวเตอร์มาตรา326

  8. นางสาวปิยะมาศ บุญเนตร

    ข่าวที่(2)มาตรา 326 และ 328
    ศาลอาญามีคำสั่งในวันนี้ให้ประทับรับฟ้องคดีที่ บมจ.นิวส์ เน็ตเวิร์ค (NEWS) ยื่นฟ้องบุคคลและนิติบุคคลทั้ง 10 รายร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 89/6-7, 89/24, 281/2, 296, 298 , พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3, 14, 15, พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 และร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.58 โดยศาลนัดตรวจสอบพยานหลักฐานในวันที่ 25 ม.ค.59
    ทั้งนี้ ศาลฯ ระบุว่าวิเคราะห์พยานหลักฐานทั้งโจทก์และจำเลยแล้ว ปรากฎว่า มีการลงข้อความตามคำฟ้องเผยแพร่ในหน้าเว็บเพจเฟสบุ๊คของจำเลยที่ 3 และในหน้าเว็บไซด์ของจำเลยที่ 1, 2,4 และจำเลย 5 ดังกล่าวมาลงโฆษณาในเว็บไซด์ของจำเลยที่ 1, 2 และจำเลยที่ 3-8 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1, 2, 9แ ละจำเลย 10 เป็นบรรณาธิการข่าวออนไลน์มีหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาและข้อความข่าวก่อนลงโฆษณา จึงถือได้ว่าจำเลยทั้ง 10 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำตามคำฟ้องของโจทก์
    จำเลยที่ 1 ได้แก่ บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป (NMG), จำเลยที่ 2 บริษัท กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด, จำเลยที่ 3 นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ, จำเลยที่ 4 น.ส.ดวงกมล โชตะนา,
    จำเลยที่ 5 นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น, จำเลยที่ 6 นายเสริมสิน สมะลาภา, จำเลยที่ 7 นายพนา จันทรวิโรจน์, จำเลยที่ 8 น.ส.ณัฐวรา แสงวารินทร์, จำเลยที่ 9 นายจักรกฤษ เพิ่มพูน และ
    จำเลยที่ 10 นายนิติราษฎร์ บุญโย
    คำฟ้องระบุว่า จำเลยทั้ง 10 กล่าวหาว่า NEWS หรือเดิมชื่อ บมจ.โซลูชั่นคอนเนอร์ (1998) (SLC) เป็นตัวแทนเชิดของกลุ่มชินวัตร หวังจะเข้าบริหารสื่อทีวีดิจิตอลและควบคุมสื่อไว้ในมือเพื่อต้องการควบคุมทิศทางข่าว สังคม ให้เป็นไปในแนวทางที่ต้องการโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง คุณธรรม จริยธรรม มีแหล่งที่มาของเงินที่น่าสงสัย เป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดและมีกรรมการหรือตัวแทนของเดินทางไปสิงคโปร์เพื่อหาแหล่งทุนมาซื้อสื่อ เพื่อต้องการปิดกั้นสื่อและชี้นำสังคมให้เป็นไปใน ทิศทางที่ต้องการ เป็นผู้ปั่นหุ้น เป็นการกระทำความผิดทางอาญาและเป็นความผิดอาญาทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง และมีการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหายจำนวน 2,343,005,267.90 บาท
    ที่มาสำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ)

    อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/iq05/2310505

    นางสาว ปิยะมาศ บุญเนตร เลขที่25 ม.6/9

  9. นางสาวปิยะมาศ บุญเนตร

    ข่าวที่(1)มีความผิดมาตราที่14 ฮือฮา! “นู้ดคอซอง” ว่อนเน็ตรับวันครู 7 นร.วัยละอ่อนยิ้มร่าโชว์หน้าอก-กางเกง วธ.ชี้เป็นผู้หญิงนอกระบบอาศัยเครื่องแบบนักเรียนทำสิ่งไม่ดี ประสานไอซีทีตรวจสอบแล้ว
    เมื่อวันที่ 16 ม.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าขณะนี้มีภาพเด็กนักเรียนแต่งกายไม่เหมาะสมถูกนำมาเผยแพร่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตในโลกโซเซียลเน็ตเวิร์ค และเว็บไซต์เฟซบุ๊ค โดยมีการส่งเผยแพร่ต่อกันมาเป็นจำนวนมาก รายละเอียดของภาพเป็นภาพเด็กสวมใส่ชุดนักเรียนหญิง 7 คน ส่วนใหญ่มีการถอดเสื้อผ้าออกเหลือเพียงยกทรงนั่งบ้างยืนบ้างโชว์หน้าอก ส่วนอีกคนสวมใส่เสื้อชุดนักเรียนคอซองแต่นั่งถ่างขาโชว์กางเกงในสีแดง และยังมีบางคนใส่เสื้อสายเดี่ยวและมีการแสดงท่าทางกอดรัดกัน โดยทั้งหมดได้ถ่ายภาพด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสไม่ละอายในสิ่งที่ทำ
    ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบภาพดังกล่าว พบว่า มีต้นตอการส่งภาพมาจากบุคคลที่ใช้ชื่อว่า Beer nirvanaมีผู้มาแสดงความคิดเห็นแสดงความชื่นชอบภาพดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลา 10 นาที มีผู้กดชื่นชอบเพิ่มขึ้นนับพันๆราย รวมทั้งมีการนำภาพดังกล่าวไปเผยแพร่แบ่งปันต่อๆกันเป็นจำนวนมาก
    จากนั้นผู้สื่อข่าวจึงได้สอบถามเรื่องดังกล่าว ไปยัง น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ดูแล้วเกินเด็ก น่าจะไม่ใช่เด็กมัธยมศึกษา อาจจะเป็นผู้หญิงนอกระบบ อาศัยเครื่องแบบไปทำสิ่งที่เสียหาย การถ่ายภาพลักษณะดังกล่าวมีความไม่เหมาะสมอย่างมาก เพราะภาพที่ปรากฏเป็นภาพเด็กสวมใส่ชุดนักเรียนด้วย ในเบื้องต้นอาจจะเป็นเพราะตัวเด็กๆยังขาดวุฒิภาวะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยการถ่ายภาพลักษณะนี้ น่าจะเป็นการเลียนแบบสื่อที่ไม่เหมาะสม
    อีกทั้งเป็นกระแสนิยมหรือแฟชั่นของเด็กสมัยใหม่ ที่เริ่มคุ้นชินกับเทคโนโลยีระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่มักจะถ่ายภาพโชว์ขึ้นเว็บไซต์ให้เพื่อนๆได้ชม และแบ่งปันกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะการนำภาพที่ไม่ถูกต้องดีงามมาเผยแพร่ อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าเด็กๆในภาพดังกล่าว มีสถานะเป็น นักเรียนอยู่ในระบบจริงหรือไม่ เพราะหากเป็นนักเรียนอยู่จริง ก็จะส่งผลเสื่อมเสียต่อสถาบันการศึกษาด้วย
    ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมกล่าวต่อไปว่า ตนจะประสานงานไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการควบคุมระบบสารสนเทศ ให้ตรวจสอบถึงการนำภาพเด็กกลุ่มนี้มาโพสต์อินเตอร์เน็ต รวมถึงจะรวบรวมหลักฐานประสานไปยังศูนย์เสมารักษ์ ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้เร่งตรวจสอบบุคคลในภาพอย่างเร่งด่วน และควรจะมีมาตรการลงโทษอย่างจริงจัง ไม่เช่น
    ที่มาของข่าว: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก

    ออนไลน์http://www.komchadluek.net

    นาฃสาว ปิยะมาศ บุญเนตร เลขที่25ชั้นม.6/9

  10. นางสาวพัชฤดี โมกล้า

    ไอซีทีชี้แฮกทวิตเตอร์นายกฯ ผิดพ.ร.บ.คอมพ์

    เวลา 09.00 น. (3 ต.ค.) ที่ห้องประชุมชั้น 9 กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร (ไอซีที) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงไอซีที แถลงข่าวถึงกรณีบัญชีทวิตเตอร์ของนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หรือ @PouYingluck ถูกแฮกเตอร์เจาะเข้าไปในระบบ โดยเรื่องกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 ต.ค. โดยได้ทวิตข้อความแรกประมาณ 10.22 น. จนถึงเวลา 10.43 น.รวมทั้งสิ้น 8 ข้อความ
    โดยการลักลอบใช้ทวิตเตอร์นั้น เขา กล่าวว่า เสมือนเป็นการแฮก ซึ่งมีความผิดตามมาตรา 5 7 9 และ 14 ตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์พ.ศ.2550 โดยขณะนี้ เปิดเผยได้แต่ว่า ไอซีทีได้ประสานกับหลายฝ่ายทั้งผู้ประกอบการโทรศัพพท์มือถือ ผู้ให้บริการทวิตเตอร์ในต่างประเทศ ซึ่งได้ทราบเบาะแสของผู้กระทำความผิดแล้ว ซึ่งเบื้องต้นรู้ตัวเพียงว่า เป็นคนไทย และกระทำความผิดในประเทศไทย
    เขา กล่าวว่า มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตราการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิด 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตราการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
    มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท และตามมาตรา 14 ผู้ใดว่าด้วยการขโมยเข้าไปใช้ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลอื่นปลอม ซึ่งมี 5 มาตรา จำคุกสูงสุด 2 ปี ปรับ 40,000 บาท
    “การที่ผู้ใดจะใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คต้องยอมรับเงื่อนไขและลงทะเบียนเข้าใช้ ซึ่งผู้ดูแลระบบคือผู้ที่ให้บริการ ซึ่งมีลักษณะกรใช้เหมือนโทรศัพท์มือถือเหมือนกันซึ่งถ้าทำเบอร์หล่นหายก็อาจถูกนำเบอร์ไปใช้เช่นกัน” รมว.ไอซีที
    น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีผู้ประสงค์ร้ายแฮกทวิตเตอร์ เพราะเมื่อ 2 ปี ก่อนนายบารัค โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐ ก็เคยถูกแฮกทวิตเตอร์ ซึ่งวันนี้อยากทำความเข้าใจกับประชาชนว่าการใช้ข้อมูลโซเชียลเน็ตเวิร์คทั้ง เฟสบุ๊ค และทวิตเตอร์ต้องระวังตัว ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นกับนายกฯ ต้องเห็นใจกัน และช่วยกันประณามการกระทำดังกล่าว
    “วันนี้ไอซีทีได้รับเบาะแสผู้กระทำความผิดแล้ว แต่ต้องรวบรวมข้อมูลให้แน่นหนาก่อนที่จะจับกุม ส่วนประชาชนที่โดนเหตุการณ์อย่างนายกฯ สามารถแจ้งมาที่ไอซีทีได้ เพราะเป็นการกระทำความผิดเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพ์”
    น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า หากเห็นการกระทำดังกล่าวเกิดขึ้นกับใคร ขอเตือนไม่ให้ส่งต่อข้อมูลเพราะเข้าข่ายกระทำความผิดร่วมกัน ทวิตเตอร์ที่ถูกแฮกนี้เป็นทวิตเตอร์ที่นายกฯในการประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีทีมงานร่วมทำงานด้วย การที่จะวิเคราะห์ว่าใครกระทำต้องวิเคราะห์อย่างละเอียดและตำรวจต้องติดตามเบาะแส
    ส่วนคำตอบที่ว่า จะได้ตัวผู้กระทำคามผิดเมื่อไร และจะหาตัวผู้กระทำผิดได้หรือไม่ เขา ตอบเพียงว่า ขณะนี้ทั้งกระทรวงและตำรวจได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งขณะนี้ได้รับทราบเกี่ยวกับข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ (ล็อก ไฟล์) เพียงแต่การก่อเหตุของแฮกเกอร์ก็เหมือนอาชญากรทั่วไป ซึ่งเราก็อยากจะจับให้ได้ แต่แฮกเกอร์ก็ต้องการหลบหนี
    “ผมเข้าใจว่าคนที่ใช้โซเชียลเน็ตเวิร์คใช้เพื่อการสื่อสาร ไม่ใช่เรื่องที่เป็นทางการ ซึ่งเรื่องความปลอดภัยในการใช้งาน ตั้งแต่ลงทะเบียนใช้งาน ผู้ให้บริการได้แจ้งถึงระดับความปลอดภัยไว้แล้ว ซึ่งการที่ผู้ประสงค์ไม่ดีเข้ามาแฮกทวิตเตอร์อาจเป็นส่วนหนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับนโยบาย ซึ่งเป็นการแสดงออกโดยวิธีนี้” รมว.ไอซีทีกล่าว
    สำหรับขณะนี้นายกฯ ได้ทำการประชาสัมพันธ์ผ่านโชเซียลเน็ตเวิร์คผ่านที่ทวิตเตอร์และเฟซบุ๊ก Y.shinawatra เท่านั้น ซึ่งทวิตเตอร์ @PouYingluck ได้ระงับใช้ไปแล้ว
    สรุปข่าว
    ทวิตเตอร์ ของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกแฮกเกอร์ มีการลักลอบใช้ทวิตเตอร์ โพสข้อความที่ไม่เหมาะสม ซึ่งการกระทำดังกล่าว ผิด พรบ คอมพิวเตอร์ในมาตราที่ 5 7 9
    มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตราการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิด 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตราการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะและมาตราการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
    มาตรา 9 ผู้ใดทำให้เสียหาย ทำลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ มีโทษจำคุกสูงสุด 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท และตามมาตรา 14 ผู้ใดว่าด้วยการขโมยเข้าไปใช้ข้อมูลส่วนตัวของบุคคลอื่นปลอม ซึ่งมี 5 มาตรา จำคุกสูงสุด 2 ปี ปรับ 40,000 บาท
    วิธีป้องกันปัญหาในลักษณะนี้
    ดิฉันจะไม่ล่วงละเมิดข้อมูลทาง social network ของบุคคลอื่นเช่นนี้ เพราะเป็นการกระทำที่ไม่เหมาะสม เป็นการไม่ให้เกียรติและไม่เคารพสิทธิของผู้อื่น
    อ้างอิง : http://jindamartmeearsa.blogspot.com/

    นางสาวพัชฤดี โมกล้า ชั้นม6/9 เลขที่19

  11. นางสาวพัชฤดี โมกล้า

    ไอซีทีเผยมีผู้แจ้งถูกเจาะข้อมูลอีเมล์ 10 กว่าราย ปลอมตัวเป็นเจ้าของอีเมล์หวังหลอกลวงให้ส่งเงิน ระบุตรวจสอบลำบาก แต่หากจับได้มีความผิดเข้าข่ายมาตรา 5 และ 7 ใน พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ฯ มีโทษทั้งจำทั้งปรับ

    นายวินัย อยู่สบาย ผู้อำนวยการสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ใช้อีเมล์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ฮอทเมล์และยาฮู เป็นต้น แจ้งเรื่องร้องเรียนเข้ามายังกระทรวงไอซีทีประมาณ 10 ราย ซึ่งมีปัญหาในลักษณะเดียวกันคือ ถูกแฮกเกอร์หรือนักเจาะข้อมูลในอีเมล์ปลอมแปลงตัวเป็นเจ้าของอีเมล์นั้น แล้วเขียนข้อความว่ากำลังความเดือดร้อนเรื่องเงินอย่างหนัก ส่งไปยังรายชื่ออีเมล์ที่เรารู้จักหรือติดต่ออยู่นั้น เพื่อหลอกลวงให้ส่งเงินไปช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน โดยมีการแก้ไขรหัสผ่านเพื่อไม่ให้ผู้เป็นเจ้าของอีเมล์เข้าใช้งานได้อีก

    นายวินัยกล่าวว่า ส่วนใหญ่เป็นการกลั่นแกล้งจากเพื่อนหรือบุคคลใกล้ชิดที่รู้รหัสผ่านอีเมล์ หรือขโมยรหัสผ่านซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นอีเมล์สาธารณะ โดยมีรูปแบบเข้าไปเปลี่ยนรหสัผ่านโดยที่เจ้าของไม่สามารถเข้าอีเมล์ของตัวเองได้ ทั้งนี้จากการใช้อีเมล์แล้วมีผู้มาเจาะข้อมูลนั้นเป็นเรื่องที่ตรวจสอบยาก แต่ก็สามารถดำเนินการเอาความผิดต่อผู้ที่กระทำความผิดได้ หากเจ้าของอีเมล์สามารถยืนยันกับผู้ให้บริการอีเมล์ว่า ได้สมัครโดยใช้ชื่ออีเมล์นี้อย่างถูกต้อง

    “วิธีการตรวจสอบค่อนข้างยุ่งยาก เพราะผู้ใช้บริการต้องยืนยันข้อมูลแรกที่ได้กรอกลงไปยังใบสมัครเพื่อขอให้ปิดอีเมล์หรือขอรหัสผ่านคืน แต่ถ้าหากส่งข้อมูลผิดหรือจำไม่ได้ก็แก้ไขลำบาก ส่วนถ้าเป็นการขโมยรหัสผ่านหรือเจาะข้อมูลของอีเมล์กลางหน่วยงานภาครัฐ ทางกระทรวงไอซีทีสามารถดำเนินการเอาความผิดได้ทันที” ผอ.สำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกล่าว

    อย่างไรก็ตาม กรณีที่มีผู้เจาะข้อมูลหรือขโมยรหัสผ่านเพื่อกระทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง เป็นการกระทำความผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ในมาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันโดยมิชอบ และการเข้าถึงนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันโดยมิชอบ อีกทั้งการเข้าถึงนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    สรุปข่าว
    มีผู้ไม่ประสงค์ดีที่แฮ็กอีเมลล์หรืออาจจะรู้ยูเซอเนมและรหัสผ่านของอีเมลล์ของผู้อื่นแล้วแกล้งส่งข้อความหรือบทความหลอกลวงว่าเจ้าของอีเมลล์กำลังเดือดร้อนเพื่อที่จะหลอกให้โอนเงินให้ โดยนายวินัย อยู่สบาย ผู้อำนวยการสำนักกำกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้บอกว่ามีผู้แจ้งร้องเรียนผ่านทางกระทรวงเข้ามาหลายราย ซึ่งการกระทำความผิดแบบนี้สามารถตรวจสอบได้ยาก

    การกระทำผิด และบทลงโทษตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
    มาตรา 5 ผู้ใดเข้าถึงในระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันโดยมิชอบ และการเข้าถึงนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ มาตรา 7 ผู้ใดเข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันโดยมิชอบ อีกทั้งการเข้าถึงนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    แนวทางการป้องกัน
    ผู้ใช้อีเมลล์ควรที่จะมีความรอบคอบในการเข้าใช้อีเมลล์ของตนเอง และควรที่จะระวังเป็นพิเศษเมื่อเข้าใช้อีเมลล์ของตนเองในคอมพิวเตอร์สาธารณะ หรือตามร้านอินเตอเน็ต คาเฟ่ต่างๆ ควรที่จะตรวจสอบดูให้ดีว่าตนเองได้ออกจากระบบอีเมลล์เรียบร้อยแล้ว และควรหมั่นเปลี่ยนรหัสผ่านอีเมลล์ของตนเองเป็นประจำ

    อ้างอิง : http://toeymutte.blogspot.com/2012/07/blog-post.html

    นางสาว พัชฤดี โมกล้า ชั้น ม6/9 เลขที่19

  12. นางสาวสุภาวดี แม่นศร ชั้นม.6/9 เลขที่20

    2.ตัดสินคดี sms ‘อากง’ ผิดคดีหมิ่น+พ.ร.บ.คอมพ์ จำคุก 20

    สื่อข่าวรายงานจากศาลอาญา รัชดา วันนี้ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีที่นายนายอำพล (สงวนนามกุล) อายุ 61 ปี หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “อากง” ซึ่งถูกฟ้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยข้อกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยัง โทรศัพท์ของเลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
    ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14 อนุ 2 และ 3 ลงโทษจำคุก 20 ปี
    ทั้งนี้ ศาลใช้วิธีอ่านคำพิพากษาผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอรเรนซ์ เนื่องไม่สามารถนำตัวจำเลยมาฟังคำพิพากษาได้เพราะน้ำท่วมเรือนจำ หลังฟังคำพิาพากษา ภรรยา ลูกและหลานๆ ของนายอำพลพากันร่ำไห้ ขณะที่มีประชาชนผู้สนใจคดีดังกล่าวร่วมฟังคำพิพากษาราว 30 คน
    สำหรับรายละเอียดการพิพากษา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
    ผู้พิพากษา ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ขึ้นบังลังค์เวลา 10.25 น. ที่ห้องเวรชี้ ชั้นล่างของศาลอาญา
    ศาลพิพากษาว่า ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ได้จาก DTAC และ TRUE นั้นเป็นหลักฐานที่ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องจัดเก็บโดยระบบคอมพิวเตอร์ตาม ที่กฎหมายกำหนด หากผู้ให้บริการจัดเก็บไม่ถูกต้องลูกค้าย่อมไม่เชื่อถือ อาจเสียประโยชน์ทางธุรกิจได้ ดังนั้นจึงถือว่าหลักฐานข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่ได้รับถือเป็นเอกสารที่ น่าเชื่อถือ
    สำหรับประเด็นสำคัญในคดีที่จำเลยตั้งประเด็นว่า หมายเลขอีมี่ หรือรหัสประจำเครื่องโทรศัพท์อาจถูกปลอมแปลงได้นั้น จำเลยไม่สามารถหาตัวผู้เชี่ยวชาญมายืนยันได้ ส่วนประเด็นที่ว่า เอกสารในสำนวนฟ้องที่หมายเลขอีมี่หลักที่ 15 ไม่ตรงกับหมายเลขอีมี่ในเครื่องโทรศัพท์ คือในเอกสารบางจุดแสดงว่าเป็นเลข 0 บางจุดแสดงว่าเป็นเลข 2000 ขณะที่ในเครื่องโทรศัพท์จริงๆ เป็นเลข 6 ศาลวิเคราะห์ว่า หมายเลขอีมี่ 14 หลักแรกเท่านั้นที่มีความสำคัญ ตามที่พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา จากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เบิกความและได้พิสูจน์ด้วยการใช้เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบเลขอีมี่แสดงให้เห็น ในศาลแล้วว่า เมื่อพิมพ์รหัส 14 หลักแรกตามด้วยรหัสสุดท้ายหมายเลข 6 จะปรากฏข้อมูลว่าเป็นเครื่องโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่า ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับโทรศัพท์ของกลาง แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเลข 0-5 และ 7-9 ทั้งที่ควรปรากฏว่าเป็นเครื่องรุ่นอื่น แต่จากการทดสอบในเว็บดังกล่าวกลับไม่ปรากฏว่าเป็นรุ่นใดเลย จึงยิ่งชี้ให้เห็นชัดว่าหมายเลข 14 หลักแรกเท่านั้นที่ใช้ในการระบุตัว ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง
    นอกจากนี้ เนื่องจากหมายเลขอีมี่ในคดีนี้ตรงกับหมายเลขอีมี่ของโทรศัพท์ยี่ห้อ โมโตโรล่าที่นายอำพลใช้ และรับว่าใช้อยู่ผู้เดียว จึงยากที่จะมีผู้อื่นนำไปใช้ได้ และพบว่ามีการใช้โทรศัพท์เครื่องนี้กับซิมการ์ด 2 เลขหมาย ซึ่งจากหลักฐานชี้ชัดว่า ซิมการ์ดทั้งสองหมายเลขถูกใช้ในเวลาที่ใกล้เคียงกัน แต่ไม่เคยถูกใช้งานในเวลาที่ซ้ำกัน จึงเชื่อได้ว่าผู้กระทำความผิดได้นำซิมการ์ดมาสลับใช้อย่างที่เจ้าหน้าที่ ตำรวจตั้งสมมติฐานไว้ นอกจากนี้ข้อมูลการจราจรยังระบุว่าข้อความถูกส่งโดยเสาสัญญาณจากย่านที่ จำเลยพักอาศัยอยู่ด้วย
    การที่จำเลยอ้างว่า โทรศัพท์มือถือของจำเลยเสียจึงนำไปซ่อมที่ร้านในห้างอิมพีเรียลสำโรง ศาลเห็นว่าจำเลยให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน กล่าวคือ จำเลยแจ้งในชั้นจับกุมว่าโทรศัพท์มือถือเคยเสียและนำไปซ่อมเมื่อเดือน พฤษภาคม 2553 แต่แจ้งในศาลว่านำไปซ่อมเมื่อเดือนเมษายน 2553 อีกทั้งยังจำร้านที่นำโทรศัพท์ไปซ่อมไม่ได้ ทั้งที่การนำไปซ่อมต้องไปที่ร้านถึง 2 ครั้งคือตอนนำไปซ่อม และไปรับคืน จึงถือว่าข้อมูลส่วนนี้ไม่มีความน่าเชื่อถือ
    ศาลเห็นว่า ข้ออ้างของจำเลยที่กล่าวอ้างว่า ส่งSMS ไม่เป็น และไม่รู้จักเบอร์โทรศัพท์ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เลขานุาการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ นั้น มีแต่จำเลยเท่านั้นที่รู้เห็น เป็นการง่ายที่จะกล่าวอ้าง
    แม้โจทก์จะไม่สามารถนำสืบพยานให้เห็นได้อย่างชัดแจ้งว่าจำเลยเป็นผู้ที่ ส่งข้อความตามฟ้องจากโทรศัพท์เคลื่อนที่เครื่องดังกล่าว ไปยังโทรศัพท์เคลื่อนที่ของนายสมเกียรติ แต่ก็เพราะเป็นการยากที่โจทก์จะสามารถนำสืบได้ด้วยประจักษ์พยาน เนื่องจากจำเลยซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดดังกล่าวย่อมจะต้องปกปิดการกระทำของ ตนมิให้บุคคลอื่นได้ล่วงรู้ จึงจำเป็นต้องอาศัยเหตุผลประจักษ์พยานแวดล้อมที่โจทก์นำสืบเพื่อชี้วัดให้ เห็นเจตนาที่อยู่ภายใน
    ศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้นเวลา 10.43 น. รวมระยะเวลา 18 นาที พิพากษาให้จำเลยมีความผิดในการส่งข้อความสั้นตามฟ้อง โดยข้อความดังกล่าวมีลักษณะดูหมิ่น แสดงความอาฆาตมาดร้าย และเป็นการใส่ความหมิ่นประมาททำให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่และสมเด็จพระบรม ราชินีนาถ ทรงเสื่อมเสียพระเกียรติยศ ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง อันเป็นการกระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 นอกจากนี้การส่งเอสเอ็มเอสจะต้องส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ก่อนประมวลผลไปถึง โทรศัพท์เคลื่อนที่ปลายทาง ซึ่งข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ประกอบข้อเท็จจริงเป็นที่ประจักษ์โดยทั่วไปว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถทรงเปี่ยมไปด้วยพระ เมตตา ทรงห่วงใยประชาชนทุกหมู่เหล่า ทรงประกอบพระราชกรณียกิจนานัปการเพื่อปวงชนชาวไทย การกระทำของจำเลยจึงเป็นการนำเข้าสู่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ กระทบต่อความมั่นคงของประเทศ และเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร
    จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2551 มาตรา 14 (2) และ (3) การกระทำของจำเลยมีหลายกรรมต่างกันให้ลงโทษทุกกรรม แต่ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นโทษหนักสุด ให้จำคุกกระทงละ 5 ปี ความผิด 4 กระทง รวมโทษจำคุกทั้งหมด 20 ปี
    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อศาลอ่านคำพิพากษาเสร็จสิ้น เจ้าหน้าที่ซึ่งนั่งอยู่กับนายอำพลที่เรือนจำในห้องฟังคำพิพากษาได้กล่าว ผ่านระบบคอนเฟอร์เรนซ์ถามว่าคำพิพากษาว่าอย่างไร เพราะตลอดการฟังคำพิพากษาได้ยินเสียงไม่ชัด เจ้าหน้าที่ศาลจึงแจ้งอย่างสั้นๆ ไปว่า “ลุงติดคุก 20 ปี”
    ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ภายหลังฟังคำตัดสิน ครอบครัวนายอำพล ซึ่งประกอบด้วยภรรยา บุตรสาว 3 คน หลานสาว 4 คน อายุตั้งแต่ 4-11 ปี ได้เดินทางไปเยี่ยมนายอำพลที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ และได้สอบถามเจ้าหน้าที่เรือนจำได้ความว่า เรือนจำพิเศษกรุงเทพฯ ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องขังที่โทษสูงกว่า 15 ปี ดังนั้นจึงต้องมีการส่งตัวผู้ต้องขังไปยังเรือนจำคลองเปรม ซึ่งเป็นที่คุมขังนักโทษเด็ดขาด ไม่อนุญาตให้บุคคลภายนอกเข้าเยี่ยม ยกเว้นญาติและทนายความ และมีความเป็นไปได้ว่าจะย้ายภายในวันศุกร์ที่ 25 พ.ย.นี้

    สรุปข่าว
    จำเลย ถูกกล่าวหาว่าใช้โทรศัพท์มือถือ หมายเลข 081-349-3615 ส่งข้อความอันอาจเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์ และหมิ่นประมาทใส่ความให้ร้ายสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทั้งหมด 4 ครั้งไปยังโทรศัพท์มือถือหมายเลขโทรศัพท์ 081-425-5599 ของนายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข ขณะดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม 2553
    3 สิงหาคม 2553 จำเลย วัย 61 ปี ถูกจับกุมในข้อหากระทำความผิดตามมาตรา 14 (2), (3) พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ และมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา และคำสั่งคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข (คปค.) ฉบับที่ 41 โดยข้อความดังกล่าวมีลักษณะหยาบคาย เข้าข่ายจาบจ้วง ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
    จำเลยให้การปฏิเสธ ตั้งแต่ชั้นจับกุม โดยกล่าวว่าไม่รู้จักวิธีการส่ง SMS และหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ส่งนั้นก็ไม่ใช่ของตน ขณะที่เจ้าหน้าที่ตำรวจเชื่อว่าผู้ส่งข้อความหักซิมการ์ดทิ้งไปแล้ว จึงสืบเบาะแสจากหมายเลขประจำเครื่อง (IMEI)
    จำเลยเคยประกอบ อาชีพขับรถส่งของ ปัจจุบันไม่ได้ประกอบอาชีพอะไรแล้วเนื่องจากอายุมากและพูดไม่ถนัดหลังการ ผ่าตัดมะเร็งใต้ลิ้นตั้งแต่ปี 2550 ทุกวันนี้อาศัยอยู่กับภรรยาในห้องเช่าราคาเดือนละ 1,200 บาท ย่านสำโรง จังหวัดสมุทรปราการ และอยู่ได้ด้วยเงินที่ได้รับจากลูกๆ อีกเล็กน้อย แต่ละวันมีหน้าที่ต้องเลี้ยงหลาน 3-4 คน
    หลังถูกจับกุมเมื่อ วันที่ 3 ส.ค.53 เขาถูกคุมตัวในเรือนจำนวน 63 วัน และได้ประกันตัวเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 หลังจากนั้น ในวันที่ 18 ม.ค. 54 อัยการมีคำสั่งฟ้องคดี จำเลยจึงต้องถูกควบคุมตัวอีกครั้ง ซึ่งศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวโดยให้เหตุผลว่า ข้อเท็จจริงตามข้อหาการกระทำความผิดตามฟ้องกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนและ ความมั่นคงของประเทศอย่างร้ายแรง คดีอยู่ในชั้นพิจารณา หากผลการพิจารณาสืบพยานมีหลักฐานมั่นคงจำเลยอาจหลบหนี ศาลไม่อนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราว
    นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข ผู้กล่าวหาในคดีนี้ ขณะเกิดเหตุดำรงตำแหน่งเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี แจ้งความต่อกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมความผิดทางเทคโนโลยี หลังจากได้รับ SMS จากเบอร์โทรศัพท์หมายเลข 0813493615 ที่ส่งมายังเครื่องของตนในวันที่ 9, 11, 12, 22 พ.ค. 2553 รวมจำนวน 4 ข้อความ
    นายสมเกียรติ ครองวัฒนสุข เป็นเลขานุการส่วนตัวของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี และเมื่อวันที่ 18 ม.ค. 54 มติคณะรัฐมนตรีได้แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่าย การเมือง
    หลังการแจ้งข้อกล่าวหา กองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยียื่นขอคำสั่งศาล ให้ออกหมายจับศาลอาญา รัชดา ที่ 1659 /2553 ลงวันที่ 29 ก.ค.53 ข้อหาหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท ตาม ป.อาญา มาตรา 112 มีโทษจำคุก 3-15 ปี
    3 สิงหาคม 2553 เวลา 7.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจ 15 นาย นำโดย พล.ต.ท.ไถง ปราศจากศัตรู ผบช.ก. พ.ต.อ.สุพิศาล ภักดีนฤนาถ รรท.ผบก.ป. พ.ต.อ.พรศักดิ์ สุรสิทธิ์ ผกก.1 บก.ป. พ.ต.ท.ธีรเดช ธรรมสุธีร์ รอง ผกก.1 บก.ป. และ พ.ต.ท.สุทธิเวท บุญยรัตกลิน สว.กก.1 บก.ป. พร้อมด้วยสื่อมวลชน เข้าจับกุม นายอำพล ตั้งนพกุล ที่บ้านเลขที่ 52 หมู่ที่ 1 ต.คลองสวน อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ โดยจับกุมได้ที่ห้องเช่าไม่มีเลขที่ ตั้งอยู่ระหว่างซอยวัดด่านสำโรง 17/1 และซอยวัดด่านสำโรง 19 หมู่ที่ 4 ต.สำโรงเหนือ อ.เมือง จ.สมุทรปราการ พร้อมของกลางโทรศัพท์มือถือยี่ห้อโมโตโรล่า 2 เครื่อง และยี่ห้อเทเลวิซ อีก 1 เครื่อง ซุกซ่อนอยู่ในตู้เสื้อผ้า
    จำเลยปฏิเสธข้อหา ตั้งแต่ชั้นจับกุม โดยกล่าวว่าไม่รู้จักวิธีการส่งข้อความสั้นบนโทรศัพท์มือถือ ไม่เคยส่งเอสเอ็มเอสเลย เพราะส่งไม่เป็น มีโทรศัพท์ไว้สำหรับโทรออกอย่างเดียว และเขากล่าวด้วยว่าเบอร์โทรศัพท์ที่ใช้ส่ง SMS นั้นไม่ใช่เบอร์ของเขา และโทรศัพท์เครื่องที่จำเลยใช้งานอยู่นั้นเคยเป็นของลูกเขย ซึ่งให้เขาเอามาใช้อีกทีหนึ่ง
    พล.ต.ท.ไถง กล่าวผ่านหนังสือพิมพ์มติชนว่า ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธว่าไม่ได้ส่งข้อความตามที่ถูกกล่าวหา แต่ยอมรับว่า โทรศัพท์ทั้งหมดเป็นของตนจริง แต่ได้เลิกใช้ไปนานแล้ว ทั้งนี้ผู้ต้องหาไม่มีอาชีพเป็นหลักแหล่ง จึงไม่เชื่อว่าจะทราบเบอร์โทรศัพท์มือถือของบุคคลสำคัญของประเทศและส่ง ข้อความที่ไม่เหมาะสมได้ จึงเชื่อว่าจะมีผู้สนับสนุนหรืออยู่เบื้องหลัง และยังเชื่อว่าจำเลยเป็นฮาร์ดคอร์กลุ่มคนเสื้อแดง จ.สมุทรปราการ ที่ กอ.รมน. ขึ้นบัญชีดำไว้ด้วย
    จำเลยถูกจับกุมโดยไม่ได้รับการประกันตัวเป็นเวลา 63 วัน จากนั้นในวันที่ 29 ก.ย.53 ทนายความยื่นประกันตัวครั้งที่สอง โดยใช้ที่ดินของญาติเป็นหลักทรัพย์ และเมื่อวันที่ 4 ต.ค.53 ศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ประกันตัว โดยให้เหตุผลว่า หลักประกันน่าเชื่อถือได้ว่าจำเลยจะไม่หลบหนี
    18 ม.ค. 54 อัยการมีคำสั่งฟ้องนายอำพลเป็นจำเลยในคดีที่มีการส่งข้อความหมิ่นเบื้องสูง ไปยังนายกรัฐมนตรีและบุคคลสำคัญ มีความผิดตามมาตรา 14 (2),(3) ตามพ.ร.บ.การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวตเตอร์ฯ และมาตรา 112 ตามประมวลกฎหมายอาญา
    วิธีป้องกันปัญหาในลักษณะนี้

    ไม่ควรใช้โทรศัพท์พิมพ์ข้อความในลักษณะดูหมิ่น หรือ กล่าวว่าใคร ซึ่งถ้าหากใช้ไม่ถูกวิธีอาจมีความผิดตามข่าวข้างต้นได้
    ที่มาของข่าวhttp://prachatai.com/journal/2011/11/37991

  13. นางสาวสุภาวดี แม่นศร ชั้นม.6/9เลขที่20

    ฮือฮา!’นู้ดคอซอง’ว่อนเน็ตรับวันครู
    ฮือฮา! “นู้ดคอซอง” ว่อนเน็ตรับวันครู 7 นร.วัยละอ่อนยิ้มร่าโชว์หน้าอก-กางเกง วธ.ชี้เป็นผู้หญิงนอกระบบอาศัยเครื่องแบบนักเรียนทำสิ่งไม่ดี ประสานไอซีทีตรวจสอบแล้ว
    เมื่อวันที่ 16 ม.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าขณะนี้มีภาพเด็กนักเรียนแต่งกายไม่เหมาะสมถูกนำมาเผยแพร่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตในโลกโซเซียลเน็ตเวิร์ค และเว็บไซต์เฟซบุ๊ค โดยมีการส่งเผยแพร่ต่อกันมาเป็นจำนวนมาก รายละเอียดของภาพเป็นภาพเด็กสวมใส่ชุดนักเรียนหญิง 7 คน ส่วนใหญ่มีการถอดเสื้อผ้าออกเหลือเพียงยกทรงนั่งบ้างยืนบ้างโชว์หน้าอก ส่วนอีกคนสวมใส่เสื้อชุดนักเรียนคอซองแต่นั่งถ่างขาโชว์กางเกงในสีแดง และยังมีบางคนใส่เสื้อสายเดี่ยวและมีการแสดงท่าทางกอดรัดกัน โดยทั้งหมดได้ถ่ายภาพด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสไม่ละอายในสิ่งที่ทำ
    ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบภาพดังกล่าว พบว่า มีต้นตอการส่งภาพมาจากบุคคลที่ใช้ชื่อว่า Beer nirvana มีผู้มาแสดงความคิดเห็นแสดงความชื่นชอบภาพดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลา 10 นาที มีผู้กดชื่นชอบเพิ่มขึ้นนับพันๆราย รวมทั้งมีการนำภาพดังกล่าวไปเผยแพร่แบ่งปันต่อๆกันเป็นจำนวนมาก
    จากนั้นผู้สื่อข่าวจึงได้สอบถามเรื่องดังกล่าว ไปยัง น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ดูแล้วเกินเด็ก น่าจะไม่ใช่เด็กมัธยมศึกษา อาจจะเป็นผู้หญิงนอกระบบ อาศัยเครื่องแบบไปทำสิ่งที่เสียหาย การถ่ายภาพลักษณะดังกล่าวมีความไม่เหมาะสมอย่างมาก เพราะภาพที่ปรากฏเป็นภาพเด็กสวมใส่ชุดนักเรียนด้วย ในเบื้องต้นอาจจะเป็นเพราะตัวเด็กๆยังขาดวุฒิภาวะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยการถ่ายภาพลักษณะนี้ น่าจะเป็นการเลียนแบบสื่อที่ไม่เหมาะสม
    อีกทั้งเป็นกระแสนิยมหรือแฟชั่นของเด็กสมัยใหม่ ที่เริ่มคุ้นชินกับเทคโนโลยีระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่มักจะถ่ายภาพโชว์ขึ้นเว็บไซต์ให้เพื่อนๆได้ชม และแบ่งปันกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะการนำภาพที่ไม่ถูกต้องดีงามมาเผยแพร่ อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าเด็กๆในภาพดังกล่าว มีสถานะเป็น นักเรียนอยู่ในระบบจริงหรือไม่ เพราะหากเป็นนักเรียนอยู่จริง ก็จะส่งผลเสื่อมเสียต่อสถาบันการศึกษาด้วย
    ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมกล่าวต่อไปว่า ตนจะประสานงานไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการควบคุมระบบสารสนเทศ ให้ตรวจสอบถึงการนำภาพเด็กกลุ่มนี้มาโพสต์อินเตอร์เน็ต รวมถึงจะรวบรวมหลักฐานประสานไปยังศูนย์เสมารักษ์ ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้เร่งตรวจสอบบุคคลในภาพอย่างเร่งด่วน และควรจะมีมาตรการลงโทษอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นจะทำให้ศธ.เสื่อมเสียด้วย
    ที่มาของข่าว: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ออนไลน์ http://www.komchadluek.net/detail/20120116/120458/%E0%B8%AE%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%B2!%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9.html

    สรุปข่าว
    เป็นข่าวการโพสต์รูปที่ไม่เหมาะสมลง Internet ในระบบ Social network ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งการโพสต์รูปเป็นรูปที่มีลักษณะโป๊เปลือย เป็นรูปเด็กนักเรียนหญิงม.ต้น 7 คน โพสต์ท่ายั่วยวน นุ่งน้อยห่มน้อยอีกทั้งยังเผยแพร่ในวันครูเหมือนกับเป็นการเย้ยระบบการศึกษาไทย ซึ่งในขณะนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงไอซีทีเข้าไปตรวจสอบว่าเป็นเด็กนักเรียนจริงหรือเปล่า และใครเป็นผู้ โพสต์ภาพดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการทำผิดทั้งทางกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์และศีลธรรม ประเพณีของไทยอีกด้วย

    มาตราที่กระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
    – ความผิดตามมาตรา 14 (4) ผู้ใดกระทำความผิดโดยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ และมาตรา 14 (5) ผู้ใดเผยแพร่และส่งต่อซึ่งข้อมูลลามก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    – อีกทั้งยังผิดประมวลกฎหมายอาญาฐานหมิ่นประมาท มาตรา 326 และ 328 โดยต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

  14. “หมอแอร์” พ.ต.ท.หญิง พญ. อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล ควงทนายเข้าแจ้งความกรณี ผู้ใช้นามแฝง Tum Leenutaphong โพสต์ข้อความลงสื่อสังคมออนไลน์-ให้สัมภาษณ์หมิ่น พ่วงข้อหาผิด พ.ร.บ.คอมพ์ นำเข้าข้อมูลปลอม เผยตอนแรกเห็นใจฝ่ายหญิง แต่กลับโพสต์หนักขึ้นเรื่อยๆ จึงต้องมาแจ้งความไว้

    เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่16 ก.พ. ที่ผ่านมา ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ศูนย์ราชการถนนแจ้งวัฒนะ พ.ต.ท.หญิง พญ.อัญชุลี ธีระวงศ์ไพศาล หรือหมอแอร์ พร้อมนายษิทรา เบี้ยบังเกิด ทนายความ เดินทางเข้าแจ้งความต่อ ร.ต.ท.หญิง ฉัตรวิภา อุดคำเที่ยง พนักงานสอบสวน บก.ปอท. เนื่องจากถูกหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาผ่านโซเชียลมีเดีย และบทสัมภาษณ์ลงหนังสือพิมพ์ ทำให้ พ.ต.ท.หญิง พญ.อัญชุลี เสื่อมเสียชื่อเสียง โดยนำข้อความที่ถูกโพสต์ลงในเฟซบุ๊กมาให้เจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย

    พ.ต.ท.หญิง พญ.อัญชุลีกล่าวว่า ในวันนี้ได้เดินทางมาแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ที่ใช้นามแฝง Tum Leenutaphong ได้มีการโพสต์ข้อความและเสียงดูหมิ่นกล่าวให้ร้าย อีกทั้งยังให้บทสัมภาษณ์หนังสือพิมพ์จนทำให้ตนเองเสื่อมเสียชื่อเสียง จนมีผลกระทบต่อครอบครัวและหน้าที่การงานโดยการดูหมิ่นให้ร้ายเรื่องส่วนตัว ทำให้ถูกรังเกียจทั้งทางเฟซบุ๊ก และอินสตาแกรม

    หมอแอร์ แจ้งความ ปอท. ไฮโซตั๋มหมิ่นประมาท ผิด พ.ร.บ.คอมพ์

    โดยกล่าวหาว่าหมอแอร์ไปยุ่งกับแฟนเขาซึ่งก็มีคนเข้ามาคอมเมนต์ในเชิงไม่ดี มีการโพสต์ลงในเฟซบุ๊กตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. รวม 4 ครั้ง วันนี้จึงมาแจ้งความดำเนินคดีต่อผู้ที่โพสต์ข้อความในข้อหาหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา กระจายภาพ เสียงไขข่าว และฐานความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 (1) ว่าด้วยการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลอันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน

    พ.ต.ท.หญิง พญ.อัญชุลี ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่าตอนแรกก็รู้สึกเห็นใจ แต่ระยะหลังเริ่มโพสต์หนักขึ้นเรื่อยๆ ไม่หยุดหย่อน จึงต้องมาแจ้งความไว้ เคยมีการพูดคุยกับฝ่ายชายบ้างเนื่องจากเป็นเพื่อนร่วมงานกันถึงเรื่องที่เกิดขึ้น เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ตนขอความเห็นใจในฐานะผู้หญิงคนหนึ่ง เรื่องดังกล่าวทำให้เสื่อมเสียชื่อเสียงเป็นอย่างมาก และมีผลกระทบต่อครอบครัว ขอฝากไปถึงประชาชนที่ถูกโพสต์ข้อความกลั่นแกล้งลงในโลกออนไลน์ ก่อนโพสต์ขอให้คิดก่อนเพราะมันผิดกฎหมายทั้งทางแพ่งและอาญา การโพสต์ข้อความจะบ่งบอกถึงความเป็นตัวคุณ ก่อนโพสต์ขอให้คิดก่อน

    เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้รับเรื่องไว้ ก่อนจะทำการสอบปากคำ พ.ต.ท.หญิง พญ.อัญชุลี เพิ่มเติม เพื่อนำตัวผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป

    อ้างอิง : http://news.truelife.com/detail/38700

    นายนิติธร กำจร ชั้น ม6/9 เลขที่ 5

  15. รวบหนุ่มแสบหลอกเจ้าของรถที่ถูกโจรกรรมโอนเงินเข้าบัญชี เพื่อไถ่รถคืน สารภาพจะค้นหาข้อมูลรถหาย และหมายเลขโทรศัพท์เจ้าของรถผ่านเว็บกูเกิล เมื่อรู้เบอร์และลักษณะรถจะโทรโน้มน้าวจนเหยื่อหลงเชื่อโอนเงินให้ 6 หมื่น ถึง 1.5 แสนบาท เมื่อได้เงินจะปิดมือถือหนีทันที ขณะแถลงข่าวมีลูกทีม ปชป.สูญ 7 หมื่น มาชี้ตัวผู้ต้องหาเหตุถูกหลอกด้วย
    สรุปข่าว
    คนร้ายรายนี้มีพฤติการณ์การทำผิดโดยติดตามข่าวสารรถหายจากทางสื่อทีวีว่ามีรถหายที่ไหนบ้างและจะค้นหาข้อมูลรถหายและหมายเลขโทรศัพท์เจ้าของรถที่แจ้งหายที่ลงประกาศไว้ในอินเทอร์เน็ต โดยค้นหาในเว็บไซต์กูเกิล ระบุคำว่า “รถหาย” ก็จะปรากฏชื่อเบอร์โทรศัพท์เจ้าของรถและลักษณะของรถอย่างละเอียด จากนั้นผู้ต้องหาจะโทรศัพท์เข้าไปหาผู้เสียหายแต่ละรายโดยบอกว่าตอนนี้รถที่หายไปนั้นอยู่กับตนเองแล้ว มีคนนำมาจำนำไว้ พร้อมบอกรายละเอียดของรถได้อย่างถูกต้อง หากเจ้าของรถอยากได้รถคืนก็ให้โอนเงินเข้าบัญชีจำนวน 60,000-150,000 บาท ซึ่งแล้วแต่กรณี โดยยืนยันจะนำรถไปคืนไว้ตามจุดที่มีการนัดหมายกัน โดยมีการพูดโน้มน้าวให้โอนเงินเข้าบัญชีของคนร้ายก่อน มิฉะนั้นจะไม่คืนรถให้ ซึ่งมีผู้เสียหายหลายรายหลงเชื่อโอนเงินให้ไปก่อน เมื่อได้เงินเรียบร้อยแล้วก็จะปิดโทรศัพท์มือถือทันที กว่าที่เหยื่อจะรู้ตัวว่าถูกหลอกก็สายเกินไปแล้ว
    ที่มา : http://www.thaiday.com/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9540000070072
    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. ๒๕๕๐
    หมวด ๑ ความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
    มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
    มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทําขึ้นเป็นการเฉพาะ ถ้านํามาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
    มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดยเฉพาะ และมาตรการนั้นมิได้มีไว้สําหรับตน ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
    มาตรา ๘ ผู้ใดกระทําด้วยประการใดโดยมิชอบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่ระหว่างการส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้น มิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคลทั่วไปใช้ประโยชน์ได้ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน สามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
    มาตรา ๙ ผู้ใดทําให้เสียหาย ทําลาย แก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติมไม่ว่าทั้งหมด หรือบางส่วน ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกิน หนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
    ความคิดเห็น
    จากข้อมูลข้างต้น ทำให้ทราบว่าอินเตอร์เน็ตเป็นเครื่องมือที่ช่วยในการตกเป็นเหยื่อของผู้ที่ไม่ประสงค์ดี ที่จะหาโอกาสหรือช่องทางในการหลอกหรือการโจรกรรมดังกล่าวขึ้น การที่เราได้ให้ข้อมูลรถหายและหมายเลขโทรศัพท์เจ้าของรถที่คิดว่าจะเป็นประโยชน์ในการติดตามและค้นหารถที่หายไปกลับคืนมา ในทางตรงกันข้าม มันกลับยิ่งทำให้เราตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว นอกจากจะไม่ได้รถกลับคืนมา แถมยังต้องเสียค่าโง่ไห้กับบุคคลที่ไม่หวังดีอีกด้วย

    วิธีแก้ไขปัญหา
    ดังนั้น เราจึงต้องพิจารณาให้รอบคอบ อย่าหลงกล หรือหลงเชื่อ อีกทั้งในปัจจุบันก็เห็นเป็นข่าวกันอยู่เสมอ ภัยจากการหลอกลวง ออนไลน์ หรือการทำฟิชชิ่ง และฟาร์มมิ่ง ถือเป็นเรื่องที่ต้องหันมาใส่ใจ นอกจากการป้องกันไวรัส หรือมัลแวร์ และการเจาะระบบของแฮกเกอร์ เพราะถือเป็นเรื่องที่เข้ามาใกล้ตัวผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทุกคนมากที่สุด จึงเป็นเรื่องจำเป็นที่เหตุผลที่ต้องมีความรู้ด้านความปลอดภัยทางคอมพิวเตอร์ด้วย เพราะเรื่องนี้ไม่ได้มองเห็นด้วยตา ไม่เหมือนการเฝ้าบ้านป้องกันขโมย

    อ้างอิง : http://sarutbabpawan.blogspot.com/2012/07/blog-post.html

    นายนิติธร กำจร ชั้นม.6/9 เลขที่5

  16. แฮกเกอร์ “แอโนนีมัส” ป่วนเว็บ “ซีไอเอ” หน่วยงานรัฐแอละแบมา

    กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดัง “แอโนนีมัส” เจาะระบบเว็บไซต์ของซีไอเอ จนใช้งานไม่ได้นานหลายชั่วโมง ทั้งยังเข้าไปขโมยประวัติต่างๆ ของคนเกือบ 5 หมื่นคน จากเว็บไซต์ของรัฐแอละแบมาด้วย…

    สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่า ‘แอโนนีมัส’ กลุ่มแฮกเกอร์ชื่อดัง ออกมากล่าวอ้างว่า เป็นผู้โจมตีเว็บไซต์ของ หน่วยสืบราชการลับกลาง (ซีไอเอ) ของสหรัฐฯ จนใช้การไม่ได้ไปนานกว่า 9 ชม. เมื่อวันศุกร์ รวมถึงเจาะเข้าไปขโมยข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่อยู่ และเลขประกันสังคมของคนกว่า 46,000 คน จากเว็บไซต์หน่วยงานนิติบัญญัติของมลรัฐแอละแบมาหลายเว็บไซต์ด้วย

    แอโนนีมัส อ้างว่า ทำไปเพื่อต่อต้านการออกกฎหมายที่มีลักษณะแบ่งชนชั้น ซึ่งส่งผลต่อกลุ่มผู้อพยพเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย ทั้งยังขู่ว่าจะทำลายข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้เกิดความตระหนักว่า นอกจากรัฐบาลจะไม่ให้ความสนใจต่อกลุ่มผู้อพยพแล้ว ยังไม่สนใจต่อความเป็นอยู่ของชาวแอละแบมาอีกด้วย
    ข่าวโดย : ไทยรัฐ วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2555

    สรุปข่าว
    กลุ่มแฮกเกอร์ “แอโนนีมัส” ได้เจาะเข้าระบบเว็บไซต์ของซีไอเอ จนใช้งานไม่ได้นาน 9 ชั่วโมง และยังได้เจาะระบบเข้าไปขโมย ข้อมูลประวัติอาชญากรรม ที่อยู่ และเลขประกันสังคมของคนกว่า 46,000 คน จากเว็บไซต์หน่วยงานนิติบัญญัติของมลรัฐแอละแบมา หลายเว็บไซต์ด้วย โดยแฮกเกอร์กลุ่มนี้อ้างว่า ทำไปเพื่อต่อต้านการออกกฎหมายที่มีลักษณะแบ่งชนชั้น ซึ่งส่งผลต่อกลุ่มผู้อพยพเข้าเมืองแบบผิดกฎหมาย และยังได้ขู่อีกว่าจะทำลายข้อมูลทั้งหมด เพื่อให้เกิดความตระหนักว่า นอกจากรัฐบาลจะไม่ให้ความสนใจต่อกลุ่มผู้อพยพแล้ว ยังไม่ให้ความสนใจต่อความเป็นอยู่ของชาวแอละแบมาอีกด้วย
    ความผิดและโทษ
    กลุ่มแฮกเกอร์แอโนนีมัส ได้กระทำความผิด มาตรา 5, 7, 10 และ12 โดยมาตรา 5 ว่าด้วยการเข้าถึงคอมพิวเตอร์โดยมิชอบ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 10,000 บาท มาตรา 7 การเข้าถึงข้อมูลโดยมิชอบ มีโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 40,000 บาท มาตรา 10 การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท มาตรา 12 กระทบความมั่นคง มีโทษจำคุก 3-15 ปี ปรับ 60,000-300,000 บาท
    วิธีแก้ไขปัญหา
    วิธีการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด คงไม้พ้นการแก้ที่ต้นเหตุของปัญหา ซึ่งปัญหานี้สาเหตุเกิดมาจาก คนที่มีความรู้ความสามารถแต่กลับใช้ความรู้ความสามารถนั้นไปในทางที่ผิด หรืออาจกล่าวได้ว่า เป็นคนเก่งแต่ขาดคุณธรรม ดังนั้นเราจะต้อง สั่งสอน ปลูกฝังเด็กตั้งแต่พวกเค้ายังเล็กๆ เพราะเด็กก็เปรียบเสมือนแก้วเปล่าที่พร้อมจะรับสิ่งต่างๆเข้ามา ถ้าเรานำแต่สิ่งที่ดีๆใส่ให้เข้า เค้าก็จะเป็นคนดี มีจิตใจที่ดีงาม ซึ่งสถาบันที่สำคัญที่จะเป็นรากฐานในการปลูกฝังให้กับเด็กๆ คือ ครองครัวและโรงเรียน ครอบครัวถือได้ว่า เป็นหน่วยพื้นฐานที่เล็กที่สุดและเป็นหน่วยที่สำคัญที่สุดในการที่จะปลูกฝังให้เด็กๆนั้นโตขึ้นมาเป็นคนดี มีคุณธรรม จริยธรรมและโรงเรียนก็จะเป็นหน่วยที่ 2 ที่จะทำหน้าที่ถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ต่างๆให้แก่เด็ก ทำให้เด็กเป็นผู้ที่มีความรู้และอีกหน้าที่ คือ การขัดเกลาเด็กๆให้เป็นคนดี รู้จักการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม หรืออาจกล่าวได้ว่า สอนให้เป็นทั้งคนดีและคนเก่งไปพร้อมๆกัน
    ทั้งครอบครัวและโรงเรียนต่างเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้เด็กๆเหล่านี้โตขึ้นมาเป็นสมาชิกที่ดีของสังคมและประเทศชาติต่อไป ดังนั้น ทั้งครอบครัวและโรงเรียนจะต้องร่วมมือกันเพื่อให้การแก้ไขปัญหาเหล่านี้หมดไปจากประเทศ
    อ้างอิง : http://oraumaum.blogspot.com/2012/07/blog-post.html

    นายนิติธร กำจร ชั้น ม.6/9 เลขที่ 5

  17. นางสาวดวงหทัย ทองคำดี ชั้น ม.6/9 เลขที่ 35

    ข่าวการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
    นัดฟังคำพิพากษาคนงานถูกฟ้อง พ.ร.บ.คอมฯ 25 พ.ค.นี้

    เมื่อวันที่ 24-25 เม.ย. ที่ผ่านมา ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ มีการสืบพยานโจทก์และจำเลย คดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายสงคราม ฉิมเฉิด พนักงานจัดส่งแก๊ส สาขาสมุทรสาคร บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) ซึ่งเป็นอนุกรรมการสหภาพฯ ในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามมาตรา 14 (1) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

    โดยคดีดังกล่าว เป็นคดีที่นางปาริชาติ พลพละ ผู้จัดการสาขาของบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) ฟ้องนายสงคราม ในข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 มาตรา 3,4 รวมถึงข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 เนื่องจากมีการส่งอีเมลหนังสือร้องเรียน ซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นประมาทไปยังองค์กรต่างๆ ซึ่งที่สุด หลังการเจรจาไกล่เกลี่ย นายจ้างได้ยอมความโดยถอนฟ้องไป แต่ยังคงเหลือข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะเป็นอาญาแผ่นดิน ไม่อาจยอมความได้ ทำให้ต้องต่อสู้คดีต่อไป

    โดยในการสืบพยาน ฝ่ายโจทก์นำสืบพยาน 6 ปากได้แก่ นางปาริชาต พนักงานบริษัท 3 คน ผู้แปลเอกสาร 1 คน และพนักงานสอบสวน 1 คน ขณะที่ฝ่ายจำเลย นำสืบเพียงจำเลย ทั้งนี้ ศาลได้นัดฟังคำพิพากษาคดีในวันที่ 25 พ.ค.55 เวลา 10.00น.
    ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายจำเลย กล่าวว่า ในประเด็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยจะก่อความเสียหายต่อผู้อื่นหรือประชาชน ได้นำสืบโดยชี้ว่า ไม่น่าจะผิดฐานนำเข้าข้อมูลเท็จ เพราะฝ่ายโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลในอีเมลดังกล่าวเป็นเท็จ โดยแม้จะมีพยานคนกลางในที่เกิดเหตุ 1 คนแต่ฝ่ายโจทก์กลับไม่มีการนำสืบ ส่วนการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้นำสืบว่า เมื่อสงครามยื่นหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาแล้วก็ส่งแฟกซ์ให้กรรมการสหภาพแรงงาน เพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งสงครามไม่รู้ว่าจะมีการเผยแพร่ไหม เพราะเขาเองไม่ได้ใช้อีเมล ขณะที่พยานหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์นำสืบ ก็ไม่มีใครยืนยันได้ชัดเจนว่าอีเมลที่ได้รับนั้นใครเป็นผู้ส่ง เพียงแค่คิดว่าเมื่อสงครามเป็นเจ้าของจดหมายก็น่าจะเป็นผู้ส่งหรือให้ใครส่งให้
    ทั้งนี้ รายงานประจำปีของเครือข่ายพลเมืองเน็ต ชื่อ “เสรีภาพและวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตไทย ปี พ.ศ. 2554” ซึ่งเผยแพร่ทางออนไลน์เมื่อวันที่ 6 เม.ย.55 ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายหมิ่นประมาท หากแต่มีโทษจำคุกสูงกว่า และยอมความไม่ได้ เพราะถือเป็นความผิดที่เป็นอาญาแผ่นดิน โดยในปี 2554 เป็นปีแรกที่มีบันทึกว่า มีการนำ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 มาใช้ฟ้องร้องระหว่างประชาชนกับประชาชน ในทางที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งมี 3 กรณีด้วยกันที่เป็นที่รับรู้ของสาธารณะได้แก่ คดีของนายสงคราม ฉิมเฉิด คดีของนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ซึ่งถูกฟ้องโดยแพทย์ว่าเผยแพร่ข้อมูลเท็จ อันได้แก่ข้อมูลคนไข้ที่เสียชีวิตและภาพความผิดพลาดในการรักษา ซึ่งนางปรียนันท์ใช้ในการรณรงค์เพื่อผลักดันร่างกฎหมาย และกรณี น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์แจ้งความต่อทวิตเตอร์แอคเคาท์ @NotMallikaBoon ที่ล้อเลียนทวิตเตอร์ @MallikaBoon ของเธอ ว่าเป็นข้อมูลเท็จซึ่งทำให้คนเข้าใจผิดและเสื่อมเสียชื่อเสียง
    โดยเครือข่ายพลเมืองเน็ตแสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะถูกนำมาใช้เพื่อขัดขวางการรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ ในอนาคต เนื่องจากประชาชนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งกิจกรรมการรณรงค์ทางการเมือง รณรงค์ด้านสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิแรงงาน สิทธิผู้ป่วย ก็ล้วนแล้วแต่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ
    ที่มาจาก : http://prachatai.com/journal/2012/04/40236

    สรุปข่าว
    ศาลจังหวัดสมุทรปราการ มีการสืบพยานโจทก์และจำเลย คดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายสงคราม ฉิมเฉิด พนักงานจัดส่งแก๊ส สาขาสมุทรสาคร บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) ซึ่งเป็นอนุกรรมการสหภาพฯ ในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามมาตรา 14 (1) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
    โดยคดีดังกล่าว เป็นคดีที่นางปาริชาติ พลพละ ผู้จัดการสาขาของบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) ฟ้องนายสงคราม ในข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 มาตรา 3,4 รวมถึงข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 เนื่องจากมีการส่งอีเมลหนังสือร้องเรียน ซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นประมาทไปยังองค์กรต่างๆ ซึ่งที่สุด หลังการเจรจาไกล่เกลี่ย นายจ้างได้ยอมความโดยถอนฟ้องไป แต่ยังคงเหลือข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะเป็นอาญาแผ่นดิน ไม่อาจยอมความได้ ทำให้ต้องต่อสู้คดีต่อไป

    มาตราที่ทำผิดและบทลงโทษที่ได้รับ
    นายสงคราม ฉิมเฉิด ได้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามมาตรา 14 (1) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
    (1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
    (2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
    (3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
    (4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
    (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

    แนวทางการป้องกันการกระทำผิด
    1. ผู้ใช้บริการไม่นำควรเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ หมิ่นประมาท ลามกอนาจาร หรือ ข้อมูลที่จะทำให้ความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือต่อความมั่นคงของประเทศชาติ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
    2. ผู้ใช้บริการไม่ควรบอก Username และ Password ให้แก่บุคคลอื่น และไม่ควรให้บุคคลอื่นใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวของเรา

    ที่มา : http://jeeranan045.blogspot.com/2012/07/blog-post.html

  18. นางสาวดวงหทัย ทองคำดี ชั้น ม.6/9 เลขที่ 35

    ข่าวการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
    นัดฟังคำพิพากษาคนงานถูกฟ้อง พ.ร.บ.คอมฯ 25 พ.ค.นี้

    เมื่อวันที่ 24-25 เม.ย. ที่ผ่านมา ที่ศาลจังหวัดสมุทรปราการ มีการสืบพยานโจทก์และจำเลย คดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายสงคราม ฉิมเฉิด พนักงานจัดส่งแก๊ส สาขาสมุทรสาคร บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) ซึ่งเป็นอนุกรรมการสหภาพฯ ในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามมาตรา 14 (1) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550

    โดยคดีดังกล่าว เป็นคดีที่นางปาริชาติ พลพละ ผู้จัดการสาขาของบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) ฟ้องนายสงคราม ในข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 มาตรา 3,4 รวมถึงข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 เนื่องจากมีการส่งอีเมลหนังสือร้องเรียน ซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นประมาทไปยังองค์กรต่างๆ ซึ่งที่สุด หลังการเจรจาไกล่เกลี่ย นายจ้างได้ยอมความโดยถอนฟ้องไป แต่ยังคงเหลือข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะเป็นอาญาแผ่นดิน ไม่อาจยอมความได้ ทำให้ต้องต่อสู้คดีต่อไป

    โดยในการสืบพยาน ฝ่ายโจทก์นำสืบพยาน 6 ปากได้แก่ นางปาริชาต พนักงานบริษัท 3 คน ผู้แปลเอกสาร 1 คน และพนักงานสอบสวน 1 คน ขณะที่ฝ่ายจำเลย นำสืบเพียงจำเลย ทั้งนี้ ศาลได้นัดฟังคำพิพากษาคดีในวันที่ 25 พ.ค.55 เวลา 10.00น.
    ธีรพันธุ์ พันธุ์คีรี ทนายจำเลย กล่าวว่า ในประเด็นการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยจะก่อความเสียหายต่อผู้อื่นหรือประชาชน ได้นำสืบโดยชี้ว่า ไม่น่าจะผิดฐานนำเข้าข้อมูลเท็จ เพราะฝ่ายโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าข้อมูลในอีเมลดังกล่าวเป็นเท็จ โดยแม้จะมีพยานคนกลางในที่เกิดเหตุ 1 คนแต่ฝ่ายโจทก์กลับไม่มีการนำสืบ ส่วนการนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ได้นำสืบว่า เมื่อสงครามยื่นหนังสือร้องเรียนต่อผู้บังคับบัญชาแล้วก็ส่งแฟกซ์ให้กรรมการสหภาพแรงงาน เพื่อขอความช่วยเหลือ ซึ่งสงครามไม่รู้ว่าจะมีการเผยแพร่ไหม เพราะเขาเองไม่ได้ใช้อีเมล ขณะที่พยานหลักฐานที่ฝ่ายโจทก์นำสืบ ก็ไม่มีใครยืนยันได้ชัดเจนว่าอีเมลที่ได้รับนั้นใครเป็นผู้ส่ง เพียงแค่คิดว่าเมื่อสงครามเป็นเจ้าของจดหมายก็น่าจะเป็นผู้ส่งหรือให้ใครส่งให้
    ทั้งนี้ รายงานประจำปีของเครือข่ายพลเมืองเน็ต ชื่อ “เสรีภาพและวัฒนธรรมอินเทอร์เน็ตไทย ปี พ.ศ. 2554” ซึ่งเผยแพร่ทางออนไลน์เมื่อวันที่ 6 เม.ย.55 ตั้งข้อสังเกตว่า ปัญหาของ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 มีความซ้ำซ้อนกับกฎหมายหมิ่นประมาท หากแต่มีโทษจำคุกสูงกว่า และยอมความไม่ได้ เพราะถือเป็นความผิดที่เป็นอาญาแผ่นดิน โดยในปี 2554 เป็นปีแรกที่มีบันทึกว่า มีการนำ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 มาใช้ฟ้องร้องระหว่างประชาชนกับประชาชน ในทางที่ขัดต่อเจตนารมณ์ของกฎหมาย ซึ่งมี 3 กรณีด้วยกันที่เป็นที่รับรู้ของสาธารณะได้แก่ คดีของนายสงคราม ฉิมเฉิด คดีของนางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ซึ่งถูกฟ้องโดยแพทย์ว่าเผยแพร่ข้อมูลเท็จ อันได้แก่ข้อมูลคนไข้ที่เสียชีวิตและภาพความผิดพลาดในการรักษา ซึ่งนางปรียนันท์ใช้ในการรณรงค์เพื่อผลักดันร่างกฎหมาย และกรณี น.ส.มัลลิกา บุญมีตระกูล รองโฆษกพรรคประชาธิปัตย์แจ้งความต่อทวิตเตอร์แอคเคาท์ @NotMallikaBoon ที่ล้อเลียนทวิตเตอร์ @MallikaBoon ของเธอ ว่าเป็นข้อมูลเท็จซึ่งทำให้คนเข้าใจผิดและเสื่อมเสียชื่อเสียง
    โดยเครือข่ายพลเมืองเน็ตแสดงความกังวลเป็นอย่างยิ่งว่า พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จะถูกนำมาใช้เพื่อขัดขวางการรณรงค์เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนในด้านต่างๆ ในอนาคต เนื่องจากประชาชนไทยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางหลักในการสื่อสารมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งกิจกรรมการรณรงค์ทางการเมือง รณรงค์ด้านสิทธิต่างๆ เช่น สิทธิแรงงาน สิทธิผู้ป่วย ก็ล้วนแล้วแต่ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ
    ที่มาจาก : http://prachatai.com/journal/2012/04/40236

    สรุปข่าว
    ศาลจังหวัดสมุทรปราการ มีการสืบพยานโจทก์และจำเลย คดีที่อัยการเป็นโจทก์ฟ้อง นายสงคราม ฉิมเฉิด พนักงานจัดส่งแก๊ส สาขาสมุทรสาคร บริษัท ไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) ซึ่งเป็นอนุกรรมการสหภาพฯ ในข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามมาตรา 14 (1) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
    โดยคดีดังกล่าว เป็นคดีที่นางปาริชาติ พลพละ ผู้จัดการสาขาของบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส จำกัด (มหาชน) (ทีไอจี) ฟ้องนายสงคราม ในข้อหาหมิ่นประมาทผู้อื่นโดยการโฆษณา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326, 328 และ พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา(ฉบับที่ 11) พ.ศ.2535 มาตรา 3,4 รวมถึงข้อหานำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ มาตรา 14 เนื่องจากมีการส่งอีเมลหนังสือร้องเรียน ซึ่งมีเนื้อหาหมิ่นประมาทไปยังองค์กรต่างๆ ซึ่งที่สุด หลังการเจรจาไกล่เกลี่ย นายจ้างได้ยอมความโดยถอนฟ้องไป แต่ยังคงเหลือข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะเป็นอาญาแผ่นดิน ไม่อาจยอมความได้ ทำให้ต้องต่อสู้คดีต่อไป

    มาตราที่ทำผิดและบทลงโทษที่ได้รับ
    นายสงคราม ฉิมเฉิด ได้นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จโดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน ตามมาตรา 14 (1) ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา 14 ผู้ใดกระทําความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจําทั้งปรับ
    (1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
    (2) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน
    (3) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใด ๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการ ก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
    (4) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามก และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
    (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)

    แนวทางการป้องกันการกระทำผิด
    1. ผู้ใช้บริการไม่นำควรเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จ หมิ่นประมาท ลามกอนาจาร หรือ ข้อมูลที่จะทำให้ความเสียหายแก่ผู้อื่น หรือต่อความมั่นคงของประเทศชาติ เข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์
    2. ผู้ใช้บริการไม่ควรบอก Username และ Password ให้แก่บุคคลอื่น และไม่ควรให้บุคคลอื่นใช้คอมพิวเตอร์ส่วนตัวของเรา

    ที่มา : http://jeeranan045.blogspot.com/2012/07/blog-post.html

  19. นางสาวดวงหทัย ทองคำดี ชั้น ม.6/9 เลขที่ 35

    ข่าวการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

    หัวข้อข่าว

    คุก21ปีแฮกเกอร์ข้อมูลลับเอทีเอ็มลูกค้าใบโพธิ์

    แหล่งที่มา หนังสือพิมพ์เดลินิวส์

    ประจำวันที่ วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2555 เวลา 19:59 น.

    คุก 21ปีเศษแฮกเกอร์แสบล้วงข้อมูลลับบัตรเอทีเอ็มลูกค้าแบงก์ใบโพธิ์ โอนเงินกว่า 3 แสนไปจ่ายหนี้ รับสารภาพเหลือติด10 ปี เศษพร้อมคืน3.6แสนให้ผู้เสียหาย

    เนื้อหาข่าว

    นายภาณุพัฒน์ เพ็ญพัฒน์ ฤกษ์เสริมสุข อายุ 30 ปี ชาว จ.นครนายก เป็นจำเลยในความผิดฐานเข้าระบบและข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน ทำลายแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ทำให้เกิดความเสียหาย ,ใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ,ลักทรัพย์ในเวลากลางคืน โดยจำเลยบังอาจใช้ข้อมูลหมายเลข 16 หลัก ที่ปรากฏบนหน้าบัตร เอทีเอ็ม พร้อมรหัสลับที่ใช้ถอนเงินของธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ผู้เสียหายที่ออกให้แก่ลูกค้าซึ่งเป็นผู้เสียหายอีก 4 ราย แล้วจำเลยนำไปสมัครขอใช้บริการ SCB EASY NET โดยกำหนดชื่อประจำตัว และรหัสผ่านด้วยตนเองตามขั้นตอนและวิธีการที่ ธนาคารฯ กำหนด เป็นเหตุให้ธนาคารฯหลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้เสียหาย4 ราย จึงออกชื่อประจำตัวผู้ใช้ให้ จากนั้นจำเลยได้นำชื่อประจำตัวของผู้เสียหาย และรหัสผ่านไปโอนเงินจากบัญชีผู้เสียหายเพื่อใช้ชำระค่าสินค้า หรือบริการทางอินเตอร์เน็ตหลายครั้งซึ่งเป็นร้านค้าต่างประเทศรวม 4 ครั้ง เป็นเงิน 368,800 บาท ต่อมาตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรรมทาง เทคโนโลยี (ปอท.)ติดตามจับกุมได้ พร้อมให้การรับสารภาพ เหตุเกิดที่แขวงเขต- จตุจักร กรุงเทพฯ และที่อื่นเกี่ยวพันกัน
    กระทำผิดมาตรตรา

    กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 269/5 ประกอบมาตรา269/7 ,334,335 พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 5,7,9
    บทลงโทษในการกระทำผิด

    ศาลตัดสินบทลงโทษฐานใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นโดยมิชอบ 5 กระทง จำคุกกระทงละ 9 เดือน เป็นจำคุก 3 ปี 9 เดือน ฐานเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกัน ทำลายแก้ไข เปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม ทำให้เกิดความเสียหายฯ 4 กระทง จำคุกกระทงละ 2 ปี เป็นจำคุก 8 ปี และฐานลักทรัพย์ฯ จำคุกกระทงละ 2 ปี 5 กระทง เป็นจำคุก 10 ปี รวมจำคุก 21 ปี 9 เดือน คำรับสารภาพเป็นประโยชน์ลดโทษให้กึ่งหนึ่งคงจำคุกจำเลย 10 ปี 10 เดือน 15 วัน และให้จำเลยชดใช้เงินคืน 368,800 บาทแก่ผู้เสียหายด้วย.

    วิเคราะห์ข่าว
    โดยส่วนตัวผมหลังจากที่ได้อ่านข่าวนี้นั้นผมคิดว่าเป็นสิ่งที่มีความผิดร้ายแรงทั้งในด้านกฎหมายและหลักจริยธรรมเป็นอันมาก เพราะคนร้ายนั้นทำผิดในด้านกฎหมายอย่างเห็นได้ชัดตามข่าว แต่ส่วนในเรื่องของหลักจริยธรรมแล้วคนร้ายมีความผิดเนื่องจากใช้เทคโนโลยีที่ซึ่งเป็นสิ่งอำนวยควาสะดวกสบายเข้าไปก่อกวนระบบเป็นเหตุให้มีผู้เสียหายดังข่าวผู้เสียหายได้สูญเสียทรัพย์อีกทั้งยังทำให้ผู้เสียหายต้องเสียสุขภาพทางจิตเนื่องจากว่าไม่รู้ว่ายังมีคนที่เป็นแฮคเกอร์แบบนี้อยู่ในสังคมอยู่อีกกี่ราย

    ที่มา : http://keng8.blogspot.com/2012/11/blog-post.html

  20. นางสาวสุภาวดี แม่นศร ชั้นม.6/9 เลขที่20

    ข่าวที่1 ผิดมาตรา14และ112
    ตัดสินคดี sms อากง ผิดคดีหมิ่น+พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำคุก20
    สื่อข่าวรายงานจากศาลอาญา รัชดา วันนี้ศาลนัดฟังคำพิพากษาคดีที่นายนายอำพล (สงวนนามกุล) อายุ 61 ปี หรือที่เรียกกันสั้นๆ ว่า “อากง” ซึ่งถูกฟ้องว่ากระทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยข้อกล่าวหาว่าส่งเอสเอ็มเอสที่มีข้อความหมิ่นพระบรมเดชานุภาพไปยัง โทรศัพท์ของเลขานุการของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี
    ศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดจริงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพระราชบัญญัติการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มาตรา 14 อนุ 2 และ 3 ลงโทษจำคุก 20 ปี
    ทั้งนี้ ศาลใช้วิธีอ่านคำพิพากษาผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอรเรนซ์ เนื่องไม่สามารถนำตัวจำเลยมาฟังคำพิพากษาได้เพราะน้ำท่วมเรือนจำ หลังฟังคำพิาพากษา ภรรยา ลูกและหลานๆ ของนายอำพลพากันร่ำไห้ ขณะที่มีประชาชนผู้สนใจคดีดังกล่าวร่วมฟังคำพิพากษาราว 30 คน
    สำหรับรายละเอียดการพิพากษา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
    ผู้พิพากษา ชนาธิป เหมือนพะวงศ์ ขึ้นบังลังค์เวลา 10.25 น. ที่ห้องเวรชี้ ชั้นล่างของศาลอาญา
    ศาลพิพากษาว่า ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ที่โจทก์ได้จาก DTAC และ TRUE นั้นเป็นหลักฐานที่ผู้ให้บริการมีหน้าที่ต้องจัดเก็บโดยระบบคอมพิวเตอร์ตาม ที่กฎหมายกำหนด หากผู้ให้บริการจัดเก็บไม่ถูกต้องลูกค้าย่อมไม่เชื่อถือ อาจเสียประโยชน์ทางธุรกิจได้ ดังนั้นจึงถือว่าหลักฐานข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่ได้รับถือเป็นเอกสารที่ น่าเชื่อถือ
    สำหรับประเด็นสำคัญในคดีที่จำเลยตั้งประเด็นว่า หมายเลขอีมี่ หรือรหัสประจำเครื่องโทรศัพท์อาจถูกปลอมแปลงได้นั้น จำเลยไม่สามารถหาตัวผู้เชี่ยวชาญมายืนยันได้ ส่วนประเด็นที่ว่า เอกสารในสำนวนฟ้องที่หมายเลขอีมี่หลักที่ 15 ไม่ตรงกับหมายเลขอีมี่ในเครื่องโทรศัพท์ คือในเอกสารบางจุดแสดงว่าเป็นเลข 0 บางจุดแสดงว่าเป็นเลข 2000 ขณะที่ในเครื่องโทรศัพท์จริงๆ เป็นเลข 6 ศาลวิเคราะห์ว่า หมายเลขอีมี่ 14 หลักแรกเท่านั้นที่มีความสำคัญ ตามที่พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา จากกองบังคับการปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี เบิกความและได้พิสูจน์ด้วยการใช้เว็บไซต์สำหรับตรวจสอบเลขอีมี่แสดงให้เห็น ในศาลแล้วว่า เมื่อพิมพ์รหัส 14 หลักแรกตามด้วยรหัสสุดท้ายหมายเลข 6 จะปรากฏข้อมูลว่าเป็นเครื่องโทรศัพท์ยี่ห้อโมโตโรล่า ซึ่งเป็นรุ่นเดียวกับโทรศัพท์ของกลาง แต่ถ้าเปลี่ยนเป็นเลข 0-5 และ 7-9 ทั้งที่ควรปรากฏว่าเป็นเครื่องรุ่นอื่น แต่จากการทดสอบในเว็บดังกล่าวกลับไม่ปรากฏว่าเป็นรุ่นใดเลย จึงยิ่งชี้ให้เห็นชัดว่าหมายเลข 14 หลักแรกเท่านั้นที่ใช้ในการระบุตัว ตามที่โจทก์กล่าวอ้าง.
    อ้างอิง
    : http://www.thairath.co.th/content/599745
    นางสาวสุภาวดี แม่นศร ชั้นม.6/9 เลขที่20

  21. นางสาวศศิวิมล เลี้ยงประยูร ชั้นม.6/9 เลขที่26

    ข่าวที่2 ผิดมาตรา14,112,198,326,328
    ฐานตัดต่อคลิปโกงข้อสอบศาล ผิดพรบ.คอมพิวเตอร์

    Mthainews : ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ เปิดเผยถึงมติที่ประชุมคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในวันนี้ว่า คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติมอบหมายให้ตน ดำเนินการร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนกองปราบปราม เพื่อให้ดำเนินคดีกับ นายพสิษฐ์ ศักดาณรงค์ อดีตเลขานุการประธานศาลรัฐธรรมนูญ และกลุ่มบุคคลไม่ทราบจำนวนที่ร่วมกันจัดทำและเผยแพร่คลิปวิดีโอชุดที่ 3 เกี่ยวกับคำสารภาพเด็กฝาก ทางคอมพิวเตอร์ เครือข่ายเว็บไซต์ และหนังสือพิมพ์บางฉบับ ระหว่างวันที่ 8 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา

    โดยใช้นามแฝงว่า Ohmygod3009 ที่กระทำการเผยแพร่คลิปวิดีโอเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ผ่านการตัดต่อรวม 4 ตอน อันเป็นการหมิ่นประมาท หรือ ดูหมิ่นพระมหากษัตริย์ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม และสถาบันการเมืองการปกครองของไทย ซึ่งเป็นการร่วมกันกระทำความผิดใน ลักษณะแบ่งหน้าที่กันทำ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ม.198 ม.326 และ ม.328 รวมทั้งเป็นการเผยแพร่ และส่งต่อข้อมูลคอมพิวเตอร์ อันผิดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยคอมพิวเตอร์ 2550 ม.14

    ส่วนกรณีการดำเนินการแจ้งความ ในครั้งนี้นั้น ถือเป็นครั้งที่ 2 จาก 3 คดีในกรณีการเผยแพร่คลิป ซึ่งเป็นกระบวนการทางกฎหมาย และความยุติธรรม ที่คณะตุลาการเลือกใช้ ส่วนจะมีการตั้งคณะกรรรมการหรือไม่นั้น คงต้องรอมติจากคณะตุลาการ แต่อย่างไรแล้ว ทางสำนักงานจะไม่หยุดแสวงหาความจริงในเรื่องนี้อย่างแน่นอน.
    อ้างอิง
    http://news.mthai.com/hot-news/politics-news/93706.html
    นางสาวศศิวิมล เลี้ยงประยรู ชั้นม.6/9 เลขที่26

  22. นางสาวศศิวิมล เลี้ยงประยูร ชั้นม.6/9 เลขที่26

    ข่าวที่1 มีความผิดมาตรา14
    จับแพทย์หญิงโพสต์หมิ่นเอี่ยวทุบหุ้น
    ตำรวจบุกรวบหมอสาวคาโรงพยาบาลธนบุรี เอี่ยวคดี “ทุบหุ้น” รับเคยโพสต์ข้อความมิบังควรลงเว็บบอร์ด จนท.ค้นห้องพักยึดโน้ตบุ๊ค เผยรวมเป็นรายที่ 4
    จากกรณีที่ตำรวจ บช.ก.จำนวนหลายหน่วยงานได้ร่วมกันจับกุมตัวผู้ต้องหาที่กระทำความผิดตาม พรบ.ว่าด้วยการทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เรื่องการโพสต์ข้อความอันมิบังควรผ่านทางเว็บไซต์ในอินเตอร์เน็ต จนก่อให้เกิดความไม่มั่นคงต่อประเทศชาติและส่งผลกระทบทำให้เศรษฐกิจรวมถึงตลาดหุ้นไทยนั้น โดยมีผู้หา 3 คน คือ นายคธา ปาจาริยพงษ์ พนักงานบริษัทหลักทรัพย์เคที ซีมิโก้ จำกัด น.ส.ธีรนันต์ วิภูชนันธ์ อายุ 43 ปี กรรมการบริหารบริษัทหลักทรัพย์ยูบีเอส (ประเทศไทย) จำกัด และนายสมเจตน์ อิทธิวรกุล อายุ 38 ปี เจ้าของโต๊ะสนุ๊กเกอร์แห่งหนึ่งในชลบุรี

    ล่าสุดเมื่อเวลา 17.00 น. วันที่ 18 พฤศจิกายน พล.ต.ต.เกรียงศักดิ์ อรุณศรีโสภณ ผบก.ปอท. และพ.ต.อ.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รอง ผบก.ปอท. ได้นำกำลังเจ้าหน้าที่ บก.ปอท.เข้าจับกุมตัว พญ.ทัศพร รัตน์วงศา อายุ 42 ปี แพทย์รังสีวิทยา โรงพยาบาลธนบุรี ซึ่งตกเป็นผู้ต้องหากระทำความผิดตามมาตรา 14 พ.ร.บ.เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความเสียหายปี 2550 ข้อหานำเข้าข้อมูลอื่นและเผยแพร่ข้อมูลอันเป็นเท็จ ทำให้ประชาชนหลงเชื่อก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงต่อประเทศ โดยมีพฤติกรรมไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ ปล่อยข่าวให้เกิดความเสื่อมเสีย มีโทษจำ 5 ปี ปรับ 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ โดยสามารถจับกุมตัวได้ขณะกำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ใน รพ.ธนบุรี ถนนตากสิน แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กทม.

    จากการสอบสวนเบื้องต้น พญ.ทัศพร ยอมรับว่า เคยโพสต์ข้อความมิบังควรลงในเว็บบอร์ดจริง แต่ไม่มีเจตนาจะมุ่งร้ายต่อสถาบันเบื้องสูง เจ้าหน้าที่จึงควบคุมตัวไปตรวจค้นที่ห้องพัก ภายในรอยัลปาร์ค คอนโดมิเนียม ภายในซอยพหลโยธิน 8 พบคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค 1 เครื่อง จึงยึดไว้เป็นของกลาง ก่อนนำตัวผู้ต้องหาส่งพนักงานสอบสวนเพื่อดำเนินการตามกฎหมาย

    พ.ต.อ.พิสิษฐ์ เปิดเผยว่า การจับกุมในครั้งนี้สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ได้พบข้อมูลเกี่ยวกับข้อความอันมิบังควรที่ พญ.ทัศพร โพสต์ลงบนเว็บบอร์ด จึงรวบรวมพยานหลักฐานติดตามไปจับกุมได้ภายในโรงพยาบาล เบื้องต้นทางผู้บังคับบัญชาได้ทำการสอบปากคำผู้ต้องหาร่วมกับ นายอารีย์ จิวรรักษ์ ผอ.สำนักการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ แล้วคาดว่าน่าจะอนุญาตให้ประกันตัวออกไปเหมือนรายอื่นๆ ที่เคยถูกจับกุมมาก่อนหน้านี้ แต่จะต้องถูกควบคุมบริเวณไม่ให้เดินทางออกนอกประเทศไทย ส่วนจะถูกแจ้งข้อหาอื่นๆ เพิ่มเติมหรือไม่นั้น หลังจากนี้เป็นหน้าที่ของกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) และกระทรวงไอซีที ที่จะดำเนินการหาพยานและหลักฐานมาดำเนินการต่อไป

    ขณะที่ พล.ต.ต.เกรียงศักดิ์ กล่าวว่า เบื้องต้นได้แจ้งข้อกล่าวหากับพญ.ทัศพร ในความผิดเกี่ยวกับพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ก่อให้เกิดความเสียหายปี 2550 โดยนำข้อมูลโพสต์เข้าไปทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ยึดเอาคอมพิวเตอร์ของผู้ต้องหามาตรวจสอบ ว่าจะมีผู้ใดเกี่ยวข้องอีกบ้าง หากพบมีผู้เกี่ยวข้องก็จะออกหมายจับเพิ่มเติมต่อไป ซึงตอนี้ยังไม่มีการออกหมายจับใคร ต้องรอผลการตรวจสอบหลักฐานอีกครั้ง.
    อ้างอิง
    http://www.komchadluek.net/news/crime/37873
    นางสาวศศิวิมล เลี้ยงประยูร ชั้นม.6/9 เลขที่26

  23. ข่าวที่(2) มีความผิดมาตรา14และ341
    แต่งเรื่องลงเฟซบุ๊กหลอกเงินชาวบ้าน หนุ่มอ้าง 2 พี่น้องป่วย-พ่อแม่ตาย
    หาเงินทางลัด! หนุ่มกระบี่วัย 39 ปีแต่งเรื่องเศร้า อ้างพบ 2 พี่น้องพ่อแม่ตาย ต้องขอข้าววัดกินแถมยังเจ็บป่วย เปิดช่องขอรับบริจาคเงิน ขณะที่คนหลงเชื่อโอนเงินให้ พร้อมบอกให้ พม.ช่วยเหลือ ปรากฏเรื่องแดง 2 พี่น้องไม่มีตัวตน เมื่อวันที่ 29 ก.ค. 59 นายกิตติ อินทรกุล พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดกระบี่ พ.ต.ต.นพดล กล่อมพงษ์ สว.กองกำกับการสืบสวน ตำรวจภูธรจังหวัดกระบี่ เชิญตัวนายพรหมมินทร์ ถิ่นหนองจิก อายุ 39 ปี ซึ่งมีสภาพร่างกายเป็นอัมพฤกษ์ หลังมีผู้เสียหายแจ้งทางโทรศัพท์ให้สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จ.กระบี่ เข้าช่วยเหลือเด็ก 2 คน พี่น้องที่กำลังป่วย และผู้เสียหายได้โอนเงินไปช่วยเหลือแล้วหลายพันบาท เบื้องต้นทางเจ้าหน้าที่ได้ยึดโทรศัพท์มือถือและเก็บข้อมูลการสนทนากับผู้เสียหายหลายคนที่หลงเชื่อโอนเงินให้กับนายพรหมมินทร์ ไว้และรอให้มาแจ้งความเพื่อเอาผิดในฐานฉ้อโกง หลังจากนั้นได้ทำบันทึกก่อนปล่อยตัวชั่วคราว เนื่องจากนายพรหมมินทร์ ให้การยอมรับว่า เป็นผู้กระทำผิดจริงนายกิตติ กล่าวว่า กรณีดังกล่าวนี้เกิดขึ้นเนื่องจากมีผู้เสียหายบ้านอยู่ จ.ชลบุรี รายหนึ่ง ได้โอนเงินช่วยเหลือเด็ก 2 คนพี่น้องแล้วโทรแจ้งให้ทางสำนักงานฯเข้าให้การช่วยเหลือเด็ก หลังติดต่อกันทางเฟซบุ๊ก ซึ่งในเรื่องคือมีเด็ก 2 คนพี่น้องอายุ 8 ขวบ และ 13 ปี คนพี่เป็นผู้ชาย ส่วนน้องเป็นหญิงพ่อแม่ตายอาศัยอยู่ในบ้าน 2 คน และไม่มีเงินใช้จ่าย ต้องไปขอข้าวที่วัดกิน และขณะนี้ทั้ง 2 คนก็มีอาการป่วย หลังทราบเรื่องทาง พมจ.กระบี่ ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกไปตามหาแต่ไม่พบตัว จึงได้แจ้งทางกองกำกับการสืบสวนให้ช่วยสืบสวนจนทราบว่าผู้ใช้เฟซบุ๊กดังกล่าวคือนายพรหมมินทร์ จึงตามไปควบคุมตัวมาสอบสวนดังกล่าว ด้าน พ.ต.ต.นพดล กล่าวว่า กรณีที่เกิดขึ้นนั้นนายพรหมมินทร์ ได้สร้างเรื่องขึ้นมาจนมีผู้หลงเชื่อโอนเงินมาให้หลายครั้ง ขณะนี้จึงต้องรอให้ทางผู้เสียหายมานายพรหมมินทร์ ได้สร้างเรื่องขึ้นมาจนมีผู้หลงเชื่อโอนเงินมาให้หลายครั้ง ขณะนี้จึงต้องรอให้ทางผู้เสียหายมามาแจ้งความเพื่อเอาผิดในฐานฉ้อโกง และความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ต่อไป จากการตรวจสอบประวัติพบว่า นายพรหมมินทร์เพื่อเอาผิดในฐานฉ้อโกง และความผิดทาง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ต่อไป จากการตรวจสอบประวัติพบว่า นายพรหมมินทร์ถูกแจ้งความและถูกจับกุมฐานฉ้อโกงมาแล้ว 3 คดี เรื่องอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล ซึ่งจะนัดตัดสินคดีแรกในวันที่ 4 ส.ค.นี้ ทั้งนี้ ขอฝากเตือนประชาชน อย่างได้หลงเชื่อควรตรวจสอบข้อมูลให้รอบด้านก่อนการช่วยเหลือใดๆ ในโลกโซเชียล.
    อ้างอิง
    http://www.thairath.co.th/content/676381
    นางสาวธัญญลักษณ์ เก่งธัญการ ชั้นม.6/9 เลขที่36

  24. นางสาวธัญญลักษณ์ เก่งธัญการ ชั้นม.6/9 เลขที่36

    ข่าวที่(1) มีความผิดมาตรา14
    ‘รับจ้างทำการบ้าน’ ออนไลน์ ส่อไร้ช่องกฎหมายเอาผิด!
    ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายคอมฯ เผยหากต้องการเอาผิด “รับจ้างทำการบ้าน” ในโลกออนไลน์ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อาจไม่เข้าข่าย ชี้ประกาศรับจ้างในเว็บไซต์จะต้องไม่ทำจริง และหลอกเอาเงินผู้จ้าง จึงจะเข้าข่ายความผิด…
    จากกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือเกี่ยวกับปัญหาการ “รับจ้างทำการบ้าน” ในโลกออนไลน์ และพบว่ามีรายเกี่ยวข้องกว่า 1.5 ล้านรายการ พร้อมระบุว่า จากการตรวจสอบรายละเอียดในเรื่องกฎหมายที่จะเอาผิดต่อผู้ที่เปิดเว็บไซต์รับจ้างทำการบ้าน ในกรณีบุคคลทั่วไป ถือว่า มีความผิดเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ตามมาตร 14 (1) ด้วยการนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลปลอมหรือเป็นเท็จ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน และผลลัพธ์เกิดความเสียหายแก่นักเรียน ผู้ปกครอง สถานศึกษา หรือส่วนราชการ และมาตรา 14 (3) กรณีนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร นอกจากนี้ หากผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการครู นอกจากจะมีความผิดทางอาญาเหมือนกับบุคคลทั่วไป ยังมีความผิดทางวินัยและจรรยาบรรณ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูแลตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ด้วยอ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ เปิดเผยกับ “ไทยรัฐออนไลน์” ว่า การรับจ้างทำการบ้าน หรือรายงานในอินเทอร์เน็ต ไม่ถือว่าเข้าาข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ ตามมาตรา 14 (1) เพราะหากจะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ จะต้องเป็นการกล่าวอ้างความเท็จ หรือข้อมูลปลอม ว่ารับทำจริง แต่แท้จริงแล้วหลอกลวงเอาเงินผู้จ้างทำการบ้าน แต่หากทำตามประกาศจริง ก็ถือว่าไม่ผิด นอกจากนี้ ในมาตรา 14 (3) ที่ระบุว่า อาจเข้าข่ายกระทบความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรนั้น คิดว่าไม่เข้าข่ายเช่นกัน เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งนี้ การรับจ้างทำการบ้านออนไลน์นั้น ไม่เข้าข่ายกระทำความผิด ส่วนกรณีเอาผิดตาม พ.ร.บ.ระเบียบราชการฯ นั้นถือว่าทำได้ปกติ เพราะเป็นเรื่องของวินัย และจรรยาบรรณของครูทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่า ในกรณีนี้การรับจ้างทำการบ้านในสังคมออนไลน์ อาจไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ แต่อาจส่งผลกระทบต่อนักเรียนในเรื่องของจริยธรรมนั้น จะมีช่องทางทางกฎหมายเข้าควบคุมได้หรือไม่ อ.ไพบูลย์ ระบุว่า กฎหมายนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ทุกอย่าง ซึ่งในต่างประเทศจะมีแนวทางว่า จะต้องมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางออนไลน์ในแต่ละเรื่อง มาควบคุมกันเอง และมีมาตรฐานแซงชั่น ก่อนจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายยกตัวอย่าง คือ รัฐบาลนั้นไม่สามารถเข้าไปดูได้ทุกเรื่อง ซึ่งอาจให้แต่ละโรงเรียนตั้งตัวแทนขึ้นมา และดูแลปกครองกันเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ.
    อ้างอิง : http://www.thairath.co.th/content/447227
    นางสาวธัญญลักษณ์ เก่งธัญการ ชั้นม.6/9 เลขที่36

  25. นางสาวธัญญลักษณ์ เก่งธัญการ ชั้นม.6/9 เลขที่36

    ข่าวที่(1) มีความผิดมาตรา14
    ‘รับจ้างทำการบ้าน’ ออนไลน์ ส่อไร้ช่องกฎหมายเอาผิด!
    ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายคอมฯ เผยหากต้องการเอาผิด “รับจ้างทำการบ้าน” ในโลกออนไลน์ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อาจไม่เข้าข่าย ชี้ประกาศรับจ้างในเว็บไซต์จะต้องไม่ทำจริง และหลอกเอาเงินผู้จ้าง จึงจะเข้าข่ายความผิด…
    จากกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือเกี่ยวกับปัญหาการ “รับจ้างทำการบ้าน” ในโลกออนไลน์ และพบว่ามีรายเกี่ยวข้องกว่า 1.5 ล้านรายการ พร้อมระบุว่า จากการตรวจสอบรายละเอียดในเรื่องกฎหมายที่จะเอาผิดต่อผู้ที่เปิดเว็บไซต์รับจ้างทำการบ้าน ในกรณีบุคคลทั่วไป ถือว่า มีความผิดเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ตามมาตร 14 (1) ด้วยการนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลปลอมหรือเป็นเท็จ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน และผลลัพธ์เกิดความเสียหายแก่นักเรียน ผู้ปกครอง สถานศึกษา หรือส่วนราชการ และมาตรา 14 (3) กรณีนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร นอกจากนี้ หากผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการครู นอกจากจะมีความผิดทางอาญาเหมือนกับบุคคลทั่วไป ยังมีความผิดทางวินัยและจรรยาบรรณ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูแลตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ด้วยอ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ เปิดเผยกับ “ไทยรัฐออนไลน์” ว่า การรับจ้างทำการบ้าน หรือรายงานในอินเทอร์เน็ต ไม่ถือว่าเข้าาข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ ตามมาตรา 14 (1) เพราะหากจะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ จะต้องเป็นการกล่าวอ้างความเท็จ หรือข้อมูลปลอม ว่ารับทำจริง แต่แท้จริงแล้วหลอกลวงเอาเงินผู้จ้างทำการบ้าน แต่หากทำตามประกาศจริง ก็ถือว่าไม่ผิด นอกจากนี้ ในมาตรา 14 (3) ที่ระบุว่า อาจเข้าข่ายกระทบความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรนั้น คิดว่าไม่เข้าข่ายเช่นกัน เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งนี้ การรับจ้างทำการบ้านออนไลน์นั้น ไม่เข้าข่ายกระทำความผิด ส่วนกรณีเอาผิดตาม พ.ร.บ.ระเบียบราชการฯ นั้นถือว่าทำได้ปกติ เพราะเป็นเรื่องของวินัย และจรรยาบรรณของครูทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่า ในกรณีนี้การรับจ้างทำการบ้านในสังคมออนไลน์ อาจไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ แต่อาจส่งผลกระทบต่อนักเรียนในเรื่องของจริยธรรมนั้น จะมีช่องทางทางกฎหมายเข้าควบคุมได้หรือไม่ อ.ไพบูลย์ ระบุว่า กฎหมายนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ทุกอย่าง ซึ่งในต่างประเทศจะมีแนวทางว่า จะต้องมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางออนไลน์ในแต่ละเรื่อง มาควบคุมกันเอง และมีมาตรฐานแซงชั่น ก่อนจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายยกตัวอย่าง คือ รัฐบาลนั้นไม่สามารถเข้าไปดูได้ทุกเรื่อง ซึ่งอาจให้แต่ละโรงเรียนตั้งตัวแทนขึ้นมา และดูแลปกครองกันเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ.
    อ้างอิง : http://www.thairath.co.th/content/447227
    นางสาวธัญญลักษณ์ เก่งธัญการ ชั้นม.6/9 เลขที่36

    • นางสาวธัญญลักษณ์ เก่งธัญการ ชั้นม.6/9 เลขที่36

      ข่าวที่(1) มีความผิดมาตรา14
      ‘รับจ้างทำการบ้าน’ ออนไลน์ ส่อไร้ช่องกฎหมายเอาผิด!
      ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายคอมฯ เผยหากต้องการเอาผิด “รับจ้างทำการบ้าน” ในโลกออนไลน์ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อาจไม่เข้าข่าย ชี้ประกาศรับจ้างในเว็บไซต์จะต้องไม่ทำจริง และหลอกเอาเงินผู้จ้าง จึงจะเข้าข่ายความผิด…
      จากกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือเกี่ยวกับปัญหาการ “รับจ้างทำการบ้าน” ในโลกออนไลน์ และพบว่ามีรายเกี่ยวข้องกว่า 1.5 ล้านรายการ พร้อมระบุว่า จากการตรวจสอบรายละเอียดในเรื่องกฎหมายที่จะเอาผิดต่อผู้ที่เปิดเว็บไซต์รับจ้างทำการบ้าน ในกรณีบุคคลทั่วไป ถือว่า มีความผิดเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ตามมาตร 14 (1) ด้วยการนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลปลอมหรือเป็นเท็จ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน และผลลัพธ์เกิดความเสียหายแก่นักเรียน ผู้ปกครอง สถานศึกษา หรือส่วนราชการ และมาตรา 14 (3) กรณีนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร นอกจากนี้ หากผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการครู นอกจากจะมีความผิดทางอาญาเหมือนกับบุคคลทั่วไป ยังมีความผิดทางวินัยและจรรยาบรรณ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูแลตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ด้วยอ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ เปิดเผยกับ “ไทยรัฐออนไลน์” ว่า การรับจ้างทำการบ้าน หรือรายงานในอินเทอร์เน็ต ไม่ถือว่าเข้าาข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ ตามมาตรา 14 (1) เพราะหากจะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ จะต้องเป็นการกล่าวอ้างความเท็จ หรือข้อมูลปลอม ว่ารับทำจริง แต่แท้จริงแล้วหลอกลวงเอาเงินผู้จ้างทำการบ้าน แต่หากทำตามประกาศจริง ก็ถือว่าไม่ผิด นอกจากนี้ ในมาตรา 14 (3) ที่ระบุว่า อาจเข้าข่ายกระทบความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรนั้น คิดว่าไม่เข้าข่ายเช่นกัน เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งนี้ การรับจ้างทำการบ้านออนไลน์นั้น ไม่เข้าข่ายกระทำความผิด ส่วนกรณีเอาผิดตาม พ.ร.บ.ระเบียบราชการฯ นั้นถือว่าทำได้ปกติ เพราะเป็นเรื่องของวินัย และจรรยาบรรณของครูทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่า ในกรณีนี้การรับจ้างทำการบ้านในสังคมออนไลน์ อาจไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ แต่อาจส่งผลกระทบต่อนักเรียนในเรื่องของจริยธรรมนั้น จะมีช่องทางทางกฎหมายเข้าควบคุมได้หรือไม่ อ.ไพบูลย์ ระบุว่า กฎหมายนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ทุกอย่าง ซึ่งในต่างประเทศจะมีแนวทางว่า จะต้องมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางออนไลน์ในแต่ละเรื่อง มาควบคุมกันเอง และมีมาตรฐานแซงชั่น ก่อนจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายยกตัวอย่าง คือ รัฐบาลนั้นไม่สามารถเข้าไปดูได้ทุกเรื่อง ซึ่งอาจให้แต่ละโรงเรียนตั้งตัวแทนขึ้นมา และดูแลปกครองกันเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ.
      อ้างอิง : http://www.thairath.co.th/content/447227
      นางสาวธัญญลักษณ์ เก่งธัญการ ชั้นม.6/9 เลขที่36

  26. นางสาวธัญญลักษณ์ เก่งธัญการ ชั้นม.6/9 เลขที่36

    ข่าวที่(1) มีความผิดมาตรา14
    ‘รับจ้างทำการบ้าน’ ออนไลน์ ส่อไร้ช่องกฎหมายเอาผิด!
    ผู้เชี่ยวชาญกฎหมายคอมฯ เผยหากต้องการเอาผิด “รับจ้างทำการบ้าน” ในโลกออนไลน์ ตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ อาจไม่เข้าข่าย ชี้ประกาศรับจ้างในเว็บไซต์จะต้องไม่ทำจริง และหลอกเอาเงินผู้จ้าง จึงจะเข้าข่ายความผิด…
    จากกรณีที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้หารือเกี่ยวกับปัญหาการ “รับจ้างทำการบ้าน” ในโลกออนไลน์ และพบว่ามีรายเกี่ยวข้องกว่า 1.5 ล้านรายการ พร้อมระบุว่า จากการตรวจสอบรายละเอียดในเรื่องกฎหมายที่จะเอาผิดต่อผู้ที่เปิดเว็บไซต์รับจ้างทำการบ้าน ในกรณีบุคคลทั่วไป ถือว่า มีความผิดเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ตามมาตร 14 (1) ด้วยการนำข้อมูลดังกล่าวเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ด้วยข้อมูลปลอมหรือเป็นเท็จ ไม่ว่าจะทั้งหมดหรือบางส่วน และผลลัพธ์เกิดความเสียหายแก่นักเรียน ผู้ปกครอง สถานศึกษา หรือส่วนราชการ และมาตรา 14 (3) กรณีนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักร นอกจากนี้ หากผู้กระทำผิดเป็นข้าราชการครู นอกจากจะมีความผิดทางอาญาเหมือนกับบุคคลทั่วไป ยังมีความผิดทางวินัยและจรรยาบรรณ ตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูแลตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547 ด้วยอ.ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ เปิดเผยกับ “ไทยรัฐออนไลน์” ว่า การรับจ้างทำการบ้าน หรือรายงานในอินเทอร์เน็ต ไม่ถือว่าเข้าาข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ ตามมาตรา 14 (1) เพราะหากจะเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.นี้ จะต้องเป็นการกล่าวอ้างความเท็จ หรือข้อมูลปลอม ว่ารับทำจริง แต่แท้จริงแล้วหลอกลวงเอาเงินผู้จ้างทำการบ้าน แต่หากทำตามประกาศจริง ก็ถือว่าไม่ผิด นอกจากนี้ ในมาตรา 14 (3) ที่ระบุว่า อาจเข้าข่ายกระทบความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรนั้น คิดว่าไม่เข้าข่ายเช่นกัน เพราะกรณีนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษา ทั้งนี้ การรับจ้างทำการบ้านออนไลน์นั้น ไม่เข้าข่ายกระทำความผิด ส่วนกรณีเอาผิดตาม พ.ร.บ.ระเบียบราชการฯ นั้นถือว่าทำได้ปกติ เพราะเป็นเรื่องของวินัย และจรรยาบรรณของครูทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวถามว่า ในกรณีนี้การรับจ้างทำการบ้านในสังคมออนไลน์ อาจไม่เข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ แต่อาจส่งผลกระทบต่อนักเรียนในเรื่องของจริยธรรมนั้น จะมีช่องทางทางกฎหมายเข้าควบคุมได้หรือไม่ อ.ไพบูลย์ ระบุว่า กฎหมายนั้นไม่สามารถแก้ไขได้ทุกอย่าง ซึ่งในต่างประเทศจะมีแนวทางว่า จะต้องมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทางออนไลน์ในแต่ละเรื่อง มาควบคุมกันเอง และมีมาตรฐานแซงชั่น ก่อนจะนำไปเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายยกตัวอย่าง คือ รัฐบาลนั้นไม่สามารถเข้าไปดูได้ทุกเรื่อง ซึ่งอาจให้แต่ละโรงเรียนตั้งตัวแทนขึ้นมา และดูแลปกครองกันเอง โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐ.

  27. นางสาววารุณี อยู่รอง

    ข่าวที่ 2
    มาตรา 14 และ 15
    เรื่อง จำคุกเว็บมาสเตอร์ประชาไท ผิด พรบ.คอมฯ ปล่อยหมิ่นสถาบัน
    ศาลอาญาพิพากษาจำคุกผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท 8 เดือน ฐานทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปล่อยให้มีการโพสต์หมิ่นสถาบัน
    ที่ห้องพิจารณาคดี 910 ศาลอาญา เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 พ.ค. ศาลอ่านคำพิพากษาคดี ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8เป็นโจทก์ ฟ้อง น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท เป็นจำเลย ในความผิดฐาน กระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 และ 15
    โจทก์ฟ้องว่าระหว่างวันที่ 15 เม.ย. – 3 พ.ย. 51 เวลากลางคืน ติดต่อกันวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์โดยเป็นผู้ดูแล(Web master) เว็บไซต์ประชาไท ดังกล่าว ได้จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการดำเนินการนำข้อความเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของจำเลย อันเป็นข้อมูลมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
    เหตุเกิดที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แขวงจอมพล เขตจตุจักร แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. และทั่วราชอาณาจักรไทย เกี่ยวพันกันศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ฐานยินยอมให้มีการลงข้อความที่หมิ่นสถาบันลงในเว็บไซต์ ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องดูแล พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ
    ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 15 ประกอบมาตรา 14 อนุ 3 ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 30,000 บาทคำให้การจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 8 เดือน ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกรอการลงโทษมีกำหนด 1 ปี

    อ้างอิง http://www.thairath.co.th/content/264472

    นางสาววารุณี อยู่รอง เลขที่ 28

  28. นางสาววารุณี อยู่รอง

    ข่าวที่ 2
    เรื่องประยุทธ์ ย้ำ 8 ผู้ต้องหาผิด พ.ร.บ.คอมฯ ผิดมาตรา 112 เปล่าจับเพราะหมิ่นตัวเอง
    ประยุทธ์ ยัน ไม่ได้จับกุม 8 ผู้ต้องหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะล้อเลียนตัวเอง แต่ทำผิด มาตรา 112 กับ 116 ปัดซ้อมผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าว
    เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวตอนหนึ่งหลังจากประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการจับกุมผู้ต้องหา 8 คนที่กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ว่า การจับกุมไม่ได้จับเพราะล้อเลียนหรือหมิ่นประมาทตน แต่เพราะในชั้นสอบสวนมีความผิดตาม มาตรา 112 และ 116 เรื่องการหมิ่นสถาบัน ดังนั้นอย่าไปพูดกล่าวหาตนอย่างไม่เป็นธรรม และก็ไม่มีการซ้อมผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าว
    ขณะเดียวกัน คนที่เรียกร้องก็หน้าเดิม ๆ ก่อนหน้านี้ก็เคยจับกุม เรียกคุย และทำความเข้าใจ แล้วปล่อยตัวกลับไป สุดท้ายก็กลับมาทำแบบเดิมอีก
    นอกจากนี้ พล.อ. ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โพสต์เฟซบุ๊กเตือนเรื่องการใช้อำนาจว่า ตนไม่ได้อะไรกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ตนให้เกียรติเพราะเป็นผู้หญิง แต่เรื่องกฎหมาย ก็เป็นเรื่องของกฎหมาย ตนให้โอกาสทุกอย่าง อย่าเอาสิ่งที่ตนพูดมาปะปนกัน
    ภาพและข้อมูลจาก สำนักข่าว INN
    อ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/136263
    นางสาววารุณี อยู่รอง เลขที่ 28

  29. นางสาววารุณี อยู่รอง

    ข่าวที่ 2
    มาตรา 112
    เรื่อง ประยุทธ์ ย้ำ 8 ผู้ต้องหาผิด พ.ร.บ.คอมฯ ผิดมาตรา 112 เปล่าจับเพราะหมิ่นตัวเอง
    ประยุทธ์ ยัน ไม่ได้จับกุม 8 ผู้ต้องหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะล้อเลียนตัวเอง แต่ทำผิด มาตรา 112 กับ 116 ปัดซ้อมผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าว
    เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวตอนหนึ่งหลังจากประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการจับกุมผู้ต้องหา 8 คนที่กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ว่า การจับกุมไม่ได้จับเพราะล้อเลียนหรือหมิ่นประมาทตน แต่เพราะในชั้นสอบสวนมีความผิดตาม มาตรา 112 และ 116 เรื่องการหมิ่นสถาบัน ดังนั้นอย่าไปพูดกล่าวหาตนอย่างไม่เป็นธรรม และก็ไม่มีการซ้อมผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าว
    ขณะเดียวกัน คนที่เรียกร้องก็หน้าเดิม ๆ ก่อนหน้านี้ก็เคยจับกุม เรียกคุย และทำความเข้าใจ แล้วปล่อยตัวกลับไป สุดท้ายก็กลับมาทำแบบเดิมอีก
    นอกจากนี้ พล.อ. ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โพสต์เฟซบุ๊กเตือนเรื่องการใช้อำนาจว่า ตนไม่ได้อะไรกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ตนให้เกียรติเพราะเป็นผู้หญิง แต่เรื่องกฎหมาย ก็เป็นเรื่องของกฎหมาย ตนให้โอกาสทุกอย่าง อย่าเอาสิ่งที่ตนพูดมาปะปนกัน
    ภาพจาก สำนักข่าว INN
    อ้างอิงhttp://hilight.kapook.com/view/136263
    นางสาววารุณี อยู่รอง

  30. นางสาววารุณี อยู่รอง

    ข่าวที่ 1
    มาตรา 15 และ 20
    เรื่อง ไอซีที แจงข้อเท็จจริงเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ
    โฆษกกระทรวงไอซีที ชี้แจงกรณีมีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนไม่ตรงข้อเท็จจริงและเจตนารมณ์การเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ย้ำหลักการ “ไม่รู้ ไม่ผิด” และ “ผู้ให้บริการเป็นผู้พิสูจน์” ตามมาตรฐานสากล
    นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ โฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า “เนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้ได้มีการประกาศใช้มาเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว ส่งผลให้เนื้อหาบางมาตราของกฎหมายฉบับดังกล่าวเกิดความล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน จึงเป็นเหตุผลสำคัญของการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. โดยกระทรวงไอซีทีนำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งความคืบหน้าของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาร่างกฎหมายในบางมาตราที่อาจไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของการนำเสนอร่าง
    กฎหมายฉบับดังกล่าวนี้
    สำหรับหลักการสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้คือ “ไม่รู้ ไม่ผิด” เนื้อหาของร่างกฎหมายในมาตรา 15 ระบุว่า “ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิด…” หลักการคือให้เกิดความชัดเจนในการตีความ เน้นย้ำว่า การจะเอาผิดกับผู้ให้บริการได้ ต้องเป็นกรณีผู้ให้บริการรู้ว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของตน เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิด อีกทั้งยังเพิ่มเติมหลักการให้ผู้ให้บริการหรือผู้เป็นเจ้าของเครือข่าย หากสามารถพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดดังกล่าวและได้ปฏิบัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือนในการระงับหรือนำข้อมูลออกจากระบบแล้ว ถือได้ว่าไม่มีความผิดตามมาตราดังกล่าวนี้ ภายใต้หลักการคือ “ผู้ถูกกล่าวหา เป็นผู้พิสูจน์ตนเอง” ว่าตนเองได้กระทำการตามกฏระเบียบของรัฐแล้ว ก็ย่อมพ้นผิด อันเป็นช่องทางให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือกับรัฐในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดดังกล่าว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ให้บริการในการประกอบกิจการ เนื่องจากการกำหนดผู้ให้บริการสามารถแสดงหลักฐานว่าตนได้ทำตามกฏและระเบียบแล้ว เนื่องจากผู้ให้บริการอยู่ใกล้ชิดกับข้อเท็จจริงมากกว่าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งผู้ให้บริการและประชาชนอาจไม่ไว้วางใจ
    ส่วนมาตรา 20 เนื้อหากฎหมายระบุว่า “ในกรณีที่มีการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรค 1-3 นั้นเป็นความผิดตามมูลฐานเดิมซึ่งถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอยู่แล้ว” ส่วนที่บางคนไม่เข้าใจคือข้อความตามวรรค 4 ระบุว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน..” ยกตัวอย่างเช่น คลิปวีดิโอที่ปรากฏทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีเนื้อหาสอนให้คนฆ่าตัวตาย สอนให้ประกอบวัตถุระเบิด เนื้อหาดังกล่าวไม่เข้าข่ายที่เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ซึ่งไม่ควรที่จะปล่อยให้มีการเผยแพร่ในสังคมไทย สำหรับขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมาย จะมีคณะกรรมการกลั่นกรองที่รัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวน 5 คน ซึ่งอย่างน้อย 2 ใน 5 คน ต้องมาจากตัวแทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณา ซึ่งต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แล้วจึงเสนอเพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯอีกทอดหนึ่ง แล้วจึงยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์
    “จะเห็นว่า กรณีดังกล่าวผ่านการตรวจสอบ กลั่นกรองหลายขั้นตอน ทั้งจากคณะกรรมการกลั่นกรอง พนักงานเจ้าหน้าที่ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ โดยเฉพาะในขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณามีคำสั่งให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลนั้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวผ่านการตรวจสอบโดยศาลซึ่งทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของประชาชนอีกโสตหนึ่งมากกว่าการให้พนักงานทางปกครองดำเนินการโดยใช้ดุลยพินิจซึ่งเป็นที่มาของความไม่ไว้วางใจในการใช้บังคับกฎหมายนี้มานาน การดำเนินการเหล่านี้จึงผ่านกระบวนการยุติธรรมแบบสากล ไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้ดำเนินการตามลำพังแต่อย่างใด” นายฉัตรชัยฯ กล่าว
    อ้างอิงhttp://www.thairath.co.th/content/264472
    นางสาววารุณี อยู่รอง

  31. นางสาววารุณี อยู่รอง

    #ข่าวที่ 1

    มาตรา 112
    เรื่อง ประยุทธ์ ย้ำ 8 ผู้ต้องหาผิด พ.ร.บ.คอมฯ ผิดมาตรา 112 เปล่าจับเพราะหมิ่นตัวเอง

    ประยุทธ์ ยัน ไม่ได้จับกุม 8 ผู้ต้องหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะล้อเลียนตัวเอง แต่ทำผิด มาตรา 112 กับ 116 ปัดซ้อมผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าว

    เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวตอนหนึ่งหลังจากประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการจับกุมผู้ต้องหา 8 คนที่กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ว่า การจับกุมไม่ได้จับเพราะล้อเลียนหรือหมิ่นประมาทตน แต่เพราะในชั้นสอบสวนมีความผิดตาม มาตรา 112 และ 116 เรื่องการหมิ่นสถาบัน ดังนั้นอย่าไปพูดกล่าวหาตนอย่างไม่เป็นธรรม และก็ไม่มีการซ้อมผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าว

    ขณะเดียวกัน คนที่เรียกร้องก็หน้าเดิม ๆ ก่อนหน้านี้ก็เคยจับกุม เรียกคุย และทำความเข้าใจ แล้วปล่อยตัวกลับไป สุดท้ายก็กลับมาทำแบบเดิมอีก

    นอกจากนี้ พล.อ. ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โพสต์เฟซบุ๊กเตือนเรื่องการใช้อำนาจว่า ตนไม่ได้อะไรกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ตนให้เกียรติเพราะเป็นผู้หญิง แต่เรื่องกฎหมาย ก็เป็นเรื่องของกฎหมาย ตนให้โอกาสทุกอย่าง อย่าเอาสิ่งที่ตนพูดมาปะปนกัน

    ภาพและข้อมูลจาก สำนักข่าว INN

    อ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/136263

    #ข่าวที่ 2
    เรื่อง ไอซีที แจงข้อเท็จจริงเนื้อหาร่าง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 15 และ 20

    โฆษกกระทรวงไอซีที ชี้แจงกรณีมีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนไม่ตรงข้อเท็จจริงและเจตนารมณ์การเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ย้ำหลักการ “ไม่รู้ ไม่ผิด” และ “ผู้ให้บริการเป็นผู้พิสูจน์” ตามมาตรฐานสากล

    นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ โฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า “เนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้ได้มีการประกาศใช้มาเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว ส่งผลให้เนื้อหาบางมาตราของกฎหมายฉบับดังกล่าวเกิดความล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน จึงเป็นเหตุผลสำคัญของการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. โดยกระทรวงไอซีทีนำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เพื่อให้สามารถรองรับสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งความคืบหน้าของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาร่างกฎหมายในบางมาตราที่อาจไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของการนำเสนอร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้

    สำหรับหลักการสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้คือ “ไม่รู้ ไม่ผิด” เนื้อหาของร่างกฎหมายในมาตรา 15 ระบุว่า “ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิด…” หลักการคือให้เกิดความชัดเจนในการตีความ เน้นย้ำว่า การจะเอาผิดกับผู้ให้บริการได้ ต้องเป็นกรณีผู้ให้บริการรู้ว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของตน เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิด อีกทั้งยังเพิ่มเติมหลักการให้ผู้ให้บริการหรือผู้เป็นเจ้าของเครือข่าย หากสามารถพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดดังกล่าวและได้ปฏิบัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือนในการระงับหรือนำข้อมูลออกจากระบบแล้ว ถือได้ว่าไม่มีความผิดตามมาตราดังกล่าวนี้ ภายใต้หลักการคือ “ผู้ถูกกล่าวหา เป็นผู้พิสูจน์ตนเอง” ว่าตนเองได้กระทำการตามกฏระเบียบของรัฐแล้ว ก็ย่อมพ้นผิด อันเป็นช่องทางให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือกับรัฐในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดดังกล่าว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ให้บริการในการประกอบกิจการ เนื่องจากการกำหนดผู้ให้บริการสามารถแสดงหลักฐานว่าตนได้ทำตามกฏและระเบียบแล้ว เนื่องจากผู้ให้บริการอยู่ใกล้ชิดกับข้อเท็จจริงมากกว่าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งผู้ให้บริการและประชาชนอาจไม่ไว้วางใจ

    ส่วนมาตรา 20 เนื้อหากฎหมายระบุว่า “ในกรณีที่มีการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรค 1-3 นั้นเป็นความผิดตามมูลฐานเดิมซึ่งถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอยู่แล้ว” ส่วนที่บางคนไม่เข้าใจคือข้อความตามวรรค 4 ระบุว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน..” ยกตัวอย่างเช่น คลิปวีดิโอที่ปรากฏทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีเนื้อหาสอนให้คนฆ่าตัวตาย สอนให้ประกอบวัตถุระเบิด เนื้อหาดังกล่าวไม่เข้าข่ายที่เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ซึ่งไม่ควรที่จะปล่อยให้มีการเผยแพร่ในสังคมไทย สำหรับขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมาย จะมีคณะกรรมการกลั่นกรองที่รัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวน 5 คน ซึ่งอย่างน้อย 2 ใน 5 คน ต้องมาจากตัวแทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็นผู้พิจารณา ซึ่งต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่แล้วจึงเสนอเพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯอีกทอดหนึ่ง แล้วจึงยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์

    “จะเห็นว่า กรณีดังกล่าวผ่านการตรวจสอบ กลั่นกรองหลายขั้นตอน ทั้งจากคณะกรรมการกลั่นกรอง พนักงานเจ้าหน้าที่ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ โดยเฉพาะในขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณามีคำสั่งให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลนั้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวผ่านการตรวจสอบโดยศาลซึ่งทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของประชาชนอีกโสตหนึ่งมากกว่าการให้พนักงานทางปกครองดำเนินการโดยใช้ดุลยพินิจซึ่งเป็นที่มาของความไม่ไว้วางใจในการใช้บังคับกฎหมายนี้มานาน การดำเนินการเหล่านี้จึงผ่านกระบวนการยุติธรรมแบบสากล ไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้ดำเนินการตามลำพังแต่อย่างใด” นายฉัตรชัยฯ กล่าว

    อ้างอิง http://www.mict.go.th/view/1/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%AF/1964

  32. นางสาววารุณี อยู่รอง

    #ข่าวที่ 1

    มาตรา 112
    เรื่อง ประยุทธ์ ย้ำ 8 ผู้ต้องหาผิด พ.ร.บ.คอมฯ ผิดมาตรา 112 เปล่าจับเพราะหมิ่นตัวเอง

    ประยุทธ์ ยัน ไม่ได้จับกุม 8 ผู้ต้องหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะล้อเลียนตัวเอง แต่ทำผิด มาตรา 112 กับ 116 ปัดซ้อมผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าว

    เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวตอนหนึ่งหลังจากประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการจับกุมผู้ต้องหา 8 คนที่กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ว่า การจับกุมไม่ได้จับเพราะล้อเลียนหรือหมิ่นประมาทตน แต่เพราะในชั้นสอบสวนมีความผิดตาม มาตรา 112 และ 116 เรื่องการหมิ่นสถาบัน ดังนั้นอย่าไปพูดกล่าวหาตนอย่างไม่เป็นธรรม และก็ไม่มีการซ้อมผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าว

    ขณะเดียวกัน คนที่เรียกร้องก็หน้าเดิม ๆ ก่อนหน้านี้ก็เคยจับกุม เรียกคุย และทำความเข้าใจ แล้วปล่อยตัวกลับไป สุดท้ายก็กลับมาทำแบบเดิมอีก

    นอกจากนี้ พล.อ. ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โพสต์เฟซบุ๊กเตือนเรื่องการใช้อำนาจว่า ตนไม่ได้อะไรกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ตนให้เกียรติเพราะเป็นผู้หญิง แต่เรื่องกฎหมาย ก็เป็นเรื่องของกฎหมาย ตนให้โอกาสทุกอย่าง อย่าเอาสิ่งที่ตนพูดมาปะปนกัน

    อ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/136263

    #ข่าวที่ 2

    มาตรา 14 และ
    เรื่อง จำคุกเว็บมาสเตอร์ประชาไท ผิด พรบ.คอมฯ ปล่อยหมิ่นสถาบัน

    ศาลอาญาพิพากษาจำคุกผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท 8 เดือน ฐานทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปล่อยให้มีการโพสต์หมิ่นสถาบัน
    ที่ห้องพิจารณาคดี 910 ศาลอาญา เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 พ.ค. ศาลอ่านคำพิพากษาคดี ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8เป็นโจทก์ ฟ้อง น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท เป็นจำเลย ในความผิดฐาน กระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 และ 15
    โจทก์ฟ้องว่าระหว่างวันที่ 15 เม.ย. – 3 พ.ย. 51 เวลากลางคืน ติดต่อกันวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์โดยเป็นผู้ดูแล(Web master) เว็บไซต์ประชาไท ดังกล่าว ได้จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการดำเนินการนำข้อความเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของจำเลย อันเป็นข้อมูลมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
    เหตุเกิดที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แขวงจอมพล เขตจตุจักร แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. และทั่วราชอาณาจักรไทย เกี่ยวพันกันศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ฐานยินยอมให้มีการลงข้อความที่หมิ่นสถาบันลงในเว็บไซต์ ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องดูแล พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ
    ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 15 ประกอบมาตรา 14 อนุ 3 ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 30,000 บาทคำให้การจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 8 เดือน ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกรอการลงโทษมีกำหนด 1 ปี

    ภาพและข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/content/264472

    นางสาววารุณี อยู่รอง เลขที่ 28

  33. นางสาววารุณี อยู่รอง

    #ข่าวที่ 1

    มาตรา 112
    เรื่อง ประยุทธ์ ย้ำ 8 ผู้ต้องหาผิด พ.ร.บ.คอมฯ ผิดมาตรา 112 เปล่าจับเพราะหมิ่นตัวเอง

    ประยุทธ์ ยัน ไม่ได้จับกุม 8 ผู้ต้องหาผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์เพราะล้อเลียนตัวเอง แต่ทำผิด มาตรา 112 กับ 116 ปัดซ้อมผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าว

    เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2559 พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้กล่าวตอนหนึ่งหลังจากประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการจับกุมผู้ต้องหา 8 คนที่กระทำผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ว่า การจับกุมไม่ได้จับเพราะล้อเลียนหรือหมิ่นประมาทตน แต่เพราะในชั้นสอบสวนมีความผิดตาม มาตรา 112 และ 116 เรื่องการหมิ่นสถาบัน ดังนั้นอย่าไปพูดกล่าวหาตนอย่างไม่เป็นธรรม และก็ไม่มีการซ้อมผู้ต้องหาอย่างที่เป็นข่าว

    ขณะเดียวกัน คนที่เรียกร้องก็หน้าเดิม ๆ ก่อนหน้านี้ก็เคยจับกุม เรียกคุย และทำความเข้าใจ แล้วปล่อยตัวกลับไป สุดท้ายก็กลับมาทำแบบเดิมอีก

    นอกจากนี้ พล.อ. ประยุทธ์ ได้กล่าวถึงนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่โพสต์เฟซบุ๊กเตือนเรื่องการใช้อำนาจว่า ตนไม่ได้อะไรกับนางสาวยิ่งลักษณ์ ตนให้เกียรติเพราะเป็นผู้หญิง แต่เรื่องกฎหมาย ก็เป็นเรื่องของกฎหมาย ตนให้โอกาสทุกอย่าง อย่าเอาสิ่งที่ตนพูดมาปะปนกัน

    ภาพและข้อมูลจาก สำนักข่าว INN

    อ้างอิง http://hilight.kapook.com/view/136263

    #ข่าวที่ 2

    มาตรา 14 และ
    เรื่อง จำคุกเว็บมาสเตอร์ประชาไท ผิด พรบ.คอมฯ ปล่อยหมิ่นสถาบัน

    ศาลอาญาพิพากษาจำคุกผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท 8 เดือน ฐานทำผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ปล่อยให้มีการโพสต์หมิ่นสถาบัน
    ที่ห้องพิจารณาคดี 910 ศาลอาญา เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 30 พ.ค. ศาลอ่านคำพิพากษาคดี ที่พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 8เป็นโจทก์ ฟ้อง น.ส.จีรนุช เปรมชัยพร ผู้ดูแลเว็บไซต์ประชาไท เป็นจำเลย ในความผิดฐาน กระทำผิดพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 และ 15
    โจทก์ฟ้องว่าระหว่างวันที่ 15 เม.ย. – 3 พ.ย. 51 เวลากลางคืน ติดต่อกันวันเวลาใดไม่ปรากฏชัด จำเลยเป็นผู้ให้บริการเว็บไซต์โดยเป็นผู้ดูแล(Web master) เว็บไซต์ประชาไท ดังกล่าว ได้จงใจสนับสนุนหรือยินยอมให้มีการดำเนินการนำข้อความเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งอยู่ในความควบคุมของจำเลย อันเป็นข้อมูลมีเนื้อหาเป็นการดูหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์
    เหตุเกิดที่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แขวงจอมพล เขตจตุจักร แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กทม. และทั่วราชอาณาจักรไทย เกี่ยวพันกันศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าจำเลยกระทำผิด ฐานยินยอมให้มีการลงข้อความที่หมิ่นสถาบันลงในเว็บไซต์ ที่จำเลยมีหน้าที่ต้องดูแล พิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามพระราชบัญญัติ
    ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับ คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 15 ประกอบมาตรา 14 อนุ 3 ลงโทษจำคุก 1 ปี ปรับ 30,000 บาทคำให้การจำเลยเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาลดโทษให้หนึ่งในสาม คงจำคุกจำเลยเป็นเวลา 8 เดือน ปรับ 20,000 บาท โทษจำคุกรอการลงโทษมีกำหนด 1 ปี

    ภาพและข้อมูลจาก http://www.thairath.co.th/content/264472

    นางสาววารุณี อยู่รอง เลขที่ 28

  34. นางสาวอรณิชา สิงห์เวียง

    มีความผิดมาตรา 15 และ 20
    ก.ไอซีที แจงข้อเท็จจริงเนื้อหาร่างพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 15 และ 20
    โฆษกกระทรวงไอซีที ชี้แจงกรณีมีผู้เข้าใจคลาดเคลื่อนไม่ตรงข้อเท็จจริงและเจตนารมณ์การเสนอร่างกฎหมายว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ย้ำหลักการ “ไม่รู้ ไม่ผิด”และ “ผู้ให้บริการเป็นผู้พิสูจน์”ตามมาตรฐานสากล

    นายฉัตรชัย คุณปิติลักษณ์ โฆษกกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เปิดเผยว่า “เนื่องจากพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ที่มีผลบังคับใช้อยู่ในขณะนี้ได้มีการประกาศใช้มาเป็นเวลาเกือบสิบปีแล้ว ส่งผลให้เนื้อหาบางมาตราของกฎหมายฉบับดังกล่าวเกิดความล้าสมัยและไม่สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน จึงเป็นเหตุผลสำคัญของการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วย
    การกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่..) พ.ศ. …. โดยกระทรวงไอซีทีนำเสนอร่างกฎหมายฉบับนี้เพื่อ ให้สามารถรองรับสถานการณ์ปัจจุบันและในอนาคต ซึ่งความคืบหน้าของร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับเนื้อหาร่างกฎหมายในบางมาตรา ที่อาจไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของการนำเสนอร่างกฎหมายฉบับดังกล่าวนี้

    สำหรับหลักการสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้คือ “ไม่รู้ ไม่ผิด” เนื้อหาของร่างกฎหมายในมาตรา 15 ระบุว่า “ผู้ให้บริการผู้ใดให้ความร่วมมือ ยินยอม หรือรู้เห็นเป็นใจให้มีการกระทำความผิด…” หลักการคือให้เกิดความชัดเจนในการตีความ เน้นย้ำว่า การจะเอาผิดกับผู้ให้บริการได้ ต้องเป็นกรณีผู้ให้บริการรู้ว่าข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ของตน เป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่เป็นความผิด อีกทั้งยังเพิ่มเติมหลักการให้ผู้ให้บริการหรือผู้เป็นเจ้าของเครือข่าย หากสามารถพิสูจน์ว่าไม่มีส่วนรู้เห็นกับการกระทำความผิดดังกล่าวและได้ปฏิบัติตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ประกาศกำหนดขั้นตอนการแจ้งเตือนในการระงับหรือนำข้อมูลออกจากระบบแล้ว ถือได้ว่าไม่มีความผิดตามมาตราดังกล่าวนี้ ภายใต้หลักการคือ “ผู้ถูกกล่าวหา เป็นผู้พิสูจน์ตนเอง” ว่าตนเองได้กระทำการตามกฏระเบียบของรัฐแล้ว ก็ย่อมพ้นผิด อันเป็นช่องทางให้ผู้ให้บริการให้ความร่วมมือกับรัฐในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดดังกล่าว และเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ให้บริการในการประกอบกิจการ เนื่องจากการกำหนดผู้ให้บริการสามารถแสดงหลักฐานว่าตนได้ทำตามกฏและระเบียบแล้ว เนื่องจากผู้ให้บริการอยู่ใกล้ชิดกับข้อเท็จจริงมากกว่าเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองซึ่งผู้ให้บริการและประชาชนอาจไม่ไว้วางใจ

    ส่วนมาตรา 20 เนื้อหากฎหมายระบุว่า “ในกรณีที่มีการทำให้แพร่หลายซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ตามวรรค 1-3 นั้นเป็นความผิดตามมูลฐานเดิมซึ่งถือว่าเป็นความผิดตามกฎหมายอยู่แล้ว” ส่วนที่บางคนไม่เข้าใจคือข้อความตามวรรค 4 ระบุว่า “ข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ไม่เป็นความผิดต่อกฎหมายอื่นแต่มีลักษณะขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน..” ยกตัวอย่างเช่น คลิปวีดิโอที่ปรากฏทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งมีเนื้อหาสอนให้คนฆ่าตัวตาย สอนให้ประกอบวัตถุระเบิด เนื้อหาดังกล่าวไม่เข้าข่ายที่เป็นความผิดตามกฎหมาย แต่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ซึ่งไม่ควรที่จะปล่อยให้มีการเผยแพร่ในสังคมไทย สำหรับขั้นตอนการดำเนินการตามกฎหมาย จะมีคณะกรรมการกลั่นกรองที่รัฐมนตรีแต่งตั้งจำนวน 5 คน ซึ่งอย่างน้อย 2 ใน 5 คน ต้องมาจากตัวแทนภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเป็น ผู้พิจารณา ซึ่งต้องมีมติเป็นเอกฉันท์ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ แล้วจึงเสนอเพื่อขอรับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯอีกทอดหนึ่ง แล้วจึงยื่นคำร้องพร้อมแสดงหลักฐานต่อศาลที่มีเขตอำนาจให้มีคำสั่งระงับการทำให้แพร่หลายหรือลบข้อมูลดังกล่าวออกจากระบบคอมพิวเตอร์

    “จะเห็นว่า กรณีดังกล่าวผ่านการตรวจสอบ กลั่นกรองหลายขั้นตอน ทั้งจากคณะกรรมการกลั่นกรอง พนักงานเจ้าหน้าที่ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ โดยเฉพาะในขั้นตอนสุดท้าย จะเป็นอำนาจของศาลที่จะพิจารณา มีคำสั่งให้ระงับการเผยแพร่ข้อมูลนั้น ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวผ่านการตรวจสอบโดยศาลซึ่งทำหน้าที่ปกป้องสิทธิของประชาชนอีกโสตหนึ่งมากกว่าการให้พนักงานทางปกครองดำเนินการโดยใช้ดุลยพินิจซึ่งเป็นที่มาของความไม่ไว้วางใจในการใช้บังคับกฎหมายนี้มานาน การดำเนินการเหล่านี้จึงผ่านกระบวนการยุติธรรมแบบสากล ไม่ใช่พนักงานฝ่ายปกครองเป็นผู้ดำเนินการตามลำพังแต่อย่างใด” นายฉัตรชัยฯ กล่าว
    อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/prg/2444755
    นางสาวอรณิชา สิงห์เวียง ชั้นม.6/9 เลขที่ 11

  35. นางสาวอรณิชา สิงห์เวียง

    มีความผิดมาตราที่ 116
    เลื่อนสั่งคดี8มือโพสต์ผิดม.116อัยการทหารขอสอบพยานเพิ่ม
    สนามหลวง * ที่ศาลทหารกรุงเทพ วันที่ 22 มิ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อัยการทหารได้นัด 8 ผู้ต้องหาความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ประกอบด้วย นายนพเก้า คงสุวรรณ, นายวรวิทย์ ศักดิ์สมุทรนันท์, นายโยธิน มั่งคั่งสง่า, นายธนวรรธน์ บูรณศิริ, นายศุภชัย สายบุตร และนายกัณสิทธิ์ ตั้งบุญธินา ซึ่งศาลให้ประกันตัวไปแล้วมาฟังคำสั่งอัยการว่าจะส่งฟ้องหรือไม่
    โดย น.ส.ณัฏฐิกา วรธัยวิชญ์ และนายหฤษฏ์ มหาทน ซึ่งพนักงานสอบสวนอายัดไว้ ตามฐานความผิดประมวลกฎ หมายอาญา มาตรา 112 ไม่ได้ถูกนำตัวมาฟังคำสั่งอัยการแต่อย่างใด

    นายวิญญัติ ชาติมน ตรี เลขาธิการสมาพันธ์นักกฎหมายเพื่อสิทธิเสรีภาพ (สกสส.) ในฐานะทนายความผู้ต้องหา กล่าวว่า พนักงานสอบสวนกองปราบปรามได้นัดส่งตัวผู้ต้องหาทั้ง 6 คนที่ได้รับการประกันตัวเป็นเงินสดคนละ 200,000 บาทไปเมื่อครั้งที่ครบกำหนดฝากขังครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 10 พ.ค.59 พร้อม สำนวนสอบสวนคดีอาญาที่ 38/2559 ต่ออัยการศาลทหาร กรุงเทพ

    นายวิญญัติกล่าวว่า อัยการศาลทหารได้พิจารณาสำนวนสอบสวนแล้ว คดีอาจ ต้องมีการประชุมกันเพื่อพิจาร ณาสำนวนว่าจะส่งฟ้องตามสำนวนการสอบสวนของกองปราบปรามหรือไม่ จึงต้องใช้เวลาและตรวจสอบพยานหลักฐาน จึงแจ้งผู้ต้องหาทั้ง 6 คนที่เดินทางมาในวันนี้ให้มาฟังคำสั่งฟ้องหรือไม่อีกครั้ง ในวันที่ 22 ก.ค.59 เวลา 10.00 น.

    “ส่วนกรณีของ น.ส.ณัฏ ฐิกา และนายหฤษฏ์ ที่มีฐานความผิดประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เพิ่มเติมอีก 1 ข้อหา ทนายความจะยื่นคำ ร้องขอประกันตัวอีกครั้ง โดยจะเพิ่มหลักทรัพย์เป็นเงินสดอีกคนละ 5 แสนบาท จากเดิมที่เคยยื่นไปคนละ 5 แสนบาท รวมเป็นคนละ 1 ล้านบาท” ทนายความผู้นี้ระบุ.

    อ้างอิง : http://www.ryt9.com/s/tpd/2448352
    นางสาวอรณิชา สิงห์เวียง ชั้นม.6/9 เลขที่11

  36. นางสาววิมลรัตน์ มนัสตรง

    มาตรา14 พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ยาแรงผิดขนานสำหรับการหมิ่นประมาทออนไลน์
    เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตเข้ามามีส่วนสำคัญในชีวิตคนเรามากขึ้นทุกวัน “อาชญากรรมคอมพิวเตอร์” จึงเพิ่มมากขึ้นด้วย พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 หรือ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ จึงถูกตราขึ้นมาเพื่อรับมือกับปัญหานี้

    การกระทำที่พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ กำหนดให้เป็นความผิด มีทั้งการกระทำต่อระบบคอมพิวเตอร์ เช่น เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยไม่ได้รับอนุญาต การดักข้อมูล การรบกวนระบบคอมพิวเตอร์ของผู้อื่น เป็นต้น ซึ่งกำหนดไว้ในมาตรา 5-13 หรือที่เรียกว่า “ความผิดต่อระบบ” นอกจากนี้ยังมี “ความผิดเกี่ยวกับเนื้อหา” ซึ่งระบุไว้ตั้งแต่ มาตรา 14- 16

    สถิติจากงานวิจัย* ตั้งแต่กรกฎาคม 2550 ถึง ธันวาคม 2554 มีคดีความตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ที่ขึ้นถึงชั้นศาล แบ่งเป็นความผิดต่อระบบ 62 คดี ความผิดต่อเนื้อหา 215 คดี

    ทำให้พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ ฉบับปัจจุบันถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ควรรวมความผิดเกี่ยวกับเนื้อหาไว้ด้วยหรือไม่ เนื่องจากพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มีเจตนารมณ์เพื่อควบคุมดูแลการกระที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบในทางเทคนิคเท่านั้น

    อีกทั้ง ความผิดหลายมาตราก็ซ้ำซ้อนกับกฎหมายอื่นที่มีอยู่แล้ว เช่น มาตรา 14(4) เรื่องข้อมูลลามก ก็มีกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 287 ในความผิดฐานเผยแพร่สื่อลามกอยู่แล้ว หรือ มาตรา 14(3) เรื่องข้อมูลที่กระทบต่อความมั่นคง ก็มีกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 107-135/4 อยู่แล้ว เช่นเดียวกับกรณีของมาตรา 14(1) ที่ถูกใช้นำไปฟ้องต่อการมิ่นประมาทจำนวนมาก ทั้งที่มีฐานความผิดเรื่องหมิ่นประมาท และหมิ่นประมาทด้วยการโฆษณาในประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 และ 328 อยู่แล้ว

    อะไรคือความผิดตาม มาตรา 14(1)
    พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ระบุว่า “ผู้ใด …. (1) นําเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าท้ังหมดหรือบางส่วน หรือ ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน” การเขียนกฎหมายเช่นนี้เป็นการเปิดให้ต้องตีความอยู่มาก ทำให้ลักษณะของความผิดที่ฟ้องร้องเป็นคดีความกันด้วยมาตรา 14(1) มีความหลากหลาย ดังต่อไปนี้

    1.ความผิดต่อระบบ เช่น การปลอมแปลงไฟล์เพื่อแฝงตัวเข้ามาทำลายระบบคอมพิวเตอร์
    2.การหลอกลวง ฉ้อโกง เช่น การปลอมหน้าเว็บไซต์ว่าเป็นเว็บไซต์ของสถาบันการเงิน
    3.การหมิ่นประมาท

    ลักษณะของความผิดทั้งสามแตกต่างกันอย่างชัดเจน คือ สองข้อแรกเป็นความผิดที่ทำให้เกิดความเสียหายต่อคนจำนวนมากหรือต่อประชาชน ขณะที่การหมิ่นประมาทเป็นความผิดต่อส่วนตัว นอกจากนี้ ในกรณีความผิดต่อระบบ และการฉ้อโกง ศาลมักตัดสินให้มีความผิด ขณะที่การหมิ่นประมาท มีอัตราการยกฟ้องและถอนฟ้องสูง

    อย่างไรก็ดี จากสถิติ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2550 จนถึง เดือนธันวาคม 2554 คดีที่ฟ้องร้องโดยพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาแล้ว เป็นคดีตามมาตรา 14(1) มากที่สุด ซึ่งเป็นความผิดประเภทหมิ่นประมาท การฉ้อโกง และเป็นความผิดต่อระบบ มากน้อยตามลำดับ

    อะไรคือสิ่งที่ มาตรา 14(1) มุ่งคุ้มครอง
    องค์ประกอบความผิดที่สำคัญใน มาตรา 14(1) คือ “ข้อมูลความพิวเตอร์ปลอม หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ” ซึ่งไม่เหมือนกับกฎหมายหมิ่นประมาทที่ไม่สนใจว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ แม้เป็นความจริงแต่หากทำให้ผู้ถูกใส่ความเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง ก็เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท

    อีกทั้งจุดประสงค์แรกเริ่มของการออกกฎหมายมาตรานี้ ก็เพื่อป้องกันและปราบปรามการปลอมแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ เช่น การปลอมหน้าเว็บไซต์ให้ผู้ใช้เข้าใจผิดเพื่อขโมยข้อมูลของผู้ใช้ หรือที่เรียกว่า Phishing เป้าหมายของมาตรา 14(1) เพื่ออุดช่องว่างของกฎหมายอาญาเรื่องการปลอมแปลงเอกสาร ซึ่งความผิดฐานปลอมเอกสาร ในประมวลกฎหมายอาญา มีความหมายเฉพาะกระดาษหรือวัตถุอื่นใดที่มีรูปร่างและจับต้องได้เท่านั้น ยังไม่สามารถตีความให้ครอบคลุมการปลอมแปลงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ได้

    แต่ตามสถิติกลับพบว่ามาตรา 14(1) ถูกนำมาใช้ดำเนินคดีกับเรื่องการหมิ่นประมาทเป็นส่วนมาก ทำให้เกิดคำถามว่า การบังคับใช้มาตรา 14(1) กับการหมิ่นประมาทในโลกออนไลน์ เป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ถูกต้องตามเจตนารมณ์แล้วหรือไม่

    ผลกระทบของการใช้ มาตรา 14(1) ในฐานความผิดหมิ่นประมาท

    1. เป็นการบังคับใช้กฎหมายที่ซ้ำซ้อน เนื่องจากความผิดฐานหมิ่นประมาทมีบัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญาอยู่แล้ว แม้จะเป็นการกระทำบนอินเทอร์เน็ต ก็มีความผิดหมิ่นฐานประมาทโดยการโฆษณาอยู่แล้ว ทำให้เกิดความสับสนในการตีความการบังคับใช้กฎหมาย และทำให้คดีความรกโรงรกศาล

    2. อัตราโทษที่สูง ความผิดตามมาตรา 14(1) มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท ขณะที่ความผิดฐานหมิ่นประมาทมีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 20,000 บาท ความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณามีอัตราโทษจำคุกสูงสุดไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท เมื่อนำพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) มาใช้ฟ้องร้องในประเด็นการหมิ่นประมาทจึงทำให้จำเลยต้องแบกรับอัตราโทษที่หนักขึ้น

    3. ยอมความไม่ได้ คดีหมิ่นประมาทเป็นความผิดต่อส่วนตัว คดีจำนวนไม่น้อยเมื่อขึ้นสู่ชั้นศาลแล้วสามารถตกลงชดใช้ค่าเสียหาย หรือกล่าวขอโทษกัน ก็ทำให้คดีความจบกันไปได้ แต่ความผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14(1) ไม่ใช่ความผิดที่ยอมความได้ แม้ผู้เสียหายกับจำเลยตกลงกันได้จนคดีหมิ่นประมาทจบลงแล้ว ความผิดตามมาตรา 14(1) ก็ยังต้องดำเนินคดีต่อไป ส่งผลกระทบต่อตัวจำเลยและทำให้คดีรกโรงรกศาลโดยไม่จำเป็น

    4. ไม่มีหลักเรื่องความสุจริตหรือประโยชน์สาธารณะ ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329-330 การหมิ่นประมาทที่กระทำไปโดยการติชมด้วยความสุจริต หรือการวิพากษ์วิจารณ์ที่เป็นประโยชน์สาธารณะ เป็นเหตุยกเว้นความผิดและยกเว้นโทษได้ แต่ความผิดตามมาตรา 14(1) แม้เป็นการใช้เสรีภาพในการแสดงออกวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริต หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะก็ตาม ก็ไม่สามารถอ้างเหตุเหล่านี้ขึ้นต่อสู้คดีได้

    5. คุกคามเสรีภาพสื่อ เนื่องจากปัจจุบันมีสื่อออนไลน์เกิดขึ้นมาก แม้แต่สื่อกระแสหลักก็พัฒนาช่องทางออนไลน์ให้เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสาร เมื่อมีคดีความหมิ่นประมาทเกิดขึ้น มาตรา 14(1) ก็มักถูกฟ้องพ่วงเข้าไปด้วย ซึ่งเพิ่มภาระของสื่อหรือผู้ถูกกล่าวหาในการสู้คดี และปัจจุบันแนวโน้มการฟ้องร้องสื่อ ด้วยมาตรา 14(1) ก็มีสูงขึ้น กระทบต่อการบรรยากาศการใช้เสรีภาพในสังคม

    กรณีตัวอย่างการใช้มาตรา 14(1) ฟ้องคดีหมิ่นประมาทที่กระทบต่อบรรรยากาศเสรีภาพ

    1. กองทัพเรือ VS ภูเก็ตหวาน
    16 ธันวาคม 2556 กองทัพเรือแจ้งความดำเนินคดีกับ อลัน มอริสัน และชุติมา สีดาเสถียร นักข่าวจากเว็บไซต์ภูเก็ตหวาน สำนักข่าวระดับท้องถิ่นของจังหวัดภูเก็ต จากการเผยแพร่ข่าวบนเว็บไซต์ phuketwan.com อ้างอิงรายงานของรอยเตอร์ กล่าวหาว่าทหารเรือมีส่วนเกี่ยวข้องและได้รับผลประโยชน์จากขบวนการค้ามนุษย์ชาวโรฮิงญา จะมีการนัดสืบพยานในเดือนมีนาคม 2558

    2. โรงงานผลไม้กระป๋อง VS อานดี้ ฮอลล์
    4 กุมภาพันธ์ 2556 บริษัท เนเชอรัล ฟรุต เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง อานดี้ ฮอลล์ นักวิจัยด้านสิทธิแรงงาน จากการที่เขาเผยแพร่งานวิจัยเรื่อง การละเมิดสิทธิแรงงานข้ามชาติในโรงงานผลไม้กระป๋อง เนื้อหาของงานวิจัยมีเรื่องการจ้างแรงงานเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ด้วยค่าจ้างที่ต่ำกว่ากฎหมายกำหนด รายงานวิจัยของเขาถูกสื่อเผยแพร่ไปในอินเทอร์เน็ต เขาจึงถูกฟ้องเป็นคดีพ.ร.บ.คอมพิเตอร์ฯ นอกจากนี้เขายังถูกฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีแพ่งอีกด้วย

    3. นายจ้างบริษัทไทยอินดัสเตรียลฟ้องสมาชิกสหภาพแรงงาน
    สงคราม ฉิมเฉิด เป็นพนักงานของบริษัทไทยอินดัสเตรียลแก๊ส และเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน กลางปี 2553 สงครามถูกผู้บริหารของบริษัทฟ้องว่าเป็นผู้ส่งอีเมลกล่าวหาผู้บริหารระดับสูงว่าห้ามเขาเข้าร่วมกิจกรรมของสหภาพแรงงาน ต่อมาคดีมีการไกล่เกลี่ยยอมความ นายจ้างถอนฟ้องข้อหาหมิ่นประมาท แต่ข้อหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ถอนฟ้องไม่ได้ สงครามจึงต้องต่อสู้คดีต่อไป ต่อมาศาลพิพากษายกฟ้อง เนื่องจากพิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยเป็นผู้ส่งอีเมล์จริง

    4. หมอฟ้องนักกิจกรรมด้านสิทธิผู้ป่วย
    ประธานสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป แห่งประเทศไทย แจ้งความดำเนินคดีกับ ปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธานเครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ จากการโพสต์ข้อมูลและรูปภาพลงเฟซบุ๊กเกี่ยวกับความผิดพลาดในการรักษาพยาบาล 29 เมษายน 2554 พนักงานสอบสวนสถานีตำรวจภูธร จ.สุรินทร์ ออกหมายเรียก ปรียานันท์ต้องเดินทางไปจ.สุรินทร์เพื่อให้ปากคำ ต่อมาอัยการสั่งไม่ฟ้อง

    5. สหกรณ์เคดิตยูเนี่ยนคลองจั่นฟ้องไทยพับลิก้า
    13 กันยายน 2556 สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดย นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานกรรมการสหกรณ์ฯ ยื่นฟ้องนายมณฑล กันล้อม ประธานกรรมการดำเนินการฯ สหกรณ์และพวกรวม 6 คน ซึ่งรวมถึงกองบรรณาธิการของสำนักข่าวไทยพับลิก้า จากการเผยแพร่บทความเกี่ยวกับการทุจริตภายในสหกรณ์ ต่อมา 2 มิถุนายน 2557 โจทก์ถอนฟ้อง

    6. บริษัท เบ็ทเทอร์ ลิฟวิ่ง ฟ้องประชาชาติธุรกิจ
    13 มิถุนายน 2556 เว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจเผยแพร่บทสัมภาษณ์ที่กล่าวถึงความเสียหายของประเทศหากให้บริษัททุนข้ามชาติสามารถจดโดเมนเป็น .thai ต่อมาผู้ให้สัมภาษณ์และบรรณาธิการเว็บไซต์ประชาชาติธุรกิจถูกบริษัท เบ็ทเทอร์ ลิฟวิ่ง แมนเนจเมนท์ จำกัดที่ถูกพาดพิงฟ้อง คดียังอยู่ระหว่างการการไต่สวนมูลฟ้อง

    7. ฝรั่งพัทยา ฟ้อง แอนดรูว์ ดรัมมอนด์
    4 กันยายน 2555 ชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในพัทยาสองคนยื่นฟ้อง แอนดรูว์ ดรัมมอนด์ ผู้สื่อข่าวต่างประเทศและเจ้าของเว็บไซต์ จากการปล่อยให้มีคนคอมเมนต์ในเว็บไซต์กล่าวหาโจทก์ว่ามีพฤติกรรมเป็นแมงดา ศาลพิพากษาว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทให้จำคุก 4 เดือน ปรับ 40,000 บาท ยกฟ้องข้อหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เพราะพิสูจน์ไม่ได้ว่าจำเลยรู้ว่าข้อความเป็นเท็จ

    8. อดีตมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สฟ้องเว็บไซต์ไทยเดย์
    ฝนทิพย์ วัชตระกูล หรือ ปุ๊กลุ๊ก อดีตมิสไทยแลนด์ยูนิเวิร์สปี 2553 ยื่นฟ้องเว็บไซต์ไทยเดย์ดอทคอม ในเครือผู้จัดการ จากการเผยแพร่คอลัมน์ Super บันเทิง Online กล่าวหาโจทก์ว่ามีความประพฤติไม่ดี ไม่เหมาะกับการเป็นกุลสตรีไทย ศาลพิพากษาว่ามีความผิดฐานหมิ่นประมาทปรับจำเลยที่หนึ่ง 200,000 บาท จำคุกจำเลยที่สอง 2 ปี และปรับ 100,000 บาท โทษจำคุกให้รอลงอาญา ให้ทำลายข้อความในเว็บไซต์ และให้ชดใช้ค่าเสียหาย ยกฟ้องข้อหาพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ฯ

    9. บอร์ดทีโอทีฟ้องผู้จัดการ
    เอกสิทธิ์ วันสม ประธานบอร์ดบริหารทีโอที ฟ้องว่า วันที่ 30 พฤษภาคม 2554 เว็บไซต์ผู้จัดการออนไลน์เผยแพร่ข่าว ทำนองว่า โจทก์ในฐานะประธานบอร์ดบริหารกับประธานการประเมินกรรมการผู้จัดการใหญ่เข้าแทรกแซงสั่งการในการปรับโครงสร้างผังองค์กร และเข้าไปมีผลประโยชน์หักค่าหัวคิวเก็บค่าคอมมิชชั่นในโครงการต่างๆ 17 ตุลาคม 2554 โจทก์ถอนฟ้อง บทความถูกเอาออกแล้ว

    10. สำนักงานศาลปกครองฟ้องสำนักข่าวอิสรา
    25 สิงหาคม 2557 ดิเรกฤทธิ์ เจนครองธรรม เลขาธิการสำนักงานศาลปกครอง มอบหมายให้ทนายความ ฟ้องร้องสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชนแห่งประเทศไทย, นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสถาบันอิศราฯ และนายเสนาะ สุขเจริญ บรรณาธิการสำนักข่าวอิศราฯ จากการเสนอข่าว “จดหมายน้อย” เกี่ยวกับการที่ประธานศาลปกครองพยายามใช้เส้นแต่งตั้งนายตำรวจ

    ข้อมูลอ้างอิง https://freedom.ilaw.or.th/blog
    นางสาววิมลรัตน์ มนัสตรง ชั้น ม. 6/9 เลขที่ 17

  37. นางสาวณัฏฐา รวยตระกูล

    มาตรา 112
    คดี 112 หนุ่มอุบล ศาลพิพากษาจำคุก 13 ปี 22 เดือน กรณีโพสต์เฟซบุ๊กรวม 9 กรรม
    31 ก.ค.2557 เว็บไซต์ศูนย์กฎหมายและคดีเสรีภาพ โดย ไอลอว์ รายงานว่า ทนายประเวศ ประภานุกูล ทนายจำเลยแจ้งว่า ศาลจังหวัดอุบลราชธานีอ่านคำพิพากษากรณีของนาย พ. อายุ 27 ปี จำเลยในคดีดูหมิ่น หมิ่นประมาท หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ ฯ ว่า จำเลยทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ทั้งหมด 9 กรรม ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 ให้ลงโทษกรรมละ 3 ปี รวม 27 ปี ความผิดตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ให้ลงโทษกรรมละ4 เดือน รวม 36 เดือน รวมจำคุก 27 ปี 36 เดือน (หรือรวมแล้วคือ 30 ปี) จำเลยให้การรับสารภาพลดโทษให้กึ่งหนึ่ง เหลือจำคุกรวม 13 ปี 22 เดือน

    ทั้งนี้ทนายกล่าวด้วยว่า หากบวกลบจริงๆโทษควรจะเป็น 13 ปี 24 เดือน แต่ศาลอ่านคำพิพากษาเป็น 13 ปี 22 เดือน หลังจากนี้ ทนายและญาติของจำเลยจะหารือถึงแนวทางคดีต่อไป ว่าจะอุทธรณ์คดี หรือยุติคดีและขอพระราชทานอภัยโทษ

    รายงานข่าวแจ้งว่า ก่อนหน้าที่จะมีคำพิพากษา ศาลเคยนัดไต่สวนแพทย์ผู้ให้การรักษาอาการทางจิตของจำเลยเพื่อนำไปประกอบการเขียนคำพิพากษา ในกรณีที่จำเลยมีอาการป่วยทางจิตและแพทย์มีความเห็นว่าต้องทำการรักษา ทนายระบุว่า ศาลอาจวินิจฉัยให้รอลงอาญาเป็นกรณีพิเศษได้ แม้โทษของจำเลยจะสูงกว่าเกณฑ์ที่ศาลจะรอลงอาญา แต่ในท้ายที่สุดก็ไม่มีการรอลงอาญาแต่อย่างใด

    นาย พ. ถูกตำรวจหน่วยสืบสวนของกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับ อาชญากรรมทางเทคโนโลยี (ปอท.) และตำรวจภูธรในพื้นที่อุบลราชธานีจำนวนหลายสิบนายบุกไปจับกุมตัวที่บ้าน เมื่อวันที่ 16 มี.ค.55 โดยแจ้งข้อกล่าวหาว่าเขาใช้บัญชีเฟซบุ๊คทั้งหมด 3 บัญชี โพสต์ข้อความที่มีเนื้อหาเข้าข่ายความผิดมาตรา 112 อย่างไรก็ตาม ผู้ต้องหาได้รับการประกันตัวโดยใช้หลักทรัพย์ 500,000 บาท ต่อมาวันที่ 16 มิ.ย.57 อัยการส่งฟ้องต่อศาลจังหวัดอุบลราชธานีโดยกล่าวหาว่าจำเลยกระทำความผิดตาม มาตรา 112 ของประมวลกฎหมายอาญา และมาตรา 14(3) พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 จากการโพสต์ข้อความที่เข้าข่ายความผิด 9 กรรม เขาจึงถูกควบคุมตัวระหว่างการพิจารณาคดีที่เรือนจำจังหวัดอุบลราชธานี จนกระทั่งวันที่ 30 มิ.ย.57 มีการนัดพร้อมสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพ โดยทนายแถลงขอให้เลื่อนการอ่านคำพิพากษาเนื่องจากต้องการเขียนคำแถลงประกอบ คำรับสารภาพว่าจำเลยทำไปด้วยความคึกคะนอง

    ทั้งนี้ ผู้ต้องหาอ้างว่าเจ้าหน้าที่มีการใช้สายลับมาติดตามความเคลื่อนไหวของเขา โดยใช้ชื่อในเฟซบุ้คว่า Tangmo Momay เข้ามาตีสนิท ยั่วยุให้โพสต์ข้อความที่หมิ่นเหม่ และมีการโทรศัพท์พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน โดยผู้ต้องหาอ้างว่าได้เห็นบันทึกการพูดคุยทางโทรศัพท์นั้นถูกถอดเทป และนำมาใช้เป็นหลักฐานของเจ้าหน้าที่

    อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 1 มิ.ย.57 รักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ออกคำสั่งฉบับที่ 44 ลงวันที่ 1 มิ.ย.57 คำสั่งฉบับดังกล่าวกำหนดให้นาย พ. เข้ารายงานตัวที่สโมสรทหารบก เทเวศน์ ในวันที่ 3 มิ.ย.57 หลังจากนั้น นายพ.ได้เดินทางเข้ารายงานตัวในวันที่ 13 มิ.ย. และถูกควบคุมตัวภายใต้กฎอัยการศึกเป็นเวลา 3 คืนด้วย

    ข้อมูลอ้างอิง http://prachatai.com/journal/2014/07/54834
    นางสาวณัฏฐา รวยตระกูล ชั้น ม. 6/9 เลขที่ 13

  38. นิมิตร ส้มสุด

    มาตรา 14
    เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 29 ธันวาคม ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี พิธีกรและนักแสดงชื่อดัง เดินทางเข้าพบ พ.ต.ท.สัณห์เพ็ชร หนูทอง พนักงานสอบสวนผู้ชำนาญการพิเศษ กก.3 บก.ปอท. เพื่อแจ้งความดำเนินคดีกับผู้ปลอมเฟซบุ๊คในชื่อ “ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี” ในข้อหา ตามพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 ม.14(1)นำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ,ม.14(3) ปลุกปั่นให้เกิดความตื่นตระหนก,ม.14(5) เผยแพร่ ส่งต่อข้อมูลที่เป็นเท็จ และหมิ่นประมาททำให้เสื่อมเสียชื่อเสียง โดยนำหน้าเฟซบุ๊กปลอมมามอบให้เป็นหลักฐาน

    ดร.ปนัดดา เปิดเผยว่า สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 26 ธันวาคมที่ผ่านมา ตนพบว่ามีคนสร้างเฟซบุ๊กปลอมโดยใช้ชื่อว่า “ดร.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี” ใช้รูปประจำตัวเป็นรูปของตน พร้อมทั้งสวมรอยแสดงความคิดเห็นโต้ตอบกับแฟนคลับตน ก่อนจะโพสต์ข้อความเกี่ยวกับ ปอ ทฤษฎี สหวงษ์ ว่า “หลับให้สบาย น้องรัก R I P “ปอ ทฤษฎี” 26 ธ.ค. หลังผ่าตัดโคม่าหนัก ติดเชื้อ ยื้อกว่า 7 ชั่วโมง แพทย์รามาเผย..ถึงกับอึ้ง!! เรื่องอะไรมาดู” พร้อมกับแชร์รูปภาพร่วมไว้อาลัยปอ ว่าเสียชีวิต ซึ่งไม่เป็นความจริง ทำให้ตนเสื่อมเสียชื่อเสียงอย่างมาก

    เนื่องจากตนเป็นบุคคลสาธารณะและมักจะช่วยเหลือสังคมเสมอ เมื่อพูดหรือโพสต์ข้อความอะไร จึงมีคนเชื่อถือ แต่ข้อความดังกล่าวไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ตนขอประณามคนสร้างเฟซบุ๊กดังกล่าวว่าไม่ควรนำเรื่องอ่อนไหวเช่นนี้มาล้อเล่น เพราะปอกำลังป่วย ทุกคนต้องการกำลังใจ
    ที่มา http://news.sanook.com/1922462/

    ชื่่่อ นายนิมิตร ส้มสุด ชั้น ม.6/9 เลขที่ 7

  39. นางสาววิมลรัตน์ มนัสตรง

    มาตรา 14
    คุก4ปี!อดีตหนุ่มหลักทรัพย์โพสต์หมิ่นฯ
    คุก 6 ปี ‘อดีตพนง.เงินทุนหลักทรัพย์’ ผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ โพสต์ข้อความเท็จพาดพิงสถาบันโยงลงทุนกระทบตลาดหุ้นปี 52 รับสารภาพชั้นสอบสวน ศาลปรานีลดโทษเหลือ 4 ปี
    วันที่25 ธ.ค.55 เวลา เวลา 10.20 น. ศาลอ่านคำพิพากษาคดีหมายเลขดำ อ.2337/2554 ที่อัยการฝ่ายคดีอาญา 10 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายคธา ปาจริยพงษ์ อายุ 36 ปี เป็นจำเลย ในความผิดฐานนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ตาม พรบ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3,14

    จากกรณีเมื่อวันที่ 22 เมษายน และวันที่ 14 – 15 ตุลาคม 2552 จำเลยได้โพสต์ข้อความลงเว็บไซต์เกี่ยวกับข่าวลือที่ระบุเนื้อหาเชื่อมโยงกับสถาบัน ทำให้ผู้อื่นเข้าใจผิด จนทำให้ตลาดหลักทรัพย์ของไทยมีมูลค่าซื้อขายลดลงอย่างมากภายในวันเดียว

    จึงพิพากษาว่า การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ตาม พรบ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ฯ มาตรา 14 (2) ให้เรียงกระทงลงโทษจำคุกจำเลยรวม 2 กระทงๆ 3 ปี เป็นจำคุก 6 ปี แต่จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นสอบสวน เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาอยู่บ้าง เห็นควรลดโทษให้ 1 ใน 3 รวมจำคุกทั้งสิ้น 4 ปี
    อ้างอิงข้อมูล http://www.komchadluek.net/news/crime/148031
    นางสาววิมลรัตน์ มนัสตรง ชั้นม.6/9 เลขที่ 17

  40. นิมิตร ส้มสุด

    มาตรา 14
    MGR Online – “บุ๋ม ปนัดดา” พา “บิ๊ก” พระเอกดาวรุ่งช่อง 7 ร้อง ปอท.แจ้งจับมือมืดเฟซบุ๊กปลอมนำภาพสมัยยังไม่เข้าวงการ แชตลวงสาว-สาวประเภทสองขายบริการทางเพศ ก่อนเชิดเงินเหยื่อหลายราย

    วันนี้ (15 ส.ค.) เมื่อเวลา 13.00 น. กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) น.ส.ปนัดดา วงศ์ผู้ดี หรือบุ๋ม พิธีกรและนักแสดงชื่อดัง พร้อมด้วยนายณทรรศชัย จรัสมาส หรือบิ๊ก ดารานักแสดงช่อง 7 เดินทางเข้าแจ้งความต่อ ร.ต.อ.อนุชิต ทวีพร้อม สว.(สส.) กก.3 บก.ปอท. เพื่อดำเนินคดีต่อบุคลคลที่นำภาพถ่ายไปเผยแพร่แอบอ้างในสื่อโซเชียลมีเดียจนสร้างความเสียหายแก่ชื่อเสียง โดยนำภาพจากเฟซบุ๊กของจริงและของปลอมมาเป็นหลักฐาน

    นายณทรรศชัยกล่าวว่า สืบเนื่องจากตนเป็นคนชอบโพสต์ภาพถ่ายของตัวเองลงในเฟซบุ๊กและอินสตาแกรมตั้งแต่ยังไม่เข้าวงการบันเทิง แต่ก็มีบุคคลได้ก๊อบปี้ภาพถ่ายตนไปแล้วปลอมชื่อเฟซบุ๊กขึ้นมาใหม่ซึ่งสร้างความเสียหายแก่ตนเป็นอย่างมาก เช่น นำไปหลอกผู้หญิงว่าตนขายบริการทางเพศ ให้ส่งเงินมาให้เพื่อจะได้เดินทางไปหา หรือกลุ่มผู้ชายรักผู้ชาย ซึ่งก็มีเเฟนคลับหลายรายหลงเชื่อไปบ้าง โดยเฟซบุ๊กของตนมีอันเดียวชื่อ “ณทรรศชัย จรัสมาส(Bigkts)”

    นายณทรรศชัยกล่าวอีกว่า ตนเคยได้ไปแจ้งความมาแล้วที่ สน.วัดพระยาไกร และ สน.บุคคโล เมื่อปี 2558 แต่ก็ยังไม่มีอะไรคืบหน้า จึงเดินทางมาแจ้งความต่อ บก.ปอท.เพื่อติดตามตัวคนร้ายมาดำเนินคดีให้ได้เนื่องจากคนร้ายนำภาพตนไปใช้หลอกผู้อื่นให้โอนเงินมาอย่างต่อเนื่องหลายปี นอกจากนี้ ตนเคยถูกคนร้ายแอบอ้างว่าเป็น ผจก.ส่วนตัว หลอกหญิงสาวไปข่มขืนมาแล้ว 7 ราย ขณะนี้สามารถจับตัวคนก่อเหตุมาลงโทษไปเรียบร้อยแล้ว

    น.ส.ปนัดดาเผยว่า ตนเล่นละครทางช่อง 7 เรื่องรักสลับหน้าร่วมกับนายณทรรศชัย และทราบข่าวจากแฟนคลับว่านายณทรรศชัยถูกคนร้ายแอบอ้างนำภาพถ่ายไปใช้หลอกผู้อื่นจึงสอบถามไปยังเจ้าตัวแต่ก็ปฏิเสธว่าไม่เป็นความจริง ทั้งนี้ ตนแนะนำให้ไปแจ้งความที่ บก.ปอท.เพิ่มเติมเพื่อป้องกันชื่อเสียงของตัวเองไว้ก่อนเนื่องจากว่านายณทรรศชัยกำลังมีผลงานออกอากาศทางช่อง 7 และยังไม่ทราบตัวคนก่อเหตุด้วยแต่ขอให้คนทำหยุดพฤติกรรมดังกล่าว

    ด้าน ร.ต.อ.อนุชิตเผยว่า เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ได้แจ้งข้อหาตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 มาตรา 14 (2) ฐานนำเข้าข้อมูลอันเป็นเท็จเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ และหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา
    ที่มา http://www.manager.co.th/Crime/ViewNews.aspx?NewsID=9590000081305

    ชื่อ นายนิมิตร ส้มสุด ชั้น ม.6/9 เลขที่ 7

  41. นางสาววนิดา สอนศิลป์

    มีความผิดมาตราที่ 287อาชญากรรมคอมพิวเตอร์พุ่งปรู๊ด ศตท.เตือน24ส.ค.ดีเดย์บังคับองค์กรเก็บlogfile
    “ศตท.” ย้ำชัดๆ อีกครั้ง “24 ส.ค.” หมดระยะผ่อนผัน กม.คอมพิวเตอร์ ระบุทุกองค์กรที่ใช้อินเทอร์เน็ตต้องเก็บ log file ฝ่าฝืนปรับ 5 แสน ยอมรับหลังบังคับใช้ กม.ไม่ทำให้อาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ลดลง แต่เป็นเครื่องมือสำคัญในการจับกุมคนร้าย ระบุยอดอาชญากรรมไซเบอร์เพิ่มก้าวกระโดดทุกปี

    พ.ต.อ.ศิริพงษ์ ติมุลา ผู้กำกับการศูนย์ตรวจสอบ และวิเคราะห์การกระทำความผิดทางเทคโนโลยี (ศตท.) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กล่าวว่า วันที่ 24 สิงหาคม 2551 เป็นวันแรกที่ พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้โดยสมบูรณ์ หลังจากผ่อนผันให้ทุกหน่วยงานที่มีคอมพิวเตอร์ และเข้าถึงการใช้อินเทอร์เน็ตเตรียมตัวมาเป็นเวลา 1 ปี ดังนั้นตั้งแต่ 24 สิงหาคม ทุกหน่วยงาน จึงมีหน้าที่เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ หรือ log file ที่ยืนยันตัวบุคคลที่ใช้งานได้ โดยต้องจัดเก็บไว้อย่างน้อย 90 วัน ในลักษณะที่ไม่มีบุคคลใดเข้าไปแก้ไขปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ หากไม่ปฏิบัติตามมีความผิดตามกฎหมาย เสียค่าปรับ 5 แสนบาท

    การเก็บ log file นอกจากเป็นการปฏิบัติตามกฎหมายแล้วยังใช้ตรวจดูประสิทธิภาพการทำงานของเครือข่ายได้ว่า ควรต้องปรับปรุงหรือไม่ และนำไปใช้วางกลยุทธ์ทางการตลาดได้ เพราะมีข้อมูลผู้เข้าใช้ระบบจึงนำไปพัฒนาสินค้า บริการ หรือเว็บไซต์ให้ตอบสนองความต้องการได้ การเก็บ log file จึงมีประโยชน์มากกว่าเป็นภาระ

    ทั้งนี้ จากข้อมูลของ ศตท.ตัวเลขอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์เพิ่มสูงขึ้นเป็นทวีคูณทุกปี และอุปสรรคสำคัญอย่างหนึ่งที่ไม่สามารถจับกุมคนร้ายมาลงโทษได้ นอกจากเทคโนโลยีที่มีการพัฒนาจนซับซ้อนมากแล้ว เป็นเพราะการเก็บ log file ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่สมบูรณ์พอที่จะบ่งชี้ตัวคนร้ายหรือใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาลได้ ดังนั้นเมื่อกฎหมายบังคับให้ทุกหน่วยงานเก็บ log file ให้สมบูรณ์น่าจะเป็นเครื่องมือสำคัญในการจับอาชญากรมาลงโทษได้

    “ต้องเข้าใจว่าการมี พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ไม่ได้ทำให้อาชญากรรมไซเบอร์น้อยลง เพราะอาชญากรรมเกิดขึ้นจากปัจจัยมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจ สังคม ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี และบริการใหม่ๆ เป็นช่องทางให้เกิดการกระทำผิดได้รวดเร็วมากขึ้น แต่มีจุดอ่อนเรื่องการตรวจสอบพิสูจน์ตัวตน แม้ในหลายประเทศที่มี กม.นี้มานาน ยอดอาชญากรรมประเภทนี้ก็ยังไม่ลดลง แต่ช่วยให้หาคนผิดมาลงโทษได้”

    การลดอาชญากรรมไซเบอร์ต้องใช้ทุกมาตรการร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นทางปกครอง สังคม การบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจัง อาทิ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างกระทรวง ไอซีที, กทช. ต้องมีการปรับปรุงกฎหมายให้ทันกับเทคโนโลยีอยู่เสมอ หรือเร่งประชาสัมพันธ์ถึงการเอาจริงในการบังคับใช้กฎหมายก็เป็นผลทางจิตวิทยากับอาชญากร รวมถึงการป้องกันไม่ให้เกิดอาชญากรรม โดยสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ใช้ และองค์กร เพราะกฎหมายเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

    การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ที่เกิดขึ้นมากที่สุดหลัง พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ คือ หมิ่นประมาทออนไลน์ ส่วนใหญ่เกิดจากผู้กระทำความผิดไม่คิดว่าตนถูกจับกุมได้ รองลงมาคือ การใช้อีเมล์หลอกลวง การทุจริตผ่านธุรกรรมออนไลน์ของธนาคารต่างๆ ซึ่งเกิดขึ้นหลายกรณี และสร้างความเสียหายร้ายแรงทางเศรษฐกิจมากที่สุด จากคดีที่กำลังอยู่ในชั้นสืบสวน มีผู้บริโภค บางรายสูญเงินไปกว่า 6 แสนบาท ขณะที่ธนาคารเจ้าของบัญชีเสียหายอย่างประเมินค่าไม่ได้ ทั้งชื่อเสียง และเงินลงทุนที่ต้องใช้ปรับปรุงระบบไอที

    “การแฮกข้อมูลของธนาคารเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยาก แต่การทำทุจริตผ่านอินเทอร์เน็ตแบงกิ้ง ส่วนใหญ่เกิดจากการขโมยข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า วิธีการส่วนใหญ่ คือ เดาพาสเวิร์ดลูกค้า เนื่องจากคนไทยมักตั้งรหัสง่ายๆ อาทิ วันเกิด เลขเรียงๆ กัน เลขซ้ำๆ จึงมีความเสี่ยงสูง รองลงมาคือ การวางโทรจันหลอก โดยหลอกให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดเกมหรือบริการฟรี แล้วคอยดักจับแป้นคีย์บอร์ดหรือพาสเวิร์ด รวมถึงหลอกถามข้อมูลจากลูกค้าหรือพนักงานแบงก์เอง ผู้บริโภคจึงต้องรู้จักป้องกันตัวเอง ทั้งการตั้งรหัส การเก็บรักษาข้อมูล การทำธุรกรรมออนไลน์ก็ไม่ควรทำบนคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้สาธารณะ หรือดาวน์โหลด ท่องเน็ต เปิดเว็บพร่ำเพรื่อ”

    อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาการแฮกระบบหรือข้อมูล ยังไม่มีการแจ้งความดำเนินคดีมากนัก แต่เชื่อว่าบริษัทส่วนใหญ่เคยถูกแฮกระบบอยู่บ้าง แต่ฝ่ายไอทียังรับมือได้จึงไม่มีการดำเนินคดี เพราะไม่อยากเสียชื่อเสียง

    “กรณีที่ ศตท.ได้รับแจ้งก็ต่อเมื่อเหตุลุกลาม หรือได้รับความเสียหายมากจนองค์กรไม่สามารถรับมือได้เอง อย่างกรณีที่มีการแฮกข้อมูลของบัตรเติมเงินโทรศัพท์ กว่าจะได้รับแจ้งก็เสียหายมากแล้ว ถ้าผู้เสียหายเป็นธนาคารมักไม่ปล่อยให้ลุกลาม จะรีบประสานความร่วมมือมาทันที”

    กรณีเว็บไซต์ลามกอนาจาร ยังไม่มีคดีใดที่ศาลพิพากษาแล้ว ส่วนใหญ่ยังอยู่ในชั้นสอบสวน ขณะที่คนร้ายส่วนใหญ่ที่แฮกระบบหรือข้อมูลส่วนบุคคล คือคนไทย มีบ้างที่ทำจากต่างประเทศ

    “อาชญากรต่างชาติเข้ามาในไทยน้อย ส่วนใหญ่ก็คนไทยหลอกคนไทยด้วยกันเอง เพราะเข้าใจวัฒนธรรม นิสัยคนไทยดี ล่อลวงได้ง่าย”

    สำหรับจุดบกพร่องของ พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่อยากให้แก้ไข คือ นิยามเรื่องการเผยแพร่ข้อมูลปกติตามกฎหมายฉบับนี้ หมายถึงการนำข้อความหรือรูปภาพขึ้นโพสต์บนเว็บไซต์หรือส่งต่อผ่านอีเมล์ ไม่รวมถึงการเผยแพร่ลิงก์ หรือแบนเนอร์ให้ผู้ใช้คลิกเข้าสู่เว็บไซต์ หรือรูปภาพที่มีเนื้อหาผิดกฎหมาย แม้ใน ม. 287 ประมวลกฎหมายอาญาจะระบุโทษสำหรับความผิดเกี่ยวกับเรื่องเพศในกรณีที่ผู้ใดพาไปหรือยังให้พาไป หรือทำให้แพร่หลายโดยประการใดๆ ซึ่งเอกสาร รูปภาพ รูปถ่าย ภาพยนตร์ หรือสิ่งอื่นใดอันลามก ต้องรับผิดด้วยก็ตาม จึงอยากให้แก้ไขในส่วนนี้ เพื่อให้การนำพาไปซึ่งเนื้อหาอื่นๆ ที่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ด้วย

    ข้อมูลอ้างอิงhttp://info.muslimthaipost.com/main/index.php?page=sub&category=29&id=12762

    นางสาววนิดา สอนศิลป์ ชั้น ม.6/9 เลขที่ 22

  42. นางสาวณัฏฐา รวยตระกูล

    มาตรา 14
    วอยซ์ทีวี โร่แจ้งความ ภาพข่าวโดนตัดต่อพาดพิงศาสนาบนเฟซบุ๊ก
    สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี เข้าแจ้งความดำเนินคดี กรณีมีผู้ใช้งานบนเฟซบุ๊กเอาภาพข่าวไปดัดแปลง เจตนาพาดพิงถึงศาสนา สร้างความเข้าใจผิด

    เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝ่ายกฎหมายของสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือ ปอท. กรณีที่มีผู้ใช้งานบนเฟซบุ๊กเอาภาพข่าวของวอยซ์ทีวีไปดัดแปลง ซึ่งภาพดัดแปลงดังกล่าวมีเจตนาพาดพิงถึงศาสนาและลดความน่าเชื่อถือ

    ทั้งนี้ในกรณีนี้คือข่าวต่างประเทศในรายการ Voice World Wide ที่พาดหัวข่าวว่า “โป๊ปฟรานซิสเรียกร้องมุสลิมประณามผู้ก่อการร้าย” ก่อนจะถูกผู้ใช้งานบนเฟซบุ๊กรายหนึ่งแก้ไขข้อความเป็น “โป๊ปฟรานซิสเรียกร้องคริสต์-พุทธ ทำสงครามกับอิสลาม” นอกจากนี้ยังมีการทำภาพเปรียบเทียบระหว่างพาดหัวข่าวสำหรับแชร์ในเฟซบุ๊กและพาดหัวข่าวจริงในเว็บไซต์ที่แตกต่างกันอีกด้วย พร้อมเขียนข้อความเพิ่มเติมในทำนองที่ว่า สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวีจงใจพาดหัวข่าวสำหรับการแชร์บนเฟซบุ๊กให้แตกต่างจากข่าวจริงที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้อ่านสนใจและแชร์ข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด

    นอกจากนี้ ตัวแทนฝ่ายกฎหมายของสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวีได้กล่าวว่า การดำเนินคดีในครั้งนี้หวังให้เป็นอุทาหรณ์ของผู้ที่แชร์ข่าว โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน และอยากให้สังคมตระหนักว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญา อีกทั้งการแก้ไขพาดหัวข่าวในเฟซบุ๊กนั้นสามารถทำได้โดยง่าย ซึ่งการกระทำดังกล่าวนับว่าเป็นการสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ที่อ่านข่าวหรือแชร์ข้อมูลต่ออย่างมาก

    อีกทั้งการกระทำดังกล่าวยังถือว่ามีความผิดฐานแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ตามมาตรา 14 อนุ 1 แห่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งความผิดทางอาญาตามมาตรา 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    อ้างอิงข้อมูลhttp://hilight.kapook.com/view/112692
    นางสาวณัฏฐา รวยตระกูล ชั้นม.6/9 เลขที่ 13

  43. นางสาววนิดา สอนศิลป์

    มีความผิดมาตราที 5 6 7และ 8
    จับเด็ก 14 ปี แฮกข้อมูลเว็บไซต์ดังในไต้หวัน
    (5 ก.ค.) สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน จูเนียร์แฮกเกอร์ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 อายุเพียง 14 ปี ชาวไต้หวัน ถูกจับกุมข้อหาคดีอาชญากรรมทางเทคโนโลยี โดยเขาเจาะข้อมูลทำให้คอมพิวเตอร์ติดไวรัสปรากฏภาพมือเปื้อนเลือดบนหน้าจอ แม้แต่สถาบันเทคโลโลยีชื่อดังของไต้หวันที่มีการป้องกันอย่างเข้มงวดเขายังได้รับความเสียหาย

    พ่อแม่ของจูเนียร์แฮกเกอร์ เล่าว่า สาเหตุอาจเป็นเพราะพวกเขาทำงานหนักจนไม่มีเวลาใส่ใจ ลูกชายเป็นเด็กที่ชอบคอมพิวเตอร์เป็นอย่างมาก สั่งซื้อหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์จากอินเตอร์เน็ตมาศึกษาด้วยตนเอง พ่อแม่เห็นว่าลูกชายชอบทางด้านนี้จึงส่งเขาไปเรียนพิเศษที่ Chihlee Institute of Technology (CIT) เป็นสถาบันเทคโนโลยีชื่อดังของไต้หวัน โดยไม่เคยคาดคิดมาก่อนว่าลูกชายจะเป็นแฮกเกอร์

    จูเนียร์แฮกเกอร์ ให้การต่อศาลว่า ตอนที่เข้าเรียนนั้นตนรู้สึกกดดันและทรมาณมาก ด้วยความที่ต้องการระบายอารมณ์และอยากลองทดสอบความสามารถของตัวเอง เขาเลือกสถาบันเทคโนโลยีที่เขาเรียนพิเศษอยู่เป็นเป้าหมาย

    ตำรวจผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ชี้ให้เห็นว่าจูเนียร์แฮกเกอร์คนนี้มีความรู้เกี่ยวกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ซับซ้อนมาก เขาได้แฮ็คเข้าไปในเว็บไซต์ซึ่งมีระบบการป้องการอย่างเข้มงวด ความสามารถของเขาน่าทึ่งมาก แม้แต่เขายังต้องศึกษาการเจาะระบบของเขาอย่างจริงจัง เพื่อใช้สำหรับการสอนในโรงเรียนตำรวจ

    หลังจากที่เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบค้น IP และทำการตรวจค้นบ้านพักของเขา พบว่าห้องนอนของเขาเต็มไปด้วยหนังสือเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ รวมถึงหนังสือที่เป็นอักษรจีนตัวย่อซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับการถอดเข้ารหัสลับระบบซอฟแวร์คอมพิวเตอร์

    จากการสืบสวนพบว่า จูเนียร์แฮกเกอร์คนนี้ได้รวบรวมเทคนิคการเจาะข้อมูลที่เขาศึกษาด้วยตนเองแฮ็คเข้าสู่ระบบโฮสต์ของหลายเว๊ปไซต์ได้สำเร็จ เช่น เว๊ปไซต์ของโรงเรียนมัธยมที่เขากำลังศึกษาอยู่ , Chihlee Institute of Technology สถาบันเทคโนโลยีชื่อดังของไต้หวัน , นอกจากนี้เขายังแฮ็คข้อมูลของเว๊ปไซต์รวมสูตรอาหาร รวมถึงเว๊ปไซต์หนังและเพลงอีกด้วย

    ข่าวนี้มีความผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550

    มาตรา ๕ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งระบบคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึงโดย เฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๖ ผู้ใดล่วงรู้มาตรการป้องกันการเข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ที่ผู้อื่นจัดทำขึ้น เป็นการเฉพาะถ้านำมาตรการดังกล่าวไปเปิดเผยโดยมิชอบในประการที่น่าจะเกิด ความเสียหายแก่ผู้อื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    มาตรา ๗ ผู้ใดเข้าถึงโดยมิชอบซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่มีมาตรการป้องกันการเข้าถึง โดยเฉพาะและมาตรการนั้นมิได้มีไว้สำหรับตน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาทหรือทั้งจำทั้ง ปรับ

    มาตรา ๘ ผู้ใดกระทำด้วยประการใดโดยมิชิบด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อดักรับไว้ ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นที่อยู่การส่งในระบบคอมพิวเตอร์ และข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นมิได้มีไว้เพื่อประโยชน์สาธารณะหรือเพื่อให้บุคคล ทั่วไปใช้ประโยชน์ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    อ้างอิงข้อมูล http://www.learners.in.th/blogs/posts/522820
    นางสาววนิดา สอนศิลป์ ชั้นม.6/9 เลขที่ 22

  44. นางสาวจิรภิญญา จันทร์ตา

    มีความผิดมาตราที่ 116
    นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด
    นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด แกนนอนกลุ่มวันอาทิตย์สีแดง ผู้ต้องหาฝ่าฝืนคำสั่งให้มารายงานตัวของ คสช. กระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ถูกควบคุมตัวไปขังต่อที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ผลัดที่ 2 อีก 12 วัน หลังศาลไม่อนุญาตให้ประกันตัวเกรงจะหลบหนี
    อ้างอิง: http://www.ryt9.com/s/tpd/1925612
    นางสาวจิรภิญญา จันทร์ตา ชั้น. ม6/9 เลขที่ 30

  45. นางสาววิมลรัตน์ มนัสตรง

    มาตาร 14
    วอยซ์ทีวี โร่แจ้งความ ภาพข่าวโดนตัดต่อพาดพิงศาสนาบนเฟซบุ๊ก
    สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี เข้าแจ้งความดำเนินคดี กรณีมีผู้ใช้งานบนเฟซบุ๊กเอาภาพข่าวไปดัดแปลง เจตนาพาดพิงถึงศาสนา สร้างความเข้าใจผิด

    เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2557 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝ่ายกฎหมายของสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี ได้เข้าแจ้งความดำเนินคดีกับกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ หรือ ปอท. กรณีที่มีผู้ใช้งานบนเฟซบุ๊กเอาภาพข่าวของวอยซ์ทีวีไปดัดแปลง ซึ่งภาพดัดแปลงดังกล่าวมีเจตนาพาดพิงถึงศาสนาและลดความน่าเชื่อถือ

    ทั้งนี้ในกรณีนี้คือข่าวต่างประเทศในรายการ Voice World Wide ที่พาดหัวข่าวว่า “โป๊ปฟรานซิสเรียกร้องมุสลิมประณามผู้ก่อการร้าย” ก่อนจะถูกผู้ใช้งานบนเฟซบุ๊กรายหนึ่งแก้ไขข้อความเป็น “โป๊ปฟรานซิสเรียกร้องคริสต์-พุทธ ทำสงครามกับอิสลาม” นอกจากนี้ยังมีการทำภาพเปรียบเทียบระหว่างพาดหัวข่าวสำหรับแชร์ในเฟซบุ๊กและพาดหัวข่าวจริงในเว็บไซต์ที่แตกต่างกันอีกด้วย พร้อมเขียนข้อความเพิ่มเติมในทำนองที่ว่า สถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวีจงใจพาดหัวข่าวสำหรับการแชร์บนเฟซบุ๊กให้แตกต่างจากข่าวจริงที่ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์ เพื่อให้ผู้อ่านสนใจและแชร์ข่าวที่สร้างความเข้าใจผิด

    นอกจากนี้ ตัวแทนฝ่ายกฎหมายของสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวีได้กล่าวว่า การดำเนินคดีในครั้งนี้หวังให้เป็นอุทาหรณ์ของผู้ที่แชร์ข่าว โดยไม่ตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน และอยากให้สังคมตระหนักว่าการกระทำดังกล่าวเป็นความผิดทางอาญา อีกทั้งการแก้ไขพาดหัวข่าวในเฟซบุ๊กนั้นสามารถทำได้โดยง่าย ซึ่งการกระทำดังกล่าวนับว่าเป็นการสร้างความเข้าใจผิดให้กับผู้ที่อ่านข่าวหรือแชร์ข้อมูลต่ออย่างมาก

    อีกทั้งการกระทำดังกล่าวยังถือว่ามีความผิดฐานแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นโดยมิชอบ ตามมาตรา 14 อนุ 1 แห่ง พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งความผิดทางอาญาตามมาตรา 328 แห่งประมวลกฎหมายอาญา หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    อ้างอิงข้อมูลhttp://hilight.kapook.com/view/112692
    นางสาววิมลรัตน์ มนัสตรง ชั้น ม.6/9 เลขที่ 17

  46. นางสาวจิรภิญญา จันทรืตา

    มีความผิดมาตราที่112
    ผบ.เรือนจำพิเศษกรุงเทพ ปัด ทอม ดันดี ผูกคอตายคาห้องขัง
    ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร เผยกระแสข่าวลือ ทอม ดันดี ผูกคอตายคาเรือนจำ ไม่เป็นความจริง

    โลกโซเชียแชร์ข้อความระบุว่า นายธานัท ธนวัชรนนท์ หรือ ทอม ดันดี ผู้ต้องหาหมายจับ คดีหมิ่นเบื้องสูง ป.อาญา มาตรา 112 และ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการฝากขัง ได้ผูกคอตายเสียชีวิตคาห้องขัง ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์และถามหาข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ล่าสุด นายสรสิทธิ์ จงเจริญ ผู้บัญชาการเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ออกมายืนยันแล้วว่า ทอม ดันดี ไม่ได้ผูกคอตายตามที่มีการลือกันในโลกออนไลน์แต่อย่างใด และฝากไปยังประชาชนที่รับข้อมูลข่าวสารจากโลกโซเชียลเน็ตเวิร์กว่าอย่าหลงเชื่อข่าวง่ายๆ
    อ้างอิงข้อมูล : http://www.ryt9.com/s/iqry/1956895
    นางสาวจิรภิญญา จันทร์ตา ชั้น.ม6/9 เลขที่ 30

  47. นางสาวณัฏฐา รวยตระกูล

    มีความผิดมาตราที่ 14
    ออกหมายจับทุบหุ้นผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
    ทนายคลายทุกข์ขอนำข่าวจาก http://www.matichon.co.th ที่นำเสนอเกี่ยวกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ(DSI) กำลังรวบรวมพยานหลักฐานหาตัวการปล่อยข่าวทุบหุ้น จนทำให้มีการแห่เทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจนราคาตกต่ำ ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน ซึ่งตัวการในการเผยแพร่ข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ จะมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
    ตัวบทกฎหมายอ้างอิง
    พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550
    มาตรา 14 ผู้ใดกระทำความผิดที่ระบุไว้ดังต่อไปนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    (1) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน
    (2) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
    (3) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ อันเป็นความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งราชอาณาจักรหรือความผิดเกี่ยวกับการก่อการร้ายตามประมวลกฎหมายอาญา
    (4) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ใดๆ ที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้
    (5) เผยแพร่หรือส่งต่อซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์โดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นข้อมูลคอมพิวเตอร์ตาม (1) (2) (3) หรือ (4)
    รายละเอียดรายงานข่าว
    ตร.เล็งขอศาลฯอนุมัติหมายจับ 4-5 ตัวการ ปล่อยข่าว”อัปมงคล”ทุบหุ้น ประเดิมใช้ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ ฐานกระจายข้อมูลเท็จ เกิดความเสียหายต่อความมั่นคง ปชช.ตื่นตระหนก อธิบดี”ดีเอสไอ”สั่งสำนักคดีการเงินฯ คุ้ยกลุ่มบุคคลต้องสงสัยได้ประโยชน์จากราคาขึ้น-ลง
    รายงานข่าวจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (ตร.) แจ้งเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม ว่า พนักงานสอบสวนคดีกลุ่มบุคคลปล่อยข่าวลืออันกระทบกระเทือนจิตใจคนไทย กระทั่งทำให้มีการแห่เทขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยจนราคาตกต่ำ เตรียมนำสำนวนการสอบสวนและรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อขอศาลอาญาอนุมัติออกหมายจับผู้ต้องหา 4-5 คน ในวันที่ 29 ตุลาคม ในความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 14 นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความตื่นตระหนกแก่ประชาชน
    สำหรับการเอาผิดเรื่องการได้ประโยชน์จากการทุบหุ้นปั่นหุ้น ตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. และกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ในส่วนของ ตร.จะดำเนินคดีในส่วนของผู้ที่ปล่อยข่าวลวงอันเป็นเท็จและไม่เป็นมงคล
    ขณะที่ พ.ต.อ.สีหนาท ประยูรรัตน์ รักษาการเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) กล่าวกรณีนายคำนูณ สิทธิสมาน ส.ว.สรรห เสนอให้ใช้กฎหมาย ปปง.ตรวจสอบความโยงใยเรื่องการปล่อยข่าวทุบหุ้นนั้น ยังไม่ได้รับการประสานข้อมูลจาก ก.ล.ต.และดีเอสไอ เพื่อให้เข้าร่วมตรวจสอบเรื่องเส้นทางการเงิน เรื่องนี้เชื่อว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเนื่องจากประเด็นค่อนข้างละเอียดอ่อน จึงจำเป็นต้องมีข้อมูลเพียงพอ จึงจะส่งเรื่องให้ ปปง.ร่วมขยายผลเพิ่มต่อไป
    รายงานข่าวแจ้งว่า นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีดีเอสไอ มอบหมายให้สำนักคดีการเงินและการธนาคาร ตรวจสอบข้อมูลที่ได้รับจาก ก.ล.ต.ซึ่งต้องวิเคราะห์กลุ่มบุคคลต้องสงสัย รวมทั้งกราฟตารางการซื้อขายของ ก.ล.ต. และบันทึกการซื้อขายในช่วงวันที่ 14 ถึง 16 ตุลาคม ว่าเชื่อมโยงกับกระแสข่าวหรือไม่
    อ้างอิงข้อมูล http://www.decha.com/main/showTopic.php?id=5130
    นางสาวณัฏฐา รวยตระกูล ชั้นม.6/9 เลขที่ 13

  48. นางสาวณัฏฐา รวยตระกูล

    มีความผิดที่มาตราที่ 14
    ข่าวการกระทำผิดพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์
    ฮือฮา!’นู้ดคอซอง’ว่อนเน็ตรับวันครู
    ฮือฮา! “นู้ดคอซอง” ว่อนเน็ตรับวันครู 7 นร.วัยละอ่อนยิ้มร่าโชว์หน้าอก-กางเกง วธ.ชี้เป็นผู้หญิงนอกระบบอาศัยเครื่องแบบนักเรียนทำสิ่งไม่ดี ประสานไอซีทีตรวจสอบแล้ว
    เมื่อวันที่ 16 ม.ค. ผู้สื่อข่าวได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าขณะนี้มีภาพเด็กนักเรียนแต่งกายไม่เหมาะสมถูกนำมาเผยแพร่ผ่านทางอินเตอร์เน็ตในโลกโซเซียลเน็ตเวิร์ค และเว็บไซต์เฟซบุ๊ค โดยมีการส่งเผยแพร่ต่อกันมาเป็นจำนวนมาก รายละเอียดของภาพเป็นภาพเด็กสวมใส่ชุดนักเรียนหญิง 7 คน ส่วนใหญ่มีการถอดเสื้อผ้าออกเหลือเพียงยกทรงนั่งบ้างยืนบ้างโชว์หน้าอก ส่วนอีกคนสวมใส่เสื้อชุดนักเรียนคอซองแต่นั่งถ่างขาโชว์กางเกงในสีแดง และยังมีบางคนใส่เสื้อสายเดี่ยวและมีการแสดงท่าทางกอดรัดกัน โดยทั้งหมดได้ถ่ายภาพด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใสไม่ละอายในสิ่งที่ทำ
    ผู้สื่อข่าวได้ตรวจสอบภาพดังกล่าว พบว่า มีต้นตอการส่งภาพมาจากบุคคลที่ใช้ชื่อว่า Beer nirvana มีผู้มาแสดงความคิดเห็นแสดงความชื่นชอบภาพดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในระยะเวลา 10 นาที มีผู้กดชื่นชอบเพิ่มขึ้นนับพันๆราย รวมทั้งมีการนำภาพดังกล่าวไปเผยแพร่แบ่งปันต่อๆกันเป็นจำนวนมาก
    จากนั้นผู้สื่อข่าวจึงได้สอบถามเรื่องดังกล่าว ไปยัง น.ส.ลัดดา ตั้งสุภาชัย ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม กล่าวว่า ดูแล้วเกินเด็ก น่าจะไม่ใช่เด็กมัธยมศึกษา อาจจะเป็นผู้หญิงนอกระบบ อาศัยเครื่องแบบไปทำสิ่งที่เสียหาย การถ่ายภาพลักษณะดังกล่าวมีความไม่เหมาะสมอย่างมาก เพราะภาพที่ปรากฏเป็นภาพเด็กสวมใส่ชุดนักเรียนด้วย ในเบื้องต้นอาจจะเป็นเพราะตัวเด็กๆยังขาดวุฒิภาวะ รู้เท่าไม่ถึงการณ์ โดยการถ่ายภาพลักษณะนี้ น่าจะเป็นการเลียนแบบสื่อที่ไม่เหมาะสม
    อีกทั้งเป็นกระแสนิยมหรือแฟชั่นของเด็กสมัยใหม่ ที่เริ่มคุ้นชินกับเทคโนโลยีระบบโซเชียลเน็ตเวิร์ค ที่มักจะถ่ายภาพโชว์ขึ้นเว็บไซต์ให้เพื่อนๆได้ชม และแบ่งปันกันอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องที่อันตรายอย่างมาก โดยเฉพาะการนำภาพที่ไม่ถูกต้องดีงามมาเผยแพร่ อย่างไรก็ตาม ควรจะต้องมีการตรวจสอบก่อนว่าเด็กๆในภาพดังกล่าว มีสถานะเป็น นักเรียนอยู่ในระบบจริงหรือไม่ เพราะหากเป็นนักเรียนอยู่จริง ก็จะส่งผลเสื่อมเสียต่อสถาบันการศึกษาด้วย
    ผอ.สำนักเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมกล่าวต่อไปว่า ตนจะประสานงานไปยังกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร(ไอซีที) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการควบคุมระบบสารสนเทศ ให้ตรวจสอบถึงการนำภาพเด็กกลุ่มนี้มาโพสต์อินเตอร์เน็ต รวมถึงจะรวบรวมหลักฐานประสานไปยังศูนย์เสมารักษ์ ของกระทรวงศึกษาธิการ ให้เร่งตรวจสอบบุคคลในภาพอย่างเร่งด่วน และควรจะมีมาตรการลงโทษอย่างจริงจัง ไม่เช่นนั้นจะทำให้ศธ.เสื่อมเสียด้วย
    ที่มาของข่าว: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก ออนไลน์ http://www.komchadluek.net/detail/20120116/120458/%E0%B8%AE%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AE%E0%B8%B2!%E0%B8%99%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%94%E0%B8%84%E0%B8%AD%E0%B8%8B%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B9.html
    สรุปข่าว
    เป็นข่าวการโพสต์รูปที่ไม่เหมาะสมลง Internet ในระบบ Social network ซึ่งเดี๋ยวนี้เป็นสื่อที่เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งการโพสต์รูปเป็นรูปที่มีลักษณะโป๊เปลือย เป็นรูปเด็กนักเรียนหญิงม.ต้น 7 คน โพสต์ท่ายั่วยวน นุ่งน้อยห่มน้อยอีกทั้งยังเผยแพร่ในวันครูเหมือนกับเป็นการเย้ยระบบการศึกษาไทย ซึ่งในขณะนี้ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงไอซีทีเข้าไปตรวจสอบว่าเป็นเด็กนักเรียนจริงหรือเปล่า และใครเป็นผู้ โพสต์ภาพดังกล่าว ซึ่งถือว่าเป็นการทำผิดทั้งทางกฎหมาย พรบ.คอมพิวเตอร์และศีลธรรม ประเพณีของไทยอีกด้วย
    มาตราที่กระทำผิดตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550
    – ความผิดตามมาตรา 14 (4) ผู้ใดกระทำความผิดโดยนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลที่มีลักษณะอันลามกและข้อมูลคอมพิวเตอร์นั้นประชาชนทั่วไปอาจเข้าถึงได้ และมาตรา 14 (5) ผู้ใดเผยแพร่และส่งต่อซึ่งข้อมูลลามก ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
    – อีกทั้งยังผิดประมวลกฎหมายอาญาฐานหมิ่นประมาท มาตรา 326 และ 328 โดยต้องโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท
    การป้องกันการกระทำความผิด
    สำหรับคนที่ถูกถ่ายตกเป็นข่าวป้องกันด้วยการไม่ถ่ายภาพโป๊เปลือย เมื่อไม่ถ่ายรูปโป๊เปลือยก็ไม่ต้องกลัวว่าจะมีภาพหลุดจากโทรศัพท์มือถือ หรืออื่นๆในอินเตอร์เน็ตเป็นการตัดที่ต้นเหตุ ไม่ถ่ายก็ไม่หลุดนะครับ
    สำหรับคนที่ชอบโพสต์ให้ผู้อื่นได้รับความอับอายเสียหาย เอาrating ในเว็บหรือความสะใจนั้นควรจะคิดถึงใจเขาใจเรา ถ้าเกิดว่าคนที่คุณโพสต์ เป็นญาติพี่น้อง ลูกหลาน คุณจะรู้สึกอย่างไร ถึงแม้ว่ากฎหมายอาจจะตามจับตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษยาก แต่ถ้าเกิดใช้ศีลธรรมในใจพิจารณา ยึดหลักใจเขาใจเรา เท่านี้ผู้กระทำก็คงจะได้ไตร่ตรองว่าถ้าเป็นเราเราก็คงอับอายไม่ชอบ ก็คงไม่โพสต์รูปลงไปเพียงเพราะความคิดชั่วขณะ และถ้าหากว่าถูกจับได้ก็ยังเสี่ยงต่อโทษหนักทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย คุ้มกันไหมเนี่ย?กับแค่ความสนุกมือเนี่ย
    อ้างอิงข้อมูลhttp://woraphonping01.blogspot.com/
    นางสาวณัฏฐา รวยตระกูล ชั้น ม.6/9 เลขที่ 13

  49. นางสาวบุณยาพร กอบธัญกิจ

    ศาลอาญามีคำสั่งรับฟ้องสุทธิชัย หยุ่นและพวก 10 ราย
    มาตรา 89/6-7, 89/24, 281/2, 296, 298 ,มาตรา 3, 14, 15,มาตรา 326 และ 328
    ศาลอาญามีคำสั่งในวันนี้ให้ประทับรับฟ้องคดีที่ บมจ.นิวส์ เน็ตเวิร์ค (NEWS) ยื่นฟ้องบุคคลและนิติบุคคลทั้ง 10 รายร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. หลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 89/6-7, 89/24, 281/2, 296, 298 , พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 3, 14, 15, พ.ร.บ.จดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. 2550 และร่วมกันหมิ่นประมาทผู้อื่นด้วยการโฆษณาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 326 และ 328 ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.58 โดยศาลนัดตรวจสอบพยานหลักฐานในวันที่ 25 ม.ค.59ทั้งนี้ ศาลฯ ระบุว่าวิเคราะห์พยานหลักฐานทั้งโจทก์และจำเลยแล้ว ปรากฎว่า มีการลงข้อความตามคำฟ้องเผยแพร่ในหน้าเว็บเพจเฟสบุ๊คของจำเลยที่ 3 และในหน้าเว็บไซด์ของจำเลยที่ 1, 2,4 และจำเลย 5 ดังกล่าวมาลงโฆษณาในเว็บไซด์ของจำเลยที่ 1, 2 และจำเลยที่ 3-8 เป็นกรรมการของจำเลยที่ 1, 2, 9แ ละจำเลย 10 เป็นบรรณาธิการข่าวออนไลน์มีหน้าที่ตรวจสอบเนื้อหาและข้อความข่าวก่อนลงโฆษณา จึงถือได้ว่าจำเลยทั้ง 10 มีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำตามคำฟ้องของโจทก์
    จำเลยที่ 1 ได้แก่ บมจ.เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป (NMG), จำเลยที่ 2 บริษัท กรุงเทพธุรกิจ มีเดีย จำกัด, จำเลยที่ 3 นายอดิศักดิ์ ลิมปรุ่งพัฒนกิจ, จำเลยที่ 4 น.ส.ดวงกมล โชตะนา,
    จำเลยที่ 5 นายสุทธิชัย แซ่หยุ่น, จำเลยที่ 6 นายเสริมสิน สมะลาภา, จำเลยที่ 7 นายพนา จันทรวิโรจน์, จำเลยที่ 8 น.ส.ณัฐวรา แสงวารินทร์, จำเลยที่ 9 นายจักรกฤษ เพิ่มพูน และ
    จำเลยที่ 10 นายนิติราษฎร์ บุญโย
    คำฟ้องระบุว่า จำเลยทั้ง 10 กล่าวหาว่า NEWS หรือเดิมชื่อ บมจ.โซลูชั่นคอนเนอร์ (1998) (SLC) เป็นตัวแทนเชิดของกลุ่มชินวัตร หวังจะเข้าบริหารสื่อทีวีดิจิตอลและควบคุมสื่อไว้ในมือเพื่อต้องการควบคุมทิศทางข่าว สังคม ให้เป็นไปในแนวทางที่ต้องการโดยไม่คำนึงถึงความถูกต้อง คุณธรรม จริยธรรม มีแหล่งที่มาของเงินที่น่าสงสัย เป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดและมีกรรมการหรือตัวแทนของเดินทางไปสิงคโปร์เพื่อหาแหล่งทุนมาซื้อสื่อ เพื่อต้องการปิดกั้นสื่อและชี้นำสังคมให้เป็นไปใน ทิศทางที่ต้องการ เป็นผู้ปั่นหุ้น เป็นการกระทำความผิดทางอาญาและเป็นความผิดอาญาทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง และมีการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์และการเข้าถือหลักทรัพย์เพื่อครอบงำกิจการ พร้อมทั้งเรียกค่าเสียหายจำนวน 2,343,005,267.90 บาท

    คอลัมน์: บุคคลแนวหน้า
    มาตรา 116
    มือปราบเต็มไปด้วยสาระและข้อเท็จจริงคือ หนังสือพิมพ์แนวหน้า ทุกบรรทัด ตรงไปตรงมา… เมื่อเย็นวันศุกร์ที่ 29 เมษายน ศาลทหารอนุมัติให้ฝากขัง ผัดแรกกับ 8 ผู้ต้องหาคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 116 ฐานยั่วยุปลุกปั่น และพ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 … ไม่อยากเอ่ยชื่อคนเหล่านี้ให้รกหน้ากระดาษเอาเป็นว่า คนเหล่านี้ได้ลิ้มรสนอนคุก ก็เป็นตัวอย่างให้กับคนอื่นๆ ที่ คิดจะเคลื่อนไหวอีกว่าอย่าเสี่ยงดีกว่า… อย่าไปตามใจคนยุ เพราะคนที่เดือดร้อนคือตัวเราเองรวมไปถึงพ่อแม่ ญาติพี่น้อง…ถามว่าผู้ต้องหาเหล่านี้เคลื่อนไหวเป็นขบวนการหรือไม่?? ทางพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคสช.ก็ตอบไว้ชัดเจนแล้วว่าใช่… ที่น่าสนใจไปมากกว่านั้น คือมีการเตรียมเงินประกันล่วงหน้ามาเป็นปึกๆ 8 คน ก็ 8 แสน แต่ศาลก็ไม่อนุมัติ…อยากรู้ว่าเงินนี้เงินใคร?? มาจากไหน?? เจ้าหน้าที่ขุดคุ้ยไปเรื่อยๆ เดี๋ยวก็เจอเอง… ที่ผ่านมาแนวร่วมผู้ต้องหากลุ่มนี้ เคลื่อนไหวที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ จนพ่อค้าแม่ค้าละแวกนั้นเอือมระอา และเคยทั้งอ้อนวอน กระทั่งไล่ให้สากกะเบือคนกลุ่มนี้ย้ายที่ไปป่วนที่อื่น เพราะเขารำคาญ…อีกทั้งเห็นว่าเป็นการเคลื่อนไหวของคนหน้าเดิมๆ ที่ไม่รู้จักโต …ถามว่ากลุ่มคนเหล่านี้เคยสร้างประโยชน์อะไรให้กับประเทศชาติบ้านเมืองบ้าง คำตอบคือไม่รู้… แต่ได้เข้าไปอยู่ในเรือนจำบ้างก็คงจะดี มีกิจกรรมให้ทำเยอะแยะ พ่อค้าแม่ค้าอนุสาวรีชัยฯ ขอสาธุ… ครับ เรื่อง ป่วนๆ แบบนี้ ถือเป็นภาระหน้าที่ของ บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ บิ๊กๆ ในคสช. ที่จะต้องจัดหนักและจัดการให้เรียบร้อย ก่อนที่จะส่งมอบ ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ให้กับประชาชนไปบริหารจัดการกันต่อไป…ก็เคยบอกไปแล้วว่า ขณะนี้ประชาชนต้องการให้ประเทศเดินหน้าด้วยความสงบเรียบร้อย เพื่อปูทางไปใช้สิทธิ์ออกเสียงประชามติฯ ในวันที่ 7 สิงหาคมนี้… โดยความคืบหน้าในขณะนี้ ดูเหมือนว่า “แม่น้ำ 3 สาย” คือ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ต่างขะมักเขม้นที่จะมีส่วนร่วมในการชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชน… ซึ่งปม “แจงคำถามพ่วง” นั้น ทั้ง อ.มีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. และ รองฯสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัยก็ประสานเสียงว่า ยังไงก็ต้องไปด้วยกัน เพื่อการประหยัดงบประมาณ และไม่เป็นการรบกวนเวลาประชาชนมากเกินไป… และทาง สนช. เอง ก็ได้มีการวางแผนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ประเด็นคำถามเพิ่มเติม ภายหลัง จากที่ กรธ. ได้แบ่งกลุ่มจังหวัดออกเป็น 9 กลุ่มจังหวัด โดยจะขอให้สมาชิกฯ ลงชื่อแสดงความจำนงว่า จะไปชี้แจงที่กลุ่มจังหวัดไหน… อีกทั้งทาง สปท. โดย คำนูณ สิทธิสมาน โฆษก สปท. ก็แถลงว่า จะร่วมด้วยช่วยอีกแรงในการชี้แจงร่างและคำถามพ่วง โดยการหาอาสาสมัครที่แสดงเจตจำนงจะเข้าร่วมชี้แจง ซึ่งจะต้องเข้าร่วมเป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการฯ ของ สนช. …ทั้งนี้ ถึงแม้ว่ากฎหมายเองจะไม่อนุญาตให้ สปท. กระทำการใดๆในห้วง ของการทำประชามติ แต่เป็นเพราะว่าคำถามประชามติครั้งนี้มาจากการเสนอของสมาชิก สปท. และอาจจะต้องการหาลูกมือมาช่วยชี้แจงด้วยจึงจำเป็นที่จะต้องอาศัย สปท. ในการช่วยชี้แจง… บรรทัดนี้ “มือปราบ”ต้องย้ำให้ทราบกันอีกทีว่า ขณะนี้พ.ร.บ.ว่าด้วยการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2559 ได้มีผลบังคับใช้แล้ว… ซึ่งพ.ร.บ.นี้ มีบทกำหนดโทษของผู้ฝ่าฝืนเอาไว้ “หนักมาก” เพราะถือเป็นกติกาหลัก เพื่อควบคุมการออกเสียงฯ ให้เป็นไปตามเจตนาของประชาชนอย่างแท้จริง… รวมทั้ง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นำโดย ศุภชัย สมเจริญ ประธาน กกต. ที่รับหน้าที่เป็นผู้ดำเนินการจัดและควบคุมการออกเสียงให้เป็นไปด้วยความสุจริตและเที่ยงธรรมนั้น…ก็ได้ประเดิมออกประกาศแล้ว 4 ฉบับ ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักการในการใช้สิทธิ์ ออกเสียงนอกเขตจังหวัด และหลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียง สำหรับคนพิการ หรือทุพพลภาพ หรือผู้สูงอายุ… อีกทั้ง สมชัย ศรีสุทธิยากร ก็ได้ แจ้งความดำเนินคดีกับผู้ใช้เฟซบุ๊คในชื่อกองทุนหนึ่งใน จ.ขอนแก่น หลังโพสต์ ข้อความเกี่ยวกับการรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในลักษณะ ก้าวร้าว รุนแรง เป็นตัวอย่างไปแล้ว… ดังนั้น “มือปราบ” ยืนยันว่า กฎหมายประชามติ ฉบับนี้ ไม่ได้จำกัดสิทธิของประชาชนที่ต้องการแสดงความคิดเห็นร่าง รัฐธรรมนูญโดยสุจริต แต่ต้องควบคุมบรรดา ไอ้ห้อยไอ้โหนที่เอาการทำประชามติไปเป็นเกมทางการเมืองสร้างความวุ่นวายในสังคม… สมาคมนักข่าวฯจัดราชดำเนินสนทนา “ประชามติ” อะไรทำได้-ไม่ได้ ชวนกกต.สมชัย ศรีสุทธิยากร พร้อมด้วย สนช.-พล.ร.อ.ชุมนุม อาจวงษ์,สปท.-เสรี สุวรรณภานนท์ และไพโรจน์ พลเพชร นายกสมาคมนักกฎหมายสิทธิมนุษยชนมาร่วมคุย 10.00 น. อาทิตย์ 1 พ.ค.

    แหล่งที่มา : http://www.ryt9.com/s/nnd/2413696
    นางสาวบุณยาพร กอบธัญกิจ ชั้น ม.6/9 เลขที่ 10

  50. นางสาวณัฏฐา ทองเมือง

    มาตรา 116 และมาตรา 348
    ศาลทหารปล่อยตัว’รินดา’
    กรุงเทพฯ * เมื่อวันที่ 13 ก.ค. ทนายความจากศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชน ได้ยื่นคำร้องต่อศาลทหารขอปล่อยชั่ว คราว นางรินดา ปฤชาบุตร คนเสื้อแดง จ.ปทุมธานี ผู้ต้องหาตามความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 มาตรา 116 และมาตรา 348 กรณีโพสต์ข้อความบนเฟซ บุ๊กกล่าวหา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คสช.โอนเงิน 1 หมื่นล้านบาทไปไว้ในบัญชีที่ประเทศสิงค โปร์
    จากนั้นศาลทหารอนุญาตให้ประกันตัวนางรินดา ด้วยหลักทรัพย์เป็นเงินสด 100,000 บาท โดยพิจารณาแล้วเห็นว่า ไม่ปรากฏว่าผู้ต้องหามีพฤติการณ์ยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐานหรือก่อเหตุอันตรายประการอื่น ผู้ต้องหายังมีที่อยู่หรือภูมิลำเนาเป็นหลักแหล่ง มีภาระรับผิดชอบต้องเลี้ยงดูบุตรที่อยู่ในวัยเรียน 2 คน ไม่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหาจะหลบหนี ประกอบกับพนักงานสอบสวนไม่คัดค้าน อย่างไรก็ตาม ศาลได้มีเงื่อนไขในการปล่อยชั่วคราวคือ ห้ามยุยงปลุกปั่น เคลื่อนไหว หรือแสดงความเห็นทางการเมือง และห้ามเดินทาง ออกนอกประเทศ

    ต่อมาเมื่อเวลา 18.00 น. ที่หน้าทัณฑ สถานหญิงกลาง มีญาติและประชาชนประ มาณ 30 คนมารอรับนางรินดา อาทิ นายสมบัติ บุญงามอนงค์ หรือ บ.ก.ลายจุด, นายรังสิมันต์ โรม ขบวนการประชาธิปไตยใหม่, น.ส.จิตรา คชเดช อดีตประธานสหภาพแรงงานไทรอัมพ์ เป็นต้น

    โดยนางรินดาเดินออกมาเพียงคนเดียว ในชุดเสื้อยืดสีดำและกางเกงยีนส์ แล้ว กล่าวว่าตนยอมรับผิดในสิ่งที่ตนกระทำ และยอมรับเงื่อนไขในการประกันตัว จากนี้จะขอกลับบ้านไปดูแลลูก.

    โดย : RYT9 อาร์วายทีไนน์
    ที่มา : http://www.ryt9.com/s/tpd/2204191
    นางสาวณัฏฐา ทองเมือง ชั้น ม.6/9 เลขที่ 34

ส่งความเห็นที่ นางสาวสุนิษา พุ่มทอง ชั้นม.6/9 เลขที่39 ยกเลิกการตอบ